logo

ณัฏฐ์ โดย Nutt Krait

วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560

SR400 ประวัติ

 Yamaha SR 400/500




เปิดตำนาน Yamaha สายพันธุ์ SR 400/500

ทำไมรถรุ่นนี้ถึงได้มีอายุการผลิตที่ยาวนานเกือบ30ปี?ทำไมถึงมีการปรับเปลี่ยนโฉม(Minor Change) ทั้งหมด 21ครั้งตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงปัจจุบัน ทำไมมันถึงไม่ยอมตกยุคหนำซ้ำยังได้รับความกระแสความน ิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มันเป็นเรื่องที่น่าศึกษาและค้นคว้า และนี่คือตำนานYamaha ตระกูล SR 400/500 ได้เริ่มสายการผลิตในครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1978 โดยเริ่มผลิตด้วยรุ่น 500 ก่อน ซึ่งได้ใช้เครื่องยนต์ของรถแนววิบากรุ่นพี่คือ Yamaha XT 500 (เริ่มผลิตปี 1976) เป็นต้นแบบ หลังจากนั้นจึงผลิตรุ่น 400 ตามออกมาด้วยการออกแบบรูปทรงเพื่อสนองความต้องการในยุคสมัยนั้น (ยุครุ่งเรืองของรถมอเตอร์ไซค์จากเมืองผู้ดีอังกฤษ)เครื่องยนต์สี่จังหวะสูบเดียว 400และ500cc. ระบบการไหลเวียนของน้ำมันเครื่องโดยใช้เฟรมของตัวรถ ซึ่งเป็นที่ต้องตาต้องใจวัยรุ่นยุคนั้นอยู่ไม่น้อยเล ยทีเดียว และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ได้มีการปรับเปลี่ยนสีสันลายถัง,โลโก้,ระบบเบร ค เป็นต้น มีการผลิตรุ่น SP ทั้งหมด2รุ่น และ Special Edition ทั้งหมด4ครั้ง ที่เราจะได้มาดูในรายละเอียดกันต่อไป






ข้อมูลทางเทคนิคของ SR 400
เครื่องยนต์แบบ Single สูบเดียว 4จังหวะ โอเวอร์เฮดวาล์ว(OHC) 2 วาล์วต่อสูบ ระบายความร้อนด้วยอากาศ
รหัสเครื่องยนต์ 2H6 (ไม่มีเลขต่อ)/ปี1996-2000 2H6 xxxxxx (มีเลข6หลัก)/ปี 2001 ถึงปัจจุบัน H313E xxxxxx
ความจุกระบอกสูบเท่ากับ 399cc.
ความกว้างกระบอกสูบxความยาวช่วงชักเท่ากับ 87.0x67.2
อัตราส่วนกำลังอัดเท่ากับ 8.5 : 1
แรงม้าที่มีมาให้ใช้ 27 แรงม้า ที่รอบเครื่องยนต์ 7,000 รอบต่อนาที
แรงบิด 3.00 กิโลกรัมเมตร ที่ 6,500 รอบต่อนาที
ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง คาร์บูเรเทอร์
ระบบตัดต่อกำลังแบบ คลัทช์แบบเปียก 8 แผ่นซ้อน
ส่งกำลังผ่าน โซ่และสเตอร์
ระบบจุดระเบิดแบบ CDI
ระบบเบรคหน้า ดรัมเบรค/ดิสเบรค (แล้วแต่รุ่นปี)
ระบบเบรคหลัง ดรัมเบรค




ข้อมูลทางเทคนิคของ SR 500

เครื่องยนต์แบบ Single สูบเดียว 4จังหวะ โอเวอร์เฮดวาล์ว(OHC) 2 วาล์วต่อสูบ ระบายความร้อนด้วยอากาศ
รหัสเครื่องยนต์ 2J2
ความจุกระบอกสูบเท่ากับ 499cc.
ความกว้างกระบอกสูบxความยาวช่วงชักเท่ากับ 87.0x84.0
อัตราส่วนกำลังอัดเท่ากับ
แรงม้าที่มีมาให้ใช้ 32 แรงม้า ที่รอบเครื่องยนต์ 6,500 รอบต่อนาที
แรงบิด 3.70 กิโลกรัมเมตร ที่ 5,500 รอบต่อนาที
ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง คาร์บูเรเทอร์
ระบบตัดต่อกำลังแบบ คลัทช์แบบเปียก 8 แผ่นซ้อน
ส่งกำลังผ่าน โซ่และสเตอร์
ระบบจุดระเบิดแบบ CDI
ระบบเบรคหน้า ดรัมเบรค/ดิสเบรค (แล้วแต่รุ่นปี)ระบบเบรคหลัง ดรัมเบรค




