วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554
Windproof Lighters (Zippo)
แบบอันนี้เป็นทอง 18k ครับ
นั่งอยู่หน้าจอหาไฟจุดบุหรี่ไม่ได้บังเอิญเหลือบไปเห็นน้ำมันซิปโป้ เป็นเรื่องเลยไงหาตัวไฟแช็กอีกเกือบ 20นาทีเฮ่อ ๆ ไหนๆเสียเวลาไปกะมันแล้วก้อเลยหาประวัติความเป็นมาเอามาให้อ่าน อันที่จริงผู้เขียนเองก้อมีเจ้า zippo อันนี้เป็นอันที่ 5 แล้วจะหายซะส่วนมาก .............เฮ่อ เสียยดาย ตัง..
ที่มาและประวัติของไฟแช็คซิปโป้ ไฟแช็ค ซิปโป้ ได้เริ่มต้นจากรัฐเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1932 โดยมี มร. จอร์จ จี. เบรสเดล George G. Blaisdell (1895-1978) เป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท Zippo Manufacturing Company ขึ้นมา มร.เบรสเดล เกิดและโตที่เมืองแบรดฟอร์ดแห่งนี้ ในครอบครัวที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตอุปกรณ์ขุดเจาะน้ำมัน เมื่อในวัยเด็กเขาเคยบอกกับพ่อของเขาว่าไม่อยากไปเรียนหนังสือแต่อยากทำงานมากกว่า แต่พ่อขอเขาไม่ได้สนใจในคำพูดของเขา และได้ส่งเขาไปเรียนในโรงเรียนของทหารแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นสองปีเขาจึงเลิกเรียน พ่อของเขาจึงให้เขามาทำงานที่บริษัทของตน โดยเขาได้รับค่าจ้างเพียงชั่วโมงละ 10 เซ็นต์ และต้องทำงานสัปดาห์ละ 59 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับสิทธิพิเศษแต่อย่างใด แต่เขาก็ได้ตั้งใจทำงานอย่างขยันขันแข็งในฝ่ายผลิตเครื่องจักร และได้เรียนรู้ประสบการณ์มากมายจากงานที่เขาทำ หลังจากนั้นเขาได้ถูกย้ายไปที่แผนกขายเครื่องจักร ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เริ่มขึ้นเขาได้ควบคุมและดูแลกิจการทั้งหมดแทนพ่อขอเขาในปี 1920 และได้ขายกิจการในเวลาต่อมาอีกไม่นาน หลังจากนั้นจึงได้เข้าร่วมลงทุนในธุรกิจน้ำมันกับพี่ชายและประสบความสำเร็จในธุรกิจด้วยดี เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อวันหนึ่งขณะที่เขาได้ไปร่วมงานเต้นรำกับเพื่อนที่คันทรีคลับแห่งหนึ่ง ในช่วงนั้นธุรกิจที่เขาทำกับพี่ชายเริ่มมีปัญหา รายได้ลดลงและลูกค้าก็น้อยลง เขาจึงอยากหาธุรกิจใหม่เพื่อมาทดแทน ในระหว่างช่วงพัก เขาได้ร่วมวงสนทนาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และการเมือง ในช่วงสงครามโลก หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการเต้นรำและเริ่มเบื่อหน่ายกับการพูดคุย เขาได้ออกมาพักสูบบุหรี่ ที่นั่นเขาได้เห็นเพื่อนคนหนึ่งพยายามที่จะจุดไฟแช็คอย่างทุลักทุเลเพราะต้องดึงฝาออกมาก่อนถึงจะจุดได้ และไฟแช็คอันนั้นก็มีรูปร่างแปลกประหลาดเขาจึงอดหัวเราะเยาะไม่ไหวและพูดออกมาว่า