logo

ณัฏฐ์ โดย Nutt Krait

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ชามไก่ (ชามตราไก่)



ชามกาไก่

ชามไก่ “ ชามไก่  หรือที่คนแต้จิ๋วเรียก  โกยอั้ว  และที่ปัจจุบันนิยมเรียก  ชามตราไก่  นั้น มีประวัติ ความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งในประเทศไทยเป็นที่นิยมใช้สำหรับใส่ข้าวต้มรับประทาน โดยเฉพาะในหมู่คนจีนแต้จิ๋ว ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจากรูปไก่สีแดง และลักษณะของชามที่เหมาะกับการใช้ ตะเกียบพุ้ย


ลักษณะของชามไก่ ชามไก่ในยุคแรก เป็นชามทรงแปดเหลี่ยมเกือบกลมปากบาน ข้างชามด้านนอกมีรอยบุบเล็กน้อยรับกับ เหลี่ยมของชาม ขาเป็นเชิง ชุบเคลือบขี้เถ้า วาดลวดลายบนเคลือบด้วยมือ เป็นรูปไก่ ขนคอและลำตัวสีแดง หางและขาสีดำเดินอยู่บนหญ้าสีเขียว มีดอกโบตั๋นสีชมพูออกม่วงใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านซ้าย และมีต้น กล้วย ใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านขวา นอกจากนั้นชามบางใบยังมีนกบินห้อยหัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับไก่ และ มีดอกไม้และใบไม้เล็ก  แต้มอยู่ก้นชามด้านในอีกด้วย