SR ในปี1978

เปิดไลน์การผลิต ด้วยดีไซน์ ถังน้ำมันแบบเรียวยาวและฝาถังยาว โลโก้ข้างถังเป็นแบบสติ๊กเกอร์ เป็นตัวอักษรคำว่า YAMAHA ตัวใหญ่ แบบเรียบ(ลายถังของ400และ500ไม่เหมือนกัน) ส่วนโลโก้ฝาข้างเป็นแบบเรียบเช่นกัน โดยมีตัวอักษรคำว่า SR400 อยู่ในแนวเดียวกัน ปีแรกมีการผลิตรุ่น400และ500cc. ระบบเบรกหน้าเป็นแบบ ดิสค์เบรค โดยอยู่ด้านซ้ายของวงล้อหน้า ไมล์หน้าดำเข็มเหลืองมีตุ่มไฟสีส้มที่กะโหลกไฟหน้า(ไ ม่รู้ว่าใช้บอกอะไร) เท่าที่ดูจากแคตตาล็อค 400มีฝาหลัง(หลังเบาะ)ส่วน500ไม่มีแต่จะมีมือจับเหล็ กสำหรับคนซ้อนจับแทน SR400 ใช้คาร์บูเรทอร์แบบลูกชัก ส่วน SR500 ใช้คาร์บูเรทอร์แบบลูกชักมีเจ็ทสเปรย์



SR ในปี 1979

ปีนี้ YAMAHA ผลิตเฉพาะรุ่น 400/500SP เท่านั้น คือเป็นรุ่นล้อแม็กซ์ 7 ก้าน โดยลักษณะของถังน้ำมัน,ฝาถังและโลโก้ข้างถังยังเป็นแ บบเดิมแตกต่างที่สีสันและลวดลายถัง ส่วนโลโก้ฝาข้างที่เป็นแบบเรียบเหมือนเดิม แต่ตัวอักษร จะเป็น SR400/500SP โดย คำว่า SR จะอยู่เหนือ คำว่า 400SPรุ่นนี้มีทั้งมือจับและฝาท้ายมาให้ทั้ง2รุ่น ส่วนระบบเบรกหน้ายังเป็นเหมือนเดิม ไมล์หน้าดำเข็มเหลือง ตรงกลางระหว่างวัดความเร็วและวัดรอบจะคั่นด้วยแผงไฟบ อกตำแหน่งเกียร์ว่างและไฟเลี้ยว







SR ใน ปี1982

ต้องขอบอกว่าในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ลักษณะของถังน้ำมัน,ฝาถังและโลโก้ข้างถังยังเป็นแบบเ ดิม และลวดลายถังก้อยังเหมือนกับปี79 แต่ปีนี้ผลิตแต่รุ่น400 ออกมาใหม่เท่านั้น (ไม่มีรุ่น500) ส่วนโลโก้ฝาข้างเป็นแบบเรียบเหมือนเดิม โดยมีตัวอักษรคำว่า SR400 อยู่ในแนวเดียวกันเหมือนปี78 ระบบเบรคหน้ายังเป็นดิสค์เหมือนเดิมเช่นกัน ปีนี้ไม่มีฝาหลังมีแต่มือจับ แผงไฟทับทิมสีส้มที่บริเวณด้านข้างของแผงคอล่างจะมีตั้งแต่ปี78จนถึงปีนี้



SR ในปี1983


ปีนี้ YAMAHA ผลิตทั้ง400และ500ทั้งรุ่นธรรมดาและรุ่น SP โดยลักษณะของถังน้ำมันและฝาถังยังเป็นแบบเดิม แต่โลโก้ข้างถังเป็นแบบตัวอักษร YAMAHA ตัวนูนใหญ่มาแทนสติ๊กเกอร์แบบเรียบ และลวดลายถังใหม่ โลโก้ฝาข้างแบบเดิมคือสติ๊กเกอร์แบบเรียบ โดยมีตัวอักษรคำว่า SR400 อยู่ในแนวเดียวกัน ส่วนรุ่นSP ตัวอักษร จะเป็น SR400/500SP โดย คำว่า SR จะอยู่เหนือ คำว่า 400SP ไมล์รุ่นเดิมแบบมีแผงไฟกั้นตรงกลางระหว่างวัดรอบและว ัดความเร็ว และตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปไม่มีแผงทับทิมสีส้มที่บริเ วณด้านข้างของแผงคอล่างแล้ว และไม่ผลิตรุ่นSP อีกแล้วจะเห็นได้ว่ารุ่นล้อแม็กซ์มีแค่ 2 ปีเท่านั้นคือ ปี1979 และ 1983 รุ่นล้อแม็กซ์จึงเป็นรุ่นนึงที่น่าสะสม