ทำไมคนที่แต่งตัวดีๆ ถึงได้ใช้ไฟแช็คที่ไม่เหมาะสมกับตัวเองเอาซะเลย เพื่อนของจึงบ่นบอกว่า “It works!” (แต่มันก้อใช้งานได้) เพื่อนของเขาคงคิดในใจว่า แล้วมันเรื่องอะไรของแกล่ะที่จะมายุ่งกับเรื่องของฉัน เพื่อนคนนั้นจึงบอกกับเขาว่า ไฟแช็คที่ดีมีไว้สำหรับจุดไฟ เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการจะจุดมันต้องติด ไม่ว่าลมจะแรงขนาดไหน หรือสถานการณ์ใดๆ ไฟแช็คที่มีราคาแพง และสวยงามแต่จุดไม่ติดจะมีไปทำไม คำพูดไม่กี่คำที่เพื่อนคนนั้นพูดออกมาในคืนนั้นจึงติดอยู่ในหัวของเขา ในตอนนั้นเขาคิดว่า ผู้คนน่าจะอยากได้อะไรที่มีราคาถูก แต่ดูดี แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย เรื่องของคุณภาพที่ดีต้องมาก่อน และเขาก็ได้คันพบว่าจะต้องทำไฟแช็คที่ดีออกมาขายให้ได้ เขาจึงนึกถึงไฟแช็คราคาถูก จากออสเตรีย ที่ทำจากทองเหลือง ราคา 25 เซ็นต์อันนั้นและขอเป็นตัวแทนจำหน่ายไฟแช็คนั้นด้วย เขาต้องการทำให้ไฟแช็คนั้นดูดีขึ้นและต้องการขายในราคาที่สูงขึ้น เขาจึงนำไฟแช็คนั้นมาทำการชุบโครเมี่ยมที่ฝา และเพิ่มราคาขายเป็น 1 ดอลล่า แต่ไม่สามรถขายได้เลยแม้แต่อันเดียว ซึ่งในเวลาต่อมาเขาจึงได้ค้นพบข้อเสียของไฟแช็คดังกล่าว ดังนั้นเขาจึงทำการคิดค้น แก้ไข ดัดแปลงเพื่อแก้ปัญหาและข้อเสียต่างๆ ให้เป็นไฟแช็คที่สมบูรณ์ หลังจากนั้นเขาจึงได้ไปเช่ามุมหนึ่งบนชั้นสองของตึก Rickerson & Pryde, Inc. บนถนน Bolyston Street ซึ่งชั้นล่างของตึก เป็นอู่ซ่อมรถ เขาจ่ายค่าเช่าเดือนละ 10 เหรียญ และว่าจ้างพนักงานสามคนเพื่อค้นคิดและพัฒนาไฟแช็ค สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ทำให้ขนาดของไฟแช็คเหมาะสมกับฝ่ามือของคน และใส่บานพับเพื่อยึดฝาและตัวถึง แต่สามารถเปิด ปิดได้ ด้วยมือข้างเดียวโดยไม่มีปัญหาใดๆ เหมือนกับที่เพื่อนเขาที่เจอกันในคืนวันนั้น และนำแผ่นโลหะเจาะรูเหมือนกับไฟแช็คออสเตรีย อันนั้นมาทำเป็นที่ป้องกันลม โดยมีแม้แต่จำนวนรูระบายอากาศที่เท่ากัน และตั้งชื่อไฟแช็คนี้ว่า “ซิปโป้” ทำไมต้องเป็นคำว่า ซิปโป้น่ะเหรอ? ก็เพราะเขาชอบคำนี้มาตั้งนานแล้ว คำนี้เป็นคำที่เรียกชื่อของซิป มาจากคำว่า Zipper (ที่เรารูดอยู่ทุกวันนั่นแหล่ะ) ดังนั้นไฟแช็คซิปโป้รุ่นแรกได้วางจำหน่ายในปี 1932 ในแบบที่เป็นสี่เหลี่ยมที่เหลี่ยมจริงๆ ไม่มีมุมไหนเลยที่มนๆ และมีบานพับแบบสามข้ออยู่ด้านนอก เรียกว่า Phantom Zippo ซึ่งในปัจจุบันเป็นรุ่นที่หายากและมีราคาแพงมาก ขนาดที่ มร. เบรสเดล ถ้ายังมีชีวิตอยู่ยังคาดไม่ถึงเลยหล่ะ เพราะเมื่อตอนที่ไฟแช็ครุ่นนี้ออกวางจำหน่ายครั้งแรก มีราคาขายเพียงอันละไม่เท่าไหร่ ตามบันทึกทางบัญชีของบริษัทระบุไว้ว่า ในเดือนแรกมียอดขายเพียง 82 อัน และขายได้ทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 69.15 เหรียญ เท่านั้น มร.