ในยุคแรกชามไก่มี ขนาด คือ ขนาดปากกว้าง นิ้ว เสี่ยวเต้า ) 6 นิ้ว ตั่วเต้า ) 7 นิ้ว ยี่ไห้ และ นิ้ว เต๋งไห้ )ชามไก่ขนาด  6 นิ้ว สำหรับใช้ในบ้านและร้านข้าวต้มชั้นผู้ดี ส่วนชามไก่ขนาด  8 นิ้ว เหมาะสำหรับ เป็นชามให้หมู่กุลีที่ทำงานหนักใช้ เพราะรับประทานจุ วิธีผลิตแบบโบราณ เริ่มจากการผสมดินโดยย่ำด้วยเท้า และนวดด้วยมือ จากนั้นนำดินมาปั้นตบเป็นดินแผ่น แล้วจึงอัดดินลง แม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ หมุนขึ้นรูปชามเป็นวงกลมด้วยมือ ปาดด้วยไก๊ (ไม้ปาดตัดเป็นรูปโค้งแล้วนำมาต่อขา ทิ้งชามที่ขึ้นรูปแล้วเสร็จไว้บนกระดานให้แห้งโดยธรรมชาติ นำมาชุบเคลือบที่ทำจากขี้เถ้าแกลบปูนหอย และ ดินขาว จากนั้นบรรจุลงจ้อนำไปเรียงในเตามังกร เผาด้วยฟืนในความร้อนประมาณ 1300 oC ระยะเวลา 18-24 ชั่วโมง เมื่อเผาสุกดีแล้ว จึงนำชามมาเขียนสีบนเคลือบด้วยพู่กันเป็นลายไก่ ดอกไม้และต้นกล้วย แล้วเผาในเตาอบรูปกลม ภายในเป็นถังดินขนาดใหญ่ ด้วยความร้อนประมาณ 700 – 750 oC ด้วยฟืนประมาณ ชั่วโมง รอจนเย็น จึงบรรจุใส่เข่งส่งจำหน่าย ความเป็นมาของชามไก่ ชามไก่มีต้นกำเนิดการผลิตในประเทศจีนกว่าร้อยปีมาแล้ว โดยชนชาวจีนแคะ ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง และชาวจีนแต้จิ๋ว ที่ตำบลปังโคย ซึ่งมีเขตติดต่อกันทางใต้ ชามไก่นอกจากใช้ในประเทศจีนแล้ว ยังส่งจำหน่ายแก่ชาวจีนโพ้นทะเลด้วยดังนั้นส่วนหนึ่งจึงส่งมาจำหน่ายยังประเทศไทย ซึ่งมีชาวจีนโดยเฉพาะชาว แต้จิ๋วอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประวัติชามไก่ลำปาง / 2 เนื่องจากในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ยังไม่มีผู้ผลิตชามไก่ในประเทศไทย และมีความต้องการ จากตลาดมาก พ่อค้าชาวจีนซึ่งอยู่แถวถนนทรงวาด ตลาดเก่าในกรุงเทพฯ จึงสั่งนำเข้าชามไก่มาจากประเทศจีน ซึ่งในขณะนั้นมีราคาถูกมาก ต่อมาเกิดสงครามจีนญี่ปุ่นขึ้น ทำให้ชามไก่ขาดตลาด ของที่นำเข้าไม่พอขาย และ ราคาสูงขึ้น ต่อมาในปี .. 2480 ถึง2500 มีช่างชาวจีนย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทย ได้มีการก่อเตามังกร และทำ เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งรวมถึงชามไก่ด้วย เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมดินเผา สี่แยก ราชเทวี ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ โรงงานบุญอยู่พาณิชย์ และ โรงงานศิลามิตร จังหวัดเชียงใหม่ และโรงงานของ นายทวี ผลเจริญที่วงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี ซึ่งชามไก่ในช่วงนั้นมีไม่มากนัก เนื่องจากยังขาดดินคุณภาพดี ช่างชาวจีนเหล่านี้ส่วนหนึ่งจึงได้ยา้ ยขึ้นมาตั้งโรงงานที่จังหวัดลำปาง หลังจากได้มีการพบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม ชามไก่ในจังหวัดลำปาง ชามไก่ เริ่มมีการผลิตขึ้นในจังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.. 2500 โดยชาวจีนเมืองไท้ปู ในฮกเกี้ยน ) 4 คน คือ นายซิมหยู (โรงงานธนบดีสกุลในปัจจุบันนายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ (โรงงานไทยมิตรในปัจจุบันนายซิวกิม แซ่กว๊อก (โรงงานกฎชาญเจริญในปัจจุบันและนายซือเมน แซ่เทน (โรงงานเจริญเมืองในปัจจุบันได้ร่วมกันก่อตั้งโรงงาน เครื่องปั้นดินเผาแห่งแรกของจังหวัดลำปางชื่อ “โรงงานร่วมสามัคคี” ที่หมู่บ้านป่าขาม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ผลิตชามไก่ขนาด 6 และ 7 และถ้วยยี่ไฮ้ สามปีต่อมาหุ้นส่วนต่าง ๆ ก็ได้แยกตัวออกไปเปิดโรงงานผลิตถ้วยชาม ของตนเอง ระหว่างปี.. 2502  2505 กลุ่มชาวจีน ได้ทยอยกันมาตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่จังหวัดลำปางมากขึ้น ทำให้เป็นแหล่งผลิตชามไก่มากกว่าแหล่งอื่น  ในประเทศ จึงเป็นช่วงที่มีการผลิตชามไก่กันมากที่สุด และได้ราคาดี เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าชามไก่จากประเทศจีนได้ ซึ่งในสมัยนั้น ชามไก่ขนาด นิ้ว ที่คุณภาพดี ได้ราคาถึงใบละ1.50 บาท วิธีการผลิตชามไก่ในลำปาง วิธีการผลิตชามไก่ในลำปางเมื่อเริ่มแรกนั้น อาศัยวัสดุอุปกรณ์ท้องถิ่นมาใช้ในการขึ้นรูป โดยหาล้อจักรยาน มาเป็นแป้นหมุน มีแผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือจับ (จิ๊กเกอร์มือขว้างดินที่หมักเปียก (ดินขาวลำปาง) ลงบนพิมพ์ ซึ่งหมุนบนล้อจักรยาน แล้วใช้จิ๊กเกอร์ไม้กวาดแต่งเติมดินให้ได้รูปทรงถ้วยกลมทีละใบ แล้วนำมาต่อขา โดยที่ชามไกใ่ นยุคแรก ๆ จะค่อนข้างหนา สำหรับการเคลือบ ใช้เคลือบขี้เถ้าแกลบ ตำบดในครกขนาดใหญ่ โดยใช้แรงคนเหยียบหลายวันจนละเอียด แล้วนำมาร่อนตะแกรง ก่อนจะนำมาแช่น้ำในบ่อให้ตกตะกอน นำเอาส่วนที่ไม่ตกตะกอนมาใช้ แล้วนำถ้วยชาม มาจุ่มเคลือบทั้งใบ ประวัติชามไก่ลำปาง / 3 วิธีการเผานั้น ใช้เตามังกรโบราณแบบกอปี นำฟืนไม้ไผ่แห้งเป็นเชื้อเพลิง เตามีลักษณะยาวประมาณ 15-20 เมตร ทำช่องใส่ฟืนเป็นระยะ ภายในก่อเป็นขั้นบันไดตามความยาวของเตา โดยนำถ้วยชามที่เคลือบเสร็จ มาบรรจุ ในจ๊อทนไฟ นำมาเรียงในเตาและเผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1250  1300 oCนาน 24 ชั่วโมง ถ้วยชามที่เผาจึงสุกตัว พอดี ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยประสบการณ์พิเศษ โดยการสังเกตุสีของเปลวไฟ และการชักตัวอย่าง เนื่องจากใน สมัยนั้นไม่มีเครื่องมือวัดอุณหภูมิในเตาเผา การวาดลายไก่บนชามเคลือบ ได้มีการฝึกคนงานในท้องถิ่นตวัดพู่กันจีน โดยให้คนวาด  3 คน วาดเป็น ส่วน  ต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบ แต่ละคนจะจับพู่กันทีละ ด้ามในเวลาเดียวกัน จากนั้นนำมาเผาในเตา กลมอุณหภูมิประมาณ 750 oC ชามไก่ที่ผลิตได้ในรุ่นแรก  มีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สาเหตุหนึ่งเพราะความยุ่งยากและ ความล่าช้าของขั้นตอนกรรมวิธีการผลิต การเปลี่ยนแปลงของชามไก่ ชามไก่เริ่มมีการเปลี่ยนรูปแบบ เมื่อโรงงานต่างๆ หันมาลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้สามารถขายได้ ในราคาต่ำลง โดยเริ่มใช้เครื่องปั้น หรือ เครื่องจิ๊กเกอร์เข้ามาช่วยในการผลิต ชามไก่จึงมีลักษณะกลมไม่เป็นเหลี่ยม และต่อมาได้มีการทำแม่พิมพ์ให้มีขาชามในตัว เพื่อจะได้ไม่ต้องต่อขาชามภายหลัง ขาชามไก่รุ่นหลังจึงไม่เป็นเชิง จะตรงลงมาในแนวดิ่ง ชามไก่เริ่มเปลี่ยนไปอย่างมาก เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงงาน ขนาดใหญ่ สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตาในปี พ.. 2505 และสามารถเผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ ซึ่งรวมถึง การเผาถ้วยชามที่วาดสีใต้เคลือบในครั้งเดียวกันโดยไม่ต้องอบสีในภายหลัง ลักษณะของชามไก่ที่ผลิตขึ้นในช่วงนี้ ลายไก่วาดด้วยสีเขียว หางน้ำเงิน ดอกไม้สีชมพู ลายวาดลดความละเอียดลง ราคาขายก็ถูกลง สามารถทำตลาดได้ดี เนื่องจากราคาถูกและลวดลายไม่ถลอกได้ง่าย จากนั้นราคาชามไก่ก็ถูกลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันมาผลิตถ้วยชามรูปแบบอื่น  มากขึ้น โดยเฉพาะถ้วยชามแบบญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยขึ้น จังหวัดลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียวที่ยังผลิตชามไก่มาอย่าง ต่อเนื่อง แต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยาก อีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพง ส่วนใหญ่จึงใช้สีวาดใต้เคลือบ เผาครั้งเดียว ที่อุณหภูมิประมาณ 1260 oC การวาดลายไก่มีการเปลี่ยนมาใช้สีชมพู หางสีน้ำเงิน แซมใบไม้สีเขียวเข้ม และราคาขาย ชามไก่ขนาด นิ้ว ในปี พ.. 2516 มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เท่านั้น ทั้งยังมีการผลิตน้อยลงเรื่อย ๆ และการผลิต ด้วยสีบนเคลือบแบบดั้งเดิมเริ่มหายไปจากตลาด ชามไก่ในยุคปัจจุบัน เมื่อชามไก่ในยุคหลัง  ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก และกลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสม และกว้าน ซื้อชามไก่ในรุ่นแรก  ซึ่งมีสีสันสวยงามจนทำให้ชามไก่รุ่นแรก ๆ หายไปจากตลาด จนเริ่มมีบางโรงงาน หันกลับมาผลิตชามไก่ให้คล้ายกับรุ่นแรก  โดยขายในราคาที่สูงขึ้น ประวัติชามไก่ลำปาง / 4สมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง เห็นความสำคัญของชามไก่ ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาในยุคแรกของจังหวัด ลำปาง และยังคงมีผลิตอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย เห็นสมควรที่จะรักษาไว้ จึงได้สร้างประติมากรรมรูปชามไก่ ขนาดกว้าง 3.5 เมตร ไว้ที่แยกทางเข้าจังหวัดลำปาง ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เมื่อราวปี พ.. 2542 ให้ผู้ผ่านไปมา ได้รับรู้และเห็นความสำคัญของชามไก่ ที่มีต่อจังหวัดลำปาง และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันกลับมาใช้ ชามไก่มากยิ่งขึ้น ในช่วง ปี .. 2544 มีโรงงานในจังหวัดลำปาง หันกลับมาผลิตชามไก่กันมากขึ้น ทั้งแบบวาดใต้เคลือบ และวาดบนเคลือบแบบเก่า ตามความต้องการของตลาด ทั้งเผาด้วยเตามังกรโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงและเผาด้วย เตาแก๊ส ชามไก่ที่ผลิตขึ้น มีมากกว่า 10 ขนาด ตั้งแต่ นิ้วไปจนถึง นิ้ว และพัฒนารูปแบบไปหลากหลาย ตั้งแต่ จาน ชาม ถ้วยน้ำ ช้อน และของที่ระลึกต่าง  เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัด และบางส่วน ยังสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้อีกด้วย ชามไก่ ถือเป็นต้นกำเนิดของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจังหวัดลำปางมีการผลิต เซรามิกหลากหลายประเภท ตั้งแต่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของประดับของชำร่วย กระเบื้อง สุขภัณฑ์ ลูกถ้วยไฟฟ้า ตลอดจนลูกกรงเซรามิก และแม้ว่าปัจจุบันชามไก่จะไม่ใช่สินค้าที่มีมูลค่าหลักของเซรามิกจังหวัดลำปาง แต่ชามไก่ มีความหมายเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง และจะอยู่ในความทรงจำของกลุ่มผู้ผลิตเซรามิก จังหวัดลำปาง และของคนไทยตลอดไป ๏ คงจะทราบประวัติชามกาไก่กันพอสมควรแล้วนะครับ บทความต่อไปผมจะนำเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับ จังหวัดลำปาง หรือจะเป็นเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับเซรามิก คุณรู้ไหมว่าเซรามิกอยู่รอบตัวเราโดยที่เราไม่ได้สังเกตกันบ้างเลย ไม่ว่าจะบนโต๊ะอาหาร หรือว่าบนเสาไฟฟ้า หือจะในห้องน้ำที่เราเข้าไปปลดทุกข์กันทุกวัน