SR ในปี1984


ปีนี้ผลิตรุ่น400อย่างเดียว ถังน้ำมันและฝาถังแบบเดิม โลโก้แบบใหม่คือเป็นโลโก้สัญลักษณ์ของ YAMAHA คือ ส้อมเสียบ อยู่เหนือตัวอักษร YAMAHA ตัวเล็ก แบบตัวพลาสติกนูน ลายถังแบบใหม่ ส่วนโลโก้ฝาข้างเป็นแบบ ตัวอักษร SR อยู่เหนือตัวเลข 400 ไมล์ยังคงเป็นแบบเดิม และตั้งแต่ปี78จนถึงปีนี้ใช้ยางปิดที่หัวกระบอกโช๊ค ไม่มียางกันฝุ่นแบบเป็นข้อๆที่ยาวจากแผงคอล่างลงมาปิ ดที่กระบอกโช๊คแบบที่เราเห็นได้บ่อยในรถที่เข้ามาในบ้านเรา




SR ในปี1985


ปีนี้ผลิตทั้งรุ่น400และ500 มีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเปลี่ยนระบบเบรกห น้าเป็นแบบดรัมเบรค(เริ่มตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป) และไมล์เปลี่ยนเป็นแบบหน้าขาว(เห็นได้เยอะมากในบ้านเ รา) ลวดลายถังแบบใหม่มียางกันฝุ่นแบบเป็นข้อๆที่ยาวจากแผ งคอล่างลงมาปิดที่กระบอกโช๊คเริ่มใช้ตั้งแต่ปีนี้ ส่วนถังและฝาถังยังคงเป็นแบบเดิม


SR ในปี1988


ปีนี้ผลิตทั้งรุ่น400และ500 แต่ออกถังน้ำมันรุ่นใหม่คือถังน้ำมันจะอวบอ้วนขึ้นแล ะฝาถังเป็นแบบหอยเชลล์และคาร์บูเรเทอร์แบบผ้าปั๊มได้ เริ่มใช้ตั้งแต่ปีนี้ลวดลายถังเหมือนปี1985 แต่ต่างกันที่ลายฝาท้ายไม่เหมือนกัน







SR ในปี1998


ครบรอบ 20 ปีของSR ในปีนี้YAMAHA จึงได้ผลิตรุ่น 20th ANNIVERSARY ทั้งรุ่น 400 และ 500 โดยได้ทำสีสรรลวดลายและโลโก้เหมือนกับปีเกิดคือปี 1978 แต่ต่างกับปี 78 ตรงที่อุปกรณ์จะเป็นของรุ่นใหม่ไม่ว่าจะเป็นดรัมเบรค หน้าคาร์บูเรเทอร์ถังไมล์






SR ในปี1999

ปีนี้ยังผลิตทั้งรุ่น 400 และ 500 ปรับเปลี่ยนแค่สีสันกับลวดลายนิดหน่อยแต่ลายฝาข้างของรุ่น 500



                                                               
SR ในปี 2000


ปีนี้เป็นปีสุดท้ายของSR 500 ซึ่งระบบเบรกหน้าเป็นแบบดรัมเบรคหลังจากปีนี้ไปไม่ผลิตรุ่น 500 แล้วจนถึงปัจจุบันและก็เป็นรุ่นสุดท้ายที่ใช้ระบบเบร กหน้าเป็นดรัมเบรคหลังจากใช้มาเป็นเวลาถึง 15 ปีติดต่อกัน (เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 1985)