เบรสเดสมีความภูมใจในไฟแช็คต้นแบบนี้มากถึงกับพูดว่า เขาจะไม่เปลี่ยนแบบของไฟแช็คนี้ ตราบใดที่เขายังมีชีวิตอยู่ เขาตระหนักดีว่าต้องทำอะไรซักอย่างเพื่อให้เป็นการแหวกแนวและเป็นประโยชน์กับลูกค้ามากที่สุดจึงได้ออกนโยบาย “Lifetime Warranty” หรือ “Forever Guarantee” ขึ้นมา ซึ่งนโยบายนี้ได้ใช้ตั้งแต่วันแรกที่สินค้าวางจำหน่าย จนกระทั่งปัจจุบัน โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าซ่อมกับลูกค้าแม้แต่เซ็นต์เดียวแถมยังไม่คิดค่าส่งคืนอีกด้วย และเป็นกฎด้วยว่าจะต้องซ่อมให้เสร็จภายใน 48 ชั่วโมงและส่งคืนให้กับลูกค้าพร้อมกับ จดหมายที่เขียนว่า “We thank you for the opportunity of serving your lighter” และนโยบายดังกล่าวยังน่าจะมีใช้อยู่จนถึงปัจจุบันในประเทศอเมริกา และบางประเทศที่เป็นตลาดสำคัญของ ซิปโป้ แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงลายละเอียดบ้างเล็กน้อย เท่านั้น ซิปโป้ ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนอเมริกัน และยังครองใจผู้ใช้ทั่วโลกมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่า 70 ปี มาแล้ว
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554
ระวัง แต่คง ไม่ทัน!@#$%^
หลายท่านคงตกเป็นเหยื่อ พวกมิจฉาชีพจนทำให้ป้ายเหล่านี้ ติดอยู่ตามตู้ atm แทบจะทุกๆตู้(แม้กระทั่งตู้ที่บ้านคนเขียน 55) แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นเพราะ อาจจะมี แค่ 1ใน 100หรือ 1000 ที่จะหลงเชื่อพวกมิจฉาชีพพวกนี้ นอกจากพวกที่ไม่ติดตามข่าวสารตัวผู้เขียนเองก้ออุดอู้นะแต่อาศัยที่ชอบเปิดทีวีฟังข่าว เปิดไปนั่งเล่นคอมผมว่าต้องมีบ้างแหละที่คุณ จะหันไปมองจอทีวี เพราะมีสิ่งที่คุณสนใจ เอ้า..... นอกเรื่องไปยาวเล้ยยย คุณเคยคิดมั้ยทำไมธนาคารเค้าไม่มีระบบ รักษาความปลอดภัยกับการ รูดซื้อสินค้า ผมหมายถึง visa electron (DeBit card) เพราะการรูดซื้อสินค้า80% พนักงานไม่มองไม่สนลายเซ็นหลังบัตร เลยด้วยซ้ำ ตราบใดที่บัตรของคุณมี$$$พอที่ชำระสินค้านั้นๆ อ้อถ้าพวกท่านลองสังเกตุจะเห็นว่า ที่เครื่องมีปุ่มตัวเลข เหมือนแป้น numlock ไว้เพื่อถาม pin แต่กลับไร้ค่าเพราะธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เหตุผลสำหรับการไม่ถาม pin เพียงเพราะว่าต้องการอำนวยความสะสวกสบายให้กับลูกค้าเสมือนพกเงินสด ......... หลายท่านที่มีบัตรหลายใบก้อหมั่นตรวจสอบ การเคลื่อนไหวทางบัญชีบ้างนะคับ เพราะนิสัยคนไทยที่รัก สบายยย แต่พอเงินหายยย คงไม่ต่าง จาก ฟอ อาร ยยยยยยยยยย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)