      ชามกาไก่จากประเทศจีน
     เมื่อกล่าวถึงลำปาง ก็ต้องนึกถึงชามกาไก่หรือชามตราไก่เพราะเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางเนื่องจากที่ลำปางนั้นมีโรงงานผลิตเซรามิกส์มากที่สุดในประเทศ สัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางก็คือ ไก่(ไก่ขาว ) ซึ่งตรงกับลวดลายบนชามกาไก่พอดี แต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดของชามกาไก่หาใช่ที่ลำปางไม่ แต่ต้นกำเนิดที่แท้จริงนั้นกลับอยู่ที่ประเทศจีน เล่ากันว่าชามกาไก่มีประวัติความเป็นมานานกว่าร้อยปี ในสมัยก่อนนั้นแต่เดิมชามตราไก่ยังไม่มีลายยังเป็นแค่ชามสีขาวปราศจากการเขียนลวดลายใดๆทั้งสิ้นซึ่งเป็นการปั้นของชาวจีนแคระที่ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลฮกเกี้ยนหรือมณฑลฝูเจี้ยนในปัจจุบัน ต่อมาพวกจีนแต้จิ๋วที่ตำบลปังเคย เขตแต้จิ๋วปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเขตเฉาอัน มณฑลกวางตุ้ง ก็นำชามสีขาวเหล่านั้นมาเขียนลวดลายไก่เพิ่มลงไป จึงกลายมาเป็นชามกาไก่ในที่สุด ชามกาไก่ได้เป็นสินค้าที่ขายกันทั้งในประเทศจีนและยังส่งออกไปขายในต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย ต่อมาเกิดสงครามขึ้นในประเทศจีน(ญี่ปุ่นบุกจีน)จึงทำให้ไ่ม่สามารถนำเข้าชามกาไก่เข้ามาขายในประเทศไทยได้ ทำให้เกิดความต้องการชามกาไก่จำนวนมากจึงทำให้เจ้าของโรงงานเกิดอยากผลิตชามกาไก่ขึ้นในไทย ประจวบกับมีชาวจีนที่หนีสงครามเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากและในบรรดาชาวจีนที่หนีมาก็มีช่างชาวจีนที่เคยทำชามกาไก่ด้วยเลยเป็นที่มาของการทำชามกาไก่ขึ้นในประเทศไทย พอมีการผลิตชามกาไก่ขึ้นในประเทศก็ยังไม่ใช่ที่ลำปางแต่ผลิตขึ้นที่กรุงเทพอยู่แถวๆวงเวียนใหญ่ฝั่งธนบุรีและบริเวณถนนเพชรบุรีเขตกรุงเทพ

ชามกาไก่ยุคแรกที่ผลิตขึ้นในไทย 
     กำเนิดชามกาไก่ลำปาง นั้นเริ่มมาจากมีคนสังเกตุเห็นหินลับมีดของคนรับจ้างลับมีด ว่ามีดินขาวผสมอยู่ซึ่งก็คือ นายซิมหยู แซ่ฉิม จากนั้นนายซิมหยูจึงได้ชวนเพื่อนๆอีก2-3คนไปหาแหล่งกำเนิดดินขาว โดยมี นายทวี ผลเจริญ เจ้าของโรงงานที่กรุงเทพให้การสนับสนุน จนมาพบแหล่งดินขาวที่บ้านปงค่า อำเภอแจ้หม่ ระหว่างกิโลเมตรที่ 26-27 เส้นถนน ลำปาง - แจ้หม่ เมื่อราวปี 2498-2499 จึงนำมาทดลองปั้นถ้วยชาม ต่อมานายซิมหยูและเพื่อนได้ไปหาแหล่งเงินทุนจากนายซิมหมิน แซ่เลียว ก่อตั้งโรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นมาแห่งแรกของลำปางชื่อว่า "โรงงานร่วมสามัคคี" เมื่อปี 2500 ที่บ้านป่าขาม อำเภอเมืองลำปาง ทำได้ 3-4 ปีก็เกิดปัญหา ทั้งหมดเลยตัดสินใจแยกย้ายกันไปเปิดโรงงานผลิตชามของตนเอง และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิดโรงงานผลิตชามกาไก่ออกมาอีกจนถึงปัจจุบัน