SR ในปี 2001


เป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างสำหรับรถตระกูลSR เริ่มที่ฝาถังน้ำมันเปลี่ยนเป็นแบบกลมหมุนเกลียวเปิด ออกได้เลย (รุ่นเก่าเป็นแบบไขกุญแจแล้วเปิดขึ้นหมุนออกไม่ได้) เลขเครื่องยนต์เปลี่ยนเป็นรหัสใหม่H313E xxxxxx ซึ่งเครื่องยนต์ตัวนี้มีตัวกรองไอเสียด้วยคาร์บูเรเท อร์แบบผ้าปั๊มแต่ปีกผีเสื้อย้ายมาอยู่ด้านขวาระบบเบร กหน้าเป็นแบบดิสค์เบรคโดยจานเบรกจะอยู่ด้านขวาตามสโล แกนคือSR with Disc. และอย่างที่เกริ่นไว้แล้วคือตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปผล ิตเฉพาะรุ่น 400 เท่านั้น




SR ในปี 2002


ปีนี้ตามแคตตาล็อคจะเห็นว่าลูกสูบเคลือบเทฟล่อนบริเว ณหัวลูกสูบและถ้าเป็นรถรุ่นที่เป็นถังสีบรอนซ์เครื่อ งยนต์จะเป็นสีดำตัวนี้น่าจะเป็นความพิเศษของปีนี้




SR ในปี 2003


ฉลองครบรอบอีกแล้ว25ปีแล้วปีนี้มีทั้งรุ่นธรรมดาและSPECIAL EDITION มาดูกันว่ามีอะไรพิเศษบ้างมาเริ่มที่รุ่นธรรมดากันก่อนเริ่มที่กุญแจฝังไมโครชิ ปครับสังเกตุที่หน้าจอของไมล์วัดความเร็วครับจะมีไฟรูปเครื่องยนต์และรูปกุญแจเพิ่มขึ้นมาจากรุ่นก่อนตัวนี้มีข้อห้ามอย่างนึงคือห้ามเอากุญแจสองดอกมาอยู่ติดกันเวลาที่เสียบกุญแจครับระบบมันจะรวนสตาร์ทเครื่องไม่ได้และอย่าให้มันหายเด็ดขาดครับปีนี้เป็นคาร์บูเรเท อร์ไฟฟ้าเชื่อมต่อกับกล่องควบคุมตัดรอบที่ 8,000 รอบเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับเครื่องยนต์ต่อไปมาดูรุ่นSPECIAL EDITION กันอุปกรณ์พื้นฐานเหมือนรุ่นธรรมดาเลยมีเพิ่มที่ สีสันลวดลายตามรูปเลยครับเบาะสีน้ำตาลแบบเล่นโทนสีอ่ อนแก่และตีฟูกลายขวางโลโก้ฝากระเป๋าข้างระบุชัดเจนว่าเป็นรุ่นSPECIAL EDITION เหมือนกับที่แฮนด์ตรงกลางเช่นกันระบุไว้ให้เห็นเด่นชัดแผงคอสีดำคาลิปเปอร์เบรกสีดำและสปริงหลังดำแผ่นกัน หินบริเวณใต้เครื่องชุบโครเมี่ยม




SR ในปี 2004

จุดเด่นของปีนี้ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือออกรุ่นสีขาว(เฟรมดำ) เป็นปีแรกที่มีสีขาวออกจากโรงงานนับตั้งแต่กำเนิดมาน อกนั้นเหมือนรุ่นปีที่แล้ว



SR ในปี 2005


ปีนี้ออกมา 2 รุ่นอีกแล้วรุ่นธรรมดาและ SPECIAL EDITION (ครั้งที่4) เรามาเริ่มกันที่
รุ่นธรรมดาก่อนเด่นชัดที่สุดก้อเป็นตัวถังน้ำมันสีแด งตัดลายขาวสีเฟรมเป็นสีบรอนซ์ครับเป็นครั้งแรกอีกเช่ นกันที่ทำเฟรมสีบรอนซ์รุ่น SPECIAL EDITION ฉลองYAMAHA มีอายุครบ 50 ปี 50th ANNIVERSARY ทำสีสันลวดลายย้อนกลับไปเมื่อปีเกิดอีกครั้ง (197 ไมล์เป็นแบบหน้าดำและคาลิปเปอร์เบรกสีดำตามการคาดเดาว่ารุ่นนี้น่าจะใช้ลูกสูบของรุ่น 500 ด้วย(ไม่มั่นใจเนื่องจากแปลภาษาญี่ปุ่นไม่ได้)


SR ในปี 2006
ปีปัจจุบันออกรุ่น BLACK SPECIAL เป็นรุ่น LIMITED EDITION ปีนี้มีดีที่สีดำมาดูกันว่ามีอะไรบ้างสีสันล วดลายเน้นสีดำตัดเทาโลโก้ถังน้ำมันเป็นตัวอักษรYAMAH A แบบสติกเกอร์เรียบเช่นเดียวกับฝาข้างใช้SR 400 แบบสติกเกอร์เรียบเช่นกัน แฮนด์ , ตุ๊กตาแฮนด์ , แผงคอบน , ไมล์ , โช้คอัพหน้า , คาลิปเปอร์เบรก , วงล้ออลูมิเนียมหน้าหลัง , ดุมล้อหน้าหลังและเครื่องยนต์ล้วนเป็นสีดำตามคอนเซปต์ส่วนรุ่นธรรมดาก้อยังมีผลิตอยู่แต่ยังไม่สามารถหาแคตตาล็อกได้

วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560

อ่าน ครับอย่าคิดว่ารู้แล้ว เรื่องของการเลี่ยมพระ



ก่อนที่จะสั่งช่างเลี่ยมให้เลี่ยมพระสักองค์ สิ่งที่เจ้าของพระควรจะทำความเข้าใจให้ดีก่อนอีกอย่าง
นั่นคือ รูปแบบของการเลี่ยม

เนื่องจากการเลี่ยมกรอบพระนั้น แม้ดูเผิน ๆ ก็เหมือน ๆ กันหมด
แต่ในความเป็นจริงแล้วก็มีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ
ทั้งนี้ นอกจากเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต่างจิตต่างใจ ต่างรสนิยมแล้ว
ก็ยังจำเป็นที่จะต้องเลี่ยมให้เหมาะสมกับองค์พระ หรือพระเครื่องที่มีรูปแบบมากมายหลายร้อยหลายพันชนิดอีกด้วย
เพราะมิใช่ว่าการเลี่ยมพระแบบเดียวกัน จะช่วยให้พระชนิดทุกพิมพ์สวยเหมือนกันได้หมด
เปรียบไปก็เหมือนกับการสั่งตัดเสื้อผ้าล่ะค่ะ รูปร่างของผู้สวมใส่ที่แตกต่างกันไป
ก็จำเป็นต้องเลือกแบบเสื้อผ้าใช้สมกับผู้สวมใส่ด้วย ทั้งชุดและผู้สวมใส่จึงจะดูดีและไปด้วยกันได้

หลายครั้ง ผู้ที่เคยสั่งเลี่ยมพระมาก่อน อาจพบว่าแบบกรอบพระในความคิดของเรา
กับของจริงที่ช่างเลี่ยมประดิษฐ์ออกมาอาจไม่ตรงกันบ่อย ๆ ใช่ไหมคะ?

ทั้งนี้ หนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอันดับหนึ่ง คือ ลูกค้าไม่รู้จัก "ภาษาช่าง" นั่นเอง

โต๊ะช่างจึงขอใช้โอกาสนี้ แนะนำทุกท่านให้รู้จักกับความรู้และศัพท์เบื้องต้น
รวมถึงรูปแบบของการเลี่ยมพระชนิดต่าง ๆ ให้กับทุก ๆ ท่าน ที่สนใจในการเลี่ยมกรอบพระได้ทราบ
เพื่อที่ในอนาคตอันใกล้นี้ หากท่านต้องการจะเลี่ยมพระสักองค์ให้สวยดั่งใจ
ก็จะได้ใช้สื่อสารกับช่างเลี่ยมพระได้อย่างถูกต้อง และได้ผลงานเลี่ยมออกมาถูกใจที่สุดค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------


จับขอบ VS หลังปิด

ก่อนที่เข้าสู่ชนิดของกรอบพระ มีสองสิ่งที่เราควรทำความรู้จักไว้ก่อนค่ะ นั่นคือ
การเลี่ยมแบบ..."จับขอบ" และ การเลี่ยมแบบ..."หลังปิด"