 ชามกาไก่รุ่นแรกของลำปาง 

     กล่าวกันว่าชามกาไก่ที่มีคุณภาพต้องนำเข้ามาจากประเทศจีน ลวดลายก็ต้องเป็นรูปไก่มีหงอนและมีสีเข้มไม่อ่อน และมีลายประกอบด้วย ต้นกล้วย ดอกโบตั๋นและต้นหญ้าสีเขียว ส่วนชามกาไก่ของลำปางนั้นมีหลากหลายลายมากไม่ได้จำกัดแค่ลายไก่กับดอกโบตั๋นเท่านั้น เท่าที่พบมีมากกว่า10ลายเหมาะกับการเก็บสะสมเป็นอย่างมาก
ชามไก่กำเนิดในเมืองจีนเมื่อกว่าร้อยปี ฝีมือชาวจีนแคะ ตำบล กอปี อำเภอไท้ปู มณฑล กวางตุ้ง แต่เดิมชามตราไก่ไม่ปรากฏการเขียนลายเป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ ที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชามตราไก่สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่ายในตลาดทั่วไป
      ต่อมาราว ปี พ.ศ. 2480 ชาวจีนที่ทำชามตราไก่ในประเทศจีนได้ย้ายถิ่นมาจากเมืองจีนมาตั้งบ้านเรือนที่ กรุงเทพมหานครและ ลำปาง (ในการย้ายถิ่นมาครั้งนี้ได้นำช่าง ญาติพี่น้อง ชาวจีนที่มีความสามารถทางการปั้นเครื่องปั้นดินเผามาด้วย) พร้อมกันนี้ได้ก่อสร้างโรงงานและเตาเผาชามตราไก่ขึ้น ที่แถววงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี และที่ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร
ในราวปี  พ.ศ. 2500 ชาวจีนที่ทำโรงงาน และเตาเผาชามตราไก่ ได้ย้ายขึ้นมาตั้งโรงงานและเตาเผาใน จังหวัดลำปางทั้งนี้เนื่องจากที่จังหวัดลำปางมีดินขาวเหมาะที่จะนำมาทำการผลิตชามตราไก่มากที่สุดหลังจาก พบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม  ในปีเดียวกันชามไก่ใน จ.ลำปางเริ่มผลิตขึ้นโดยชาวไท้ปู4 คนคือนายซิมหยูนายเซี่ยะหยุยแซ่อื้อนายซิวกิมแซ่กว็อกและนายซือเมนแซ่เทนร่วมก่อตั้ง " โรงงานร่วมสามัคคี " ที่บ้านป่าขามอำเภอเมืองก่อนแยกตัวเปิดกิจการตนเองในอีก3 ปีถัดมา
          ระหว่างปี  2502-2505  ชาวจีนตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่ลำปางมากขึ้น  รวมถึงผลิตชามไก่ที่เริ่มด้วยขว้างดินขาวลำปางหมักเปียกลงบนพิมพ์ซึ่งหมุนบนล้อจักรยานแล้วใช้แผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือ (จิ๊กเกอร์มือ)  แต่งดินให้ได้รูปทรงถ้วย  ต่อขา เคลือบขี้เถ้าแกลบการเผาใช้เตามังกรโบราณแบบกอปีฟืนไม้ส่วนการวาดลายไก่ก็ฝึกคนท้องถิ่นตวัดพู่กันจีนวาดเป็นส่วนๆต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบแต่ละคนจับพู่กัน  2-3  ด้ามในเวลาเดียวกันแล้วแต่ความยุ่งยากของกรรมวิธี    ทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมาไม่ทันความต้องการ       ชามไก่เริ่มเปลี่ยนรูปแบบเมื่อโรงงานใช้เครื่องปั้นหรือเครื่องจิ๊กเกอร์ชามจึงมีรูปกลมไม่เป็นเหลี่ยมมีขาในตัวที่สุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อยสมุทรสาครสร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตา
             ในปี 2505 เผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ชามช่วงนี้ตัวไก่สีเขียวหางน้ำเงิน ดอกไม้ชมพูลดความละเอียดลงแต่ทำตลาดได้ดีเนื่องจากราคาถูกและไม่ถลอกง่ายจวบจนปี  2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันไปผลิตถ้วยชามแบบญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาแทนที่ ลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียว  ที่ผลิตชามไก่อย่างต่อเนื่องแต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยากอีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพงลายไก่เปลี่ยนมาใช้สีชมพูหางน้ำเงินแซมใบไม้เขียวเข้มพ.ศ. 2516 ขณะที่ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว  มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เพราะเป็นชามในยุคหลังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก กลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสมและกว้านซื้อชามไก่ในรุ่นแรกๆจนทำให้ชามไก่รุ่นนั้นหายไปจากตลาดถึงทุกวันนี้จึงเป็นสินค้าสูงค่าเพราะหา (ของแท้) ยาก 

สมบัติ กรุวัดราชบูรณะ


อาถรรพณ์มหาสมบัติ กรุวัดราชบูรณะ เจ็บตายเป็นบ้า ตาบอดราวต้องคำสาป
การลอบขุดกรุวัดราชบูรณะ นำเอาอภิมหาสมบัติมโหฬาร เกือบหมดเป็นเครื่องทอง สุดฝีมือช่างอย่างสูงอยุธยาตอนต้นและรัฐร่วมสมัย ออกไปในคืนวันลมฝนกระหน่ำรุนแรงราวเกิดอาเพศเมื่อ 27 ตุลาคม 2499 ผลที่ตามมาขนลุกสุดสยอง ตำรวจและโจร 20 คน ที่สมคบกันโจรกรรมต่างเจอวิบัติอาถรรพณ์เป็นบ้าเจ็บป่วยล้มตายอย่างสุดทุเรศแทบหมด ทุกคนมีชีวิตขมขื่น ต้องหนีซอกซอนวนเวียนเข้าออกคุกตะราง ไม่ผิดอะไรกับอาถรรพณ์พยาบาทลึกลับที่เกิดกับลอร์ด คาร์นาวอน และโฮเวิร์ด คาร์เตอร์ พร้อมผองพวกที่บังอาจเข้าไปขุดเจาะเปิดพีระมิดสุสานฟาโรห์ตูตันคาเมนของอียิปต์ ที่เมืองธีเบส บุกเข้าไปจนถึงห้องวางมัมมี่พระศพ ขนเอามัมมี่พระองค์และมหาสมบัติประมาณค่ามิได้ออกไปจากกรุจนหมดในปี 2465 ทุกคนที่เข้าไปใต้พีระมิดจนถึงห้องเก็บพระศพและมหาสมบัติฟาโรห์ ต่างเจออาถรรพณ์ราวกับต้องคำสาปแช่งสยอง ตายลงอย่างอนาถสุดทุเรศทุกคน
อาถรรพณ์สมบัติกรุวัดราชบูรณะเกิดตั้งแต่ วันแรก เมื่อ 2 โจรที่ลงไปในกรุลึกใต้ดินระดมขน มหาสมบัติใส่ถุงจากกรุใต้เจดีย์ทั้งชั้น 1 และ 2 ให้พวกข้างบนสาวเชือกเอาขึ้นไปรวมไว้ด้านบนโดยใช้เวลาขนเกือบ 3 วัน การหักหลังก็เกิดขึ้นทันที เมื่อพวกที่อยู่ข้างบนได้รับสมบัติมาเท่าไร พากันแย่งกักเอาไว้เป็นของตัวกันชุลมุน หลายคนรีบขนอย่างตะกลามเอาไปฝากไว้ตามบ้านญาติแล้วรีบกลับมาใหม่ โจร ทั้งคู่ในกรุใต้ดินตระหนักเสียรู้พวกเสียแล้ว พากันกลับขึ้นไปด้านบนทิ้งมหาสมบัติที่ยังมีให้ขนอีกไม่รู้เท่าไรขึ้นไปทวงของกันอึงมี่ ที่สุดตกลงเอาสมบัติที่เหลือปากกรุไปแบ่งกันที่บ้านโจรคนหนึ่งใกล้ๆหน้าวัดนั่นเอง ห่างจากเจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่พระยานิดเดียว
เมื่อตกลงแบ่งได้แยกเครื่องทองชิ้นใหญ่ๆไว้ต่างหาก เช่น พระพุทธรูป มงกุฎ ฯลฯ เครื่องทองชิ้นเล็กๆ แก้วแหวนเงินทองและอัญมณีเอามาชั่งน้ำหนักแบ่งกัน โกลาหลตามมาทันใด โจร 20 คน เพิ่มมาจากไหนไม่รู้หลายคน ต่างอ้างสิทธิต้องได้ส่วนแบ่ง ชักมีดและปืนออกมาเป็นแถวพร้อมฆ่าทุกคนหากถูกปฏิเสธ ที่สุดต้องแบ่งกัน 30 คน ได้เครื่องทองไปคนละ 2.5 กก. จุดเดือดความโลภจะฆ่ากันตายหมู่เกิดขึ้นอีก เมื่อไม่อาจตกลงกันได้ เครื่องทองคำชิ้นใหญ่ที่แยกกองไว้จะแบ่งอย่างไร ทุกคนชักดาบมีดปืนพร้อมฆ่ากันเองสลอน หนึ่งในนั้นตะโกนให้ใช้วิธีมือใครยาวสาวได้ สาวเอา คราวนี้เกิดระดมแย่งชิงกันชุลมุนโกยสมบัติ ห่อผ้าขาวม้ากันแทบไม่หายใจ เด็กเล็กในบ้านคนหนึ่งร้องจ้าเจ็บปวดอย่างหนัก เพราะถูกโจรล้มลงทับหรือ เหยียบเข้าเต็มแรง ต่างได้เครื่องทองล้ำค่าไปคนละห่อสองห่อผ้าขาวม้า
นางสุบงกช ธงทองทิพย์ ผอ.พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติเจ้าสามพระยาที่อยุธยา เผยว่า สมบัติที่โจรเอาไปตามคืนไม่ได้จนบัดนี้ ล้วนเป็นเครื่องทองสมบัติพระมหากษัตริย์ประมาณค่ามิได้ เครื่องทองเหล่านี้บอกให้โลกรู้ว่าไทยเป็นหนึ่งในยอดช่างทองของโลกโดยแท้ สมบัติที่โจรทิ้งค้างไว้ในกรุรวมกับที่รัฐบาลรีบขุดต่อเพื่อเอามาเก็บรวมกับ ที่ตามคืนมาได้ที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่กรุงเทพฯและที่อยุธยา มีราว 20,000 รายการ แค่ 20% ของสมบัติในกรุเท่านั้น ทำให้คำนวณได้ว่ามหาสมบัติต้องมีถึง 100,000 รายการแน่ นับเป็นสมบัติมรดกของชาติมากมายมโหฬารบอกไม่ถูก แน่ละจำนวนมากหลุดออกไปอยู่ต่างประเทศ
สมบัติกรุวัดราชบูรณะ แบ่งออกได้ 8 ชนิด 1. เครื่องราชกกุธภัณฑ์ สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ได้แก่ พระขรรค์ชัยศรี 2. เครื่องต้น เครื่องทรง มีมากมายทั้งภูษาทรง กรองคอ สังวาล ทับทรวง สร้อย พาหุรัดทองกร กำไล ธำมรงค์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 3. เครื่องราชูปโภค ตลับ กระปุก ถาด พาน หีบ ล้วนทำด้วยทองคำลวดลายงดงาม ฯลฯ 4. พระพุทธรูป เทวรูป พระเครื่อง มีทั้งทองคำและเนื้อชิน 5. เครื่องราชบรรณาการและของขวัญ ต้นไม้ทองคำ ตลับสิงโต เหรียญทองคำอาหรับ 6. เครื่องอุทิศที่พระราชวงศ์ เอามาบรรจุไว้อุทิศเป็นส่วนกุศล 7. จารึกในใบลานเงินลานทองและแถบทองคำและ มีจารึกภาษาจีนด้านหลังพระพิมพ์จำนวนมากด้วย 8. พระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในสถูปทองคำที่อยู่ในกรุชั้น 3 ล่างสุด
เพียงสมบัติถูกขนไปจากกรุไม่นาน อาถรรพณ์ ก็เกิดแก่โจรอย่างพิศวง ตำรวจชั้นผู้น้อย 2 นาย ที่สมคบโจรขุดเจาะเจดีย์เข้าไปขโมยของในกรุโดยได้ส่วนแบ่งด้วย เมามายรี่ไปหา พ.ต.ท.วุฒิ สมุทรประภูติ ผกก. ตำรวจภูธรอยุธยา (ยศและตำแหน่งปี 2499) พล่ามพูดวกวนทำให้ปะติดปะต่อได้ว่า โจรกลุ่มใหญ่ลอบขุด กรุวัดราชบูรณะขนมหาสมบัติราชาไปได้มาก เกิดระดมตามจับขึ้นทันที สุดฉงนโจรผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งเมื่อขนเครื่องทองหอบใหญ่กลับไปบ้าน อะไรไม่รู้บันดาลให้สติฟั่นเฟือนสำคัญตนเป็นพระมหากษัตริย์ นำเอามงกุฎพระมหากษัตริย์และพระขรรค์ชัยศรีที่ลอบเอามาจากกรุ แต่งองค์ทรงเครื่องเป็นกษัตริย์สวมมงกุฎออกไปรำป้อ แกว่งพระขรรค์กลางตลาดหัวรอจนถูก ตำรวจตามรวบ หลายคนเป็นบ้าไปโดยพลัน เสียดายสมบัติเครื่องทองมหาศาล ที่ขนเอาไปฝากไว้ตามบ้านญาติ แล้วถูกโกงหมดสิ้นหน้าตาเฉย
อาถรรพณ์ตามไปเกิดแก่ผู้รับซื้อสมบัติและผู้มีไว้ในครอบครองไม่ว่ารูปการณ์ใด ชีวิตรุ่มร้อนครอบครัวไร้สุขมีแต่เรื่องซวยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า กิจการเจ๊ง ครอบครัวแตก ลูกชายหญิงเสียผู้เสียคน หลายคนเอาสมบัติไปคืนกลุ่มโจรยิ่งแล้วใหญ่ เท่าที่รวบรวมได้ 8 คน ถูกตำรวจตามจับได้เอาสมบัติคืน ที่เหลือหนีซอกซอนไร้ความสุขทั้งตัวและครอบครัว เงินทองขายของจากกรุถูกใช้หมด หลายคนเวียนเข้าออกคุกตะราง บางคนหายสาปสูญไม่ปรากฏตัวจนบัดนี้ ขณะนี้ทั้ง 20 คนตายลงทีละคนสองคนแทบหมด ด้วยสภาพอเนจอนาถต่างๆ กัน ไม่ผิดอะไรกับทีมขุดพีระมิดสุสานตูตันคาเมนของลอร์ด คาร์นาวอน