การเลี่ยมแบบจับขอบก็คือการเลี่ยมที่เปิดให้เห็นทั้งด้านหน้าและทางหลังพระ
ทั้งแบบที่มีพลาสติกใสอยู่ทั้งหน้าและหลัง หรือเปิดโล่งเลยก็ตาม
ที่มาของการเรียกว่า"จับขอบ"นั้น เนื่องจากเมื่อเราพิจารณาดูดี ๆ ก็จะเหมือน
การทำกรอบพระเฉพาะขอบโดยรอบ... "จับ" เฉพาะ "ขอบ" นั่นเองค่ะ
พระเลี่ยมกว่า 90% ที่พวกเราพบนั้น สังเกตุได้ว่าเป็นการเลี่ยมแบบจับขอบเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากดีตรงที่ว่าสามารถมองเห็นองค์พระได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังนั่นเอง


ส่วนการเลี่ยมแบบ"หลังปิด"นั้น ชื่อก็บอกตรงตัวเลยล่ะค่ะว่า ปิดข้างหลังด้วย
บางที่จะเรียกกลับคำกันว่า "ปิดหลัง" นั้น ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ความหมายเดียวกันค่ะ
(เช่นเดียวกับที่บางที่เรียก "น้ำปลาพริก" และ "พริกน้ำปลา" นั่นล่ะค่ะ
ไม่ต้องถกเถียงกันให้วุ่นวายว่าใครถูกใครผิด เข้าใจเหมือนกัน เป็นสิ่งเดียวกันก็เป็นอันพอ...)
ทางเทคนิคก็คือ แทนที่แผ่นเงินหรือแผ่นทองที่ปิดด้านหลังจะเป็นเพียงแค่ขอบเล็ก ๆ
ก็กลับกลายเป็นแผ่นเงินแผ่นทองทึบ ปิดด้านหลังองค์พระทั้งหมด
การเลี่ยมแบบปิดหลังนี้เหมาะสำหรับพระเครื่องที่มีด้านหลังองค์พระแบนราบ
และสำหรับการเลี่ยมทอง
เมื่อสั่งเลี่ยมหลังปิดก็จะมีราคาที่สูงขึ้นกว่าการเลี่ยมแบบจับขอบเนื่องจากใช้เนื้อทองที่มากกว่าค่ะ



-------------------------------------------------------------------------------------
รูปแบบของกรอบพระ




1. มาตรฐาน

คือการเลี่ยมกรอบพระโดยทั่วไป ใช้แผ่นเงินแผ่นทองขึ้นเป็นรูปทรงพระและแกะลายเพื่อความสวยงาม
ด้านหลังจะพับปิดแผ่นหลังโดยช่างผู้ชำนาญ ผู้สวมใส่จะไม่สามารถเปิดปิดกรอบชนิดนี้เองได้
ข้อดี คือ ขนาดกรอบจะกระทัดรัด ค่าแรงไม่แพง และใช้เนื้อทองในการเลี่ยมไม่มาก



2. ยกซุ้ม

คือการเลี่ยมกรอบพระแบบที่พิเศษขึ้นมากกว่าการเลี่ยมมาตรฐาน โดยเมื่อขึ้นรูปกรอบพระตามแบบมาตรฐานแล้ว
ช่างเลี่ยมจะเสริมแผ่นเงินแผ่นทองของกรอบพระตรงยอดและฐานด้านหน้าขึ้นมา 2-3 ชั้น
และเลื่อยฉลุเป็นลวดลายต่าง ๆ ได้ตามจินตนาการและความถนัดของช่างเลี่ยมพระแต่ละสำนัก
ส่วนด้านหลังของกรอบจะพับปิดตายเช่นเดียวกันกับกรอบแบบมาตรฐาน
ที่โต๊ะช่าง มีซุ้มให้เลือกอยู่ประมาณ 5 แบบด้วยกัน คือ

2.1 ซุ้มหัวสิงห์
คือแบบซุ้มที่เกือบทุกท่านน่าจะรู้จักและเคยผ่านตางมาบ้าง ถือเป็นแบบยกซุ้มชั้นต้น
ที่ช่างเลี่ยมทุกคนจะต้องเลี่ยมได้ ให้ความสวยแบบคลาสสิก
และได้ความรู้สึกถึงพลังที่น่าเกรงขามแห่งพญาสิงห์


2.2 ซุ้มพิกุล
คือแบบซุ้มที่ดัดแปลงมาจากดอกไม้ไทยเล็ก ๆ ที่สวยเรียบ ทว่าความหอมตราตรึงใจ
ซุ้มพิกุลต้องใช้แผ่นเงินแผ่นทองรวม 3 ชั้นที่ยอดบน นอกจากความแข็งแรงที่ได้รับแล้ว
ยังแฝงเสน่ห์ด้วยเม็ดเกสรกลม ๆ เล็ก ๆ ที่กึ่งกลางกลีบดอกทั้ง 4 อีกด้วย