อาถรรพณ์สยองเกิดกับผู้ลักลอบขุดกรุเท่าที่รวบรวมมาได้น่าขนลุก นายสอิ้งไม่ทราบนามสกุล กินเหล้าเมามายเสียสติเป็นบ้าตาย นายจิตไม่ทราบนามสกุลตาเป็นต้อหินจนบอดสนิททั้ง 2 ข้าง ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในโลกมืดอยู่หลายปีจนตาย นายวิ สุโขทัย ที่อยู่ครั้งสุดท้ายอยู่ที่ ต.ประตูชัย พระนครศรีอยุธยา อายุเกือบ 70 แล้วเป็นบ้าสติฟั่นเฟือน กลายเป็นคนพูดไม่ได้เพราะหมอเจาะคอเนื่องจากเป็นโรคถุงลมโป่งพอง มีชีวิตอย่างตายทั้งเป็น ว้าเหว่ทรมานไร้ญาติขาดมิตร ยังไม่ตายเพราะเพื่อนบ้านสงสารช่วยกันหาข้าวหาน้ำให้กิน
ที่ยังไม่ตายและแข็งแรงที่สุดน่าจะได้แก่นายลิ เกษมสังข์ อายุ 78 ปี อยู่ที่ อ.อุทัย พระนครศรีอยุธยา นับเป็นโจรกลับใจคนเดียวที่กล้าเปิดเผยเรื่องการขุดกรุอย่างกล้าหาญ หลังจากที่เจอวิบากกรรมเวียนเข้าออกคุกตะรางถึง 7 ครั้ง เป็นคนเดียวที่มีค่าน่ายกย่องมากที่สุด ที่ยังหลงเหลือมาเล่า เรื่องราวกรุขุมมหาสมบัติราชาอันดำมืดให้คนรุ่นหลังได้ฟัง ทั้งอาจเป็นพยานสำคัญในการขอทวงคืนสมบัติราชาของเราที่ไปอยู่ในต่างประเทศคืนมา.
คัดลอกจาก ไทยรัฐ คอลัมภ์ โลกหลากวิถี "วีว่า" ปีที่ 57 ฉบับที่ 17563 วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549
ลานทองกรุสุพรรณ
กรุวัดราชบูรณะอยุธยา แตกเมื่อ พ.ศ.2499 ทรัพย์สินมีค่า โดยเฉพาะเครื่องราชูปโภค พระพุทธรูป พระเครื่องจำนวนมหาศาลที่ถูกขนออกมา แม้บางส่วนจะถูกผู้ร้ายลักลอบเล็ดลอดเอาไปได้ แต่ของที่เหลือให้คนรุ่นต่อมาได้เห็นในพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ถือได้ว่าเป็นกรุแตกครั้งใหญ่ที่สุด
กรุแตกครั้งสำคัญ ก่อนหน้านั้น เกิดขึ้นที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อปี 2456
คุณมนัส โอภากุล เล่าไว้ในหนังสือเรื่อง พระผงสุพรรณว่า วัดนี้เป็นวัดคู่เมืองสุพรรณ
เมืองที่เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่อง จนเมื่อ พ.ศ.2310 อยุธยาแตก กองทัพพม่ามาแบบกองโจรปล้นฆ่าชาวบ้าน เมืองสุพรรณก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นวัดร้างอยู่กลางป่าทึบ
ราวเดือนธันวาคม 2455 ต่อเนื่อง มกราคม 2456 เกิดข่าวเล่าลือว่าจีนไร่ผักข้างวัด ขุดขุมทรัพย์ล้ำค่าจากพระปรางค์ ขนลงเรือหนีหายไป ชาวบ้านที่รู้ข่าวแตกตื่นกันไปขน
หลังจากนั้นประมาณ 10 วัน นายเปล่ง สุพรรณโรจน์ จ่าเมืองสุพรรณ ได้เห็นเหตุการณ์ก็รายงานผู้ว่าฯเมืองสุพรรณ ผู้ว่าฯตั้งคณะกรรมการขุดกรุ ได้วัตถุโบราณมากมาย
ช่วงเวลาเดียวกันนั้น มีการค้นพบเจดีย์ ยุทธหัตถี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสดอนเจดีย์พอดี
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2456 จมื่นอมร ดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) บันทึกว่า
"พระยาสุนทรสงคราม ได้นำพระเครื่องซึ่งพบในกรุที่พระมหาธาตุเมืองสุพรรณบุรี เมื่อจวนเสด็จคราวนี้ พระพุทธรูปลีลา หล่อพิมพ์ด้วยโลหะธาตุอย่างหนึ่ง (พระกำแพงศอก) พระพุทธรูปมารวิชัยพิมพ์ด้วยดินเผาอย่างหนึ่ง (พระผงสุพรรณ) อย่างละหลายร้อยชิ้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแจกแก่เสือป่า ลูกเสือ ทหาร และตำรวจภูธร บรรดาที่ได้โดยเสด็จ โดยทั่วกัน"
นายเจิม อร่ามเรือง อายุ 90 ปี อาชีพพายเรือรับจ้าง ท่าวัดประตูสารกับถนนนางพิม เล่าให้ คุณมนัส โอภากุล ฟังว่า นอกจากได้พระกำแพงศอกจากกรุไปมากมาย เหมาขายให้คนนครชัยศรีไปองค์ ละ 5 บาท ยังได้ลานทองจารึก 20-30 แผ่น แต่น่าเสีย ดาย ต้องหลอมทองทำลายหลักฐาน หนีการตามจับ
การขุดกรุมีต่อไป พบลานทองจารึกอีกสามแผ่น ตอนแรก ชาวบ้านสองคนที่ขุดได้ ฉีกแบ่งครึ่งกัน คนหนึ่งหนีลงเรือตั้งใจจะไปขายในกรุงเทพฯ แต่อีกคนถูกจับได้ทางการโทรเลขให้ช่วยกันสกัดจับไว้ทัน
ลานทองจารึกเป็นภาษามคธ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแปลเป็นภาษาไทย ได้เค้าเงื่อนประวัติศาสตร์สำคัญว่า...
"พระราชาผู้ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้ง หลายในอโยธยา โปรดให้สร้าง...เมื่อพระสถูปชำรุดทรุดโทรมไปโดยกาลเวลา พระราชโอรสของพระองค์ ผู้เป็นพระราชาเหนือพระราชาทั้ง หลายในแผ่นดินทั้งมวล โปรดให้ปฏิสังขรณ์ ให้กลับคืนดี"
นักประวัติศาสตร์โบราณคดีหลายท่าน ตีความกษัตริย์สองพ่อลูกไว้ เป็น 4 คู่
คู่ที่ 1 พระเจ้าอู่ทองกับขุนหลวงพงั่ว (พระบรมราชาธิราชที่ 1) คู่ที่ 2 พระราเมศวรกับพระรามาธิบดีที่ 1 คู่ที่ 3 พระบรมราชาธิราชที่ 1 กับพระเจ้าทองลัน
คู่ที่ 4 พระนครินทราธิราชกับพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) และกษัตริย์สองพ่อลูกคู่นี้ ผู้รู้ให้น้ำหนักสูงกว่าคู่อื่น
กษัตริย์อยุธยาคู่ที่สี่ คือผู้ที่เป็นผู้สถาปนาขุมทรัพย์ยิ่งใหญ่ ใต้เจดีย์วัดราชบูรณะ นี่คือหลักฐานยืนยัน เชื้อสายกษัตริย์สุพรรณ มีพระราชอำนาจยิ่งใหญ่เหนืออยุธยา ต่อเนื่องกันมากว่าสิบพระองค์ ในช่วงเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 170-180 ปี.
คัดลอกจาก ไทยรัฐ คอลัมภ์ คัมภีร์จากแผ่นดิน "บาราย" ปีที่ 57 ฉบับที่ 17563 วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549
ค้นหาความลับพระมาลาทองคำ ค้นหาความลับกรุวัดราชบูรณะ
ข่าวการพบพระมาลาทองคำโบราณของพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่อาจถูกโจรกรรมไปจากวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์อาเซียนอาร์ตมิวเซียม นครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ก่อให้เกิดกระแสการหวงแหนโบราณวัตถุของชาติขึ้นมาบนผืนแผ่นดินไทยอีกครั้ง
แน่นอนว่า สิ่งที่หลายคนคงอยากรู้ก็คือ เรื่องราวของพระมาลาที่เกี่ยวพันกับวัดราชบูรณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์เมื่อคราวที่กรุแตกและมีการขนสมบัติออกไปเป็นจำนวนมาก โดยที่จำนวนไม่น้อยถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศ

ทั้งนี้ เนื่องเพราะในบรรดากรุมหาสมบัติโบราณล้ำค่าของไทยนั้น กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา คือแหล่งที่มีทรัพย์สินอยู่มากที่สุดแหล่งหนึ่งของประเทศเลยก็ว่าได้

ย้อนรอยวันกรุแตก

ในราวปี พ.ศ.2499 ขณะที่กรมศิลปากรกำลังบูรณะวัดราชบูรณะ ก็ปรากฏว่า มีคนร้ายลักลอบเข้าไปขุดกรุ ต่อมามีการรวบรวมของมีค่าในกรุวัดราชบูรณะ ทำบัญชีไว้ เฉพาะที่ทำด้วยทอง เงิน นาก เพชรนิลจินดา 2,121 ชิ้น ชั่งน้ำหนักได้ 10,919.5 กรัม ส่วนพระพุทธรูปสำริด พระพิมพ์เนื้อชิน เครื่องสังคโลก เครื่องเคลือบดินเผา มีมากจำนวนนับไม่ถ้วน

จากนั้นได้มีการติดตามเอาเครื่องราชูปโภคทองคำ ที่คนร้ายขโมยไปได้คืนมา รวมแล้วเฉพาะทองคำน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 100 กก. พลอยหัวแหวน ทับทิม หนัก 1,800 กรัม แก้วผลึกชนิดต่างๆ 1,050 กรัม ลูกปัดเงินกับทับทิมปนกัน หนัก 250 กรัม ส่วนพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสิบองค์ พระปั้นทองและเงินสองกระสอบข้าว
นายลิ เกษมสังข์ อายุ 78 ปี หนึ่งในทีมขุดกรุโบราณสถานวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยาเปิดเผยว่า เมื่อปี 2499 ได้ร่วมกับเพื่อนๆ อีก 20 คน เข้าไปที่บริเวณโบราณสถานวัดราชบูรณะ ซึ่งขณะนั้นมีสภาพเป็นป่ารกชัฏมาก ขาดการดูแล ช่วงนั้นเป็นช่วงที่กรมศิลปากรเริ่มบูรณะ ตนกับเพื่อนๆ ช่วงนั้นต้องการพระเครื่องเก่าจึงตัดสินใจเข้าไปขุดกรุที่พระปรางค์ประธานองค์ใหญ่ของวัด โดยเริ่มกันตั้งแต่เวลา 20.00 น.วันที่ 27 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้น

บรรยากาศตอนนั้น จู่ๆ ก็มีลมฝนกระหน่ำอย่างแรงแบบไม่มีเค้า น้ำที่พื้นด้านล่างสูงเกือบถึงหน้าแข้ง เมื่อขึ้นไปถึงชั้นบนของพระปรางค์ก็ใช้ชะแลงงัดเข้าไป และเพื่อนๆ พากันลงไปด้านล่างตรงกลางองค์พระปรางค์ แต่เพื่อนที่ลงไปบอกไม่พบอะไร แต่เมื่อผมลงไปก็มีความรู้สึกว่าแผ่นหินที่เหยียบอยู่นั้น เหมือนเป็นแผ่นศิลาที่ปิดเอาไว้เฉยๆ จึงได้ช่วยกันยกออก ทุกคนก็ต้องตกตะลึงเพราะเมื่อมองลงไปด้านล่างพบว่ามีสิ่งของภาชนะ พระพุทธรูป เครื่องอาภรณ์สีเหลืองอร่ามมากมาย รวมทั้งยังมีพระแสงดาบและมงกุฎ

"เมื่อทุกคนเห็นถึงกับตกใจ เนื่องจากรู้ว่าต้องเป็นของกษัตริย์แน่นอน ผมจึงหยิบเพียงเครื่องทองเล็กๆ น้อยๆ ส่วนเพื่อนๆ แบ่งกันไปจนหมด โดยใช้ถุงแป้งใส่แล้วใช้เชือกโยงขึ้นไปใช้เวลาเกือบ 3 วัน จึงนำสิ่งของออกมาจนหมด ส่วนพระแสงดาบนั้นไม่มีใครเอาไป ทิ้งไว้ที่ต้นไม้ และต่อมาก็ไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา"
นายลิ เปิดเผยอีกว่า ส่วนที่ขนไปได้นั้น บางส่วนถูกนำกลับมาได้หลังจากที่เพื่อนๆ รวม 8 คน ถูกจับกุมในเวลาต่อมา ส่วนที่เหลือนั้นก็ใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก เช่นเดียวกับตน เงินทองที่ได้มาจากการขายสมบัติเหล่านั้น ก็ต้องใช้กับการหลบหนี ในที่สุดเพื่อนๆ ที่เคยร่วมทีมกับตนก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว เหลืออยู่อีกคนชื่อวิ ที่ยังนอนรักษาตัวเจาะคอเพราะพูดไม่ได้