2.3 ซุ้มดอกบัว
คือซุ้มที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก 2 สิ่งผนวกกัน นั่นคือ
ดอกบัว...ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ ที่เหล่าชาวพุทธใช้บูชาองค์พระรัตนตรัย
และหยดน้ำ...ใสสะอาดที่เกาะบนกลีบบัว บางแห่งจึงเรียกซุ้มแบบนี้ว่า "หยดน้ำ"


2.4 ซุ้มพิกุล-สุโขทัย
คือแบบซุ้มที่ได้แรงบันดาลใจมาจากดอกพิกุล และประยุกต์ศิลปะการเลี่ยมโบราณแบบสุโขทัยผนวกด้วย
จากการเลื่อยฉลุแผ่นเงินแผ่นทองให้เป็นกลีบดอกไม้ ก็กลับกลายเป็นลูกเล่นที่ใช้ขดลวดเงินลวดทอง
เส้นจิ๋ว มาขดเป็นกลีบดอกและไม่ลืมที่จะหยดเกสรเล็ก ๆ อันเป็นเสน่ห์ของดอกพิกุลโบราณ


2.5 ซุ้มบัว-สุโขทัย
คือแบบซุ้มที่ใช้การฝีมืองานเลี่ยมแบบสุโขทัย นำมาประยุกต์ กับงานเลี่ยมภาคกลาง
ใช้ดอกบัวเป็นแบบ จึงได้ผลงานมาเป็นดอกบัวที่เกิดจากการดัดขดลวดเงินลวดทองเส้นน้อย ๆ
ซ้อนด้วยดอกไม้ดัดดอกจิ๋วไว้ตรงกลาง เป็นแบบซุ้มที่หาได้ที่โต๊ะช่างเท่านั้น



3. งานเลี่ยมพิเศษ

คืองานเลี่ยมที่ขึ้นกรอบจากแบบมาตรฐาน
จากนั้นเพิ่มสีสันและลีลาลูกเล่นฝีมือช่างด้วยงานแบบสุโขทัยประยุกต์
ซึ่งผู้ใช้ สามารถเลือกที่จะผสมผสานหลาย ๆ เทคนิคหรือเพียงเทคนิคเดียว
ไว้ในกรอบเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบและแบบทรงขององค์พระค่ะ
กรอบแบบนี้มักจะมีลูกเล่นที่ด้านหน้าและด้านข้าง
ส่วนด้านหลังจะพับปิดตายลักษณะเหมือนกรอบมาตรฐาน

3.1 ไข่ปลา
ช่างเลี่ยมพระจะตัดแบ่งท่อนเงินท่อนทองเป็นท่อนเล็ก ๆ เท่า ๆ กัน
จากนั้น ใช้หัวไฟร้อน ๆ เป่าจี้ แต่ละท่อนให้ละลาย และนำส่วนที่ละลายนั้น
มาแต้มเป็นจุดกลม ๆ เล็ก ๆ ตำแหน่งที่ต้องการ รูปร่างคล้ายไข่ปลา
นิยมเรียงไข่ปลาเป็นสายยาว หรือไข่ปลาสลับท่อน


3.2 ลวดเกลียว
ใช้ลวดเงินลวดทองเส้นเล็กจิ๋ว พันเป็นเกลียวคล้ายเชือก นำมาดัดเป็นเส้นสาย
ตามแบบกรอบทรงต่าง ๆ ได้แทบทุกแบบ


3.3 พิกุล
เกิดจากการนำขดลวดเงินลวดทอง ตัดแบ่งท่อนละประมาณ 6-8 วง
จากนั้นดัดให้เป็นม้วนเป็นกลีบดอก เชื่อมปลายทั้งสองเข้าด้วยกัน และแต้มเกสรเล็ก ๆ ตรงกลาง
เป็นวิชาช่างเลี่ยมโบราณที่สืบทอดต่อกันมาจากครูช่างเลี่ยมโบราณหลายยุคหลายสมัย


3.4 หัวหมุน
มีชื่อเรียกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บ้างเรียก"หัวเม็ดมะยม" บ้างก็เรียก"หัวฟักทอง"
หัวหมุนนี้จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างตัวกรอบและห่วงด้านบน
ลักษณะพิเศษคือสามารถหมุนได