ส่วนตนก็ไปขอขมาและพยายามทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้ เพราะหลังจากขุดเอาของเก่ามาแล้วชีวิตก็ไม่ได้มีความสุขต้องเข้าเรือนจำด้วยเรื่องต่างๆ 7 ครั้ง ครอบครัวก็ไม่มีความสุข เชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่ก้าวล่วงนำของกษัตริย์ไป

สำหรับตัวพระมาลาทองคำที่จัดแสดงอยู่ในอาเซียนอาร์ต มิวเซียม ซานฟรานซิสโกนั้น ศรีศักร วัลลิโภดม นักโบราณคดี บอกว่า ถ้ามองแง่ศิลปะร่วมสมัยกับของที่พบที่กรุวัดราชบูรณะเป็นของรุ่นเดียวกัน ยกเว้นแต่เป็นของปลอม แต่ถ้าปลอมก็ทำได้แนบเนียน ซึ่งถ้าเป็นของจริง จะมีความสำคัญมาก

ที่จริงแล้ว ของอันนี้อยู่ในกรุวัดราชบูรณะคือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) สร้างถวายในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนครินทราชาธิราช พระบิดา พระมาลานี้จึงเป็นของสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่สำคัญองค์หนึ่ง แต่ประวัติศาสตร์จะให้ความสำคัญน้อยอาจารย์ศรีศักรอธิบาย

ด้าน น.ส.สุบงกช ธงทองทิพย์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า พระมาลาทองคำที่จัดแสดงอยู่ที่สหรัฐฯ ขณะนี้เป็นชุดเดียวกับที่ถูกลักลอบขุดไปจากกรุวัดราชบูรณะอย่างแน่นอน โดยดูจากลักษณะลวดลาย แม้ว่าจะมีความแตกต่างของลักษณะรูปแบบ เนื่องจากการใช้สอย

ทั้งนี้ การโจรกรรมหรือลักลอบขุดนั้นเกิดขึ้นในช่วงปี 2499 ซึ่งเป็นช่วงที่กรมศิลปากรเตรียมการบูรณะวัดและโบราณสถานอื่นๆ ซึ่งพระปรางค์ประธานที่ถูกขุดนั้น มีความเชื่อตามหลักฐานว่าเป็นการสร้างของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ที่สร้างถวายเจ้าอ้าย เจ้ายี่

หลักฐานฉบับหลวงประเสริฐ ระบุว่าเป็นการสร้างถวายสมเด็จพระนครินทรา พระมหากษัตริย์ที่ มีชื่อเสียงในสุพรรณภูมิ ซึ่งทรงครองราชย์อยู่ในราว พ.ศ. 1952-1967 ซึ่งพระองค์เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 6 ของกรุงศรีอยุธยา และเป็นกษัตริย์ที่มีการค้าขายกับประเทศจีน จนประเทศจีนมีบันทึกพงศาวดารกล่าวถึงความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาในช่วงดังกล่าวไว้ด้วย จึงเชื่อว่าเป็นของสมเด็จพระนครินทรา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงสร้างพระปรางค์นี้ถวายหลัง พ.ศ.1967 

โดยหลังการสวรรคตก็นำเครื่องราชูปโภค พระแสงดาบ เครื่องมหรรฆภัณฑ์ ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติของพระราชวงศ์ชั้นสูง บรรจุเอาไว้จนมีการมาขุดค้นขโมยไป และติดตามคืนมาได้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งตนก็เห็นว่ามงกุฎกษัตริย์และเครื่องราชูปโภคอีกหลายรายการ ที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์เอกชนในต่างประเทศก็สมควรที่จะทวงกลับมายัง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คิดว่ารัฐบาลคงดำเนินการทวงกลับมาได้ หากได้ทุกชิ้นกลับมาคืนยังพิพิธภัณฑ์ก็จะทำให้เห็นภาพของราชวงศ์กษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยามากขึ้น

สมบัติที่เหลืออยู่ในพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา

เมื่อพูดถึงวัดราชบูรณะแล้ว ก็ต้องพูดถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เพราะที่นี่แหล่งที่เก็บโบราณวัตถุที่ค้นพบในวัดราชบูรณะเอาไว้

พิพิธภัณฑ์ฯ เจ้าสามพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนโรจนะ ตรงข้ามกับสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หากมาจากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยา จากนั้นข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วตรงไปประมาณ 2 ไฟแดง ไปอีกไม่ไกลนักจะเห็นพิพิธภัณฑ์อยู่ทางขวามือ

ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า

 โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่ 

กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาขึ้นเพื่อเก็บรักษาจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุพบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน โดยผู้บริจาคได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2504

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีรูปแบบการจัดแสดงแบบใหม่คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงจำนวนไม่มากจนเกินไปและใช้แสงสีมาทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ

สิ่งสำคัญที่น่าชมภายในพิพิธภัณฑ์ได้แก่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท เป็นพระพุทธรูปศิลาขาวสมัยทวาราวดี ในท่าประทับนั่งห้อยพระบาทซึ่งเคยประดิษฐานในซุ้มพระสถูปโบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม

กรมศิลปากรได้พยายามติดตามชิ้นส่วนต่างๆ ขององค์พระที่กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่างๆ มาประกอบขึ้นเป็นองค์พระได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นพระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่งซึ่งในโลกพบเพียง 6 องค์เท่านั้น คือในประเทศไทย 5 องค์และในประเทศอินโดนีเซีย 1 องค์ ในประเทศไทยอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ 2 องค์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 1 องค์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา 1 องค์และวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 องค์

นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุที่ขุดพบอีกมากมาย โดยเฉพาะที่ขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะรวบรวมไว้ในห้องมหรรฆภัณฑ์ มีเครื่องราชูปโภคทองคำ ทองกร พาหุรัด ทับทรวง เครื่องประดับเศียรสำหรับชายและหญิง พระแสงดาบฝักทองคำประดับพลอยสีต่างๆ เป็นต้น แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาในอดีตไว้อย่างน่าชมน่าศึกษา

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (035) 241587
- มงกุฏทองคำที่เวลานี้จัดแสดงอยู่ที่ซานฟรานซิสโก

- พระเต้าทักษิโณทกทองคำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.7 ซม. สูง 18.5 ซม. ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

- ช้างทรงเครื่องทองคำ ยาว 15.5 ซม.สูง 12 ซม. ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
- พระพุทธรูปที่พบในพระพาหา พระมงคลบพิตร จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

- เครื่องประดับศีรษะสตรีทองคำ ศิลปะอยุธยาถักสานด้วยเส้นทองคำ เป็นเส้นเล็กๆ ทำเป็นลวดลายดอกไม้ใช้ครอบมวยผมเพื่อ ป้องกันเกศาสยาย ได้จากกรุวัดราชบูรณะ

- พระแสงดาบทองคำ ยาว 115 ซม. กว้าง 5.5 ซม. ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
คัดลอกจาก ผู้จัดการออนไลน์2 มีนาคม 2548 21:38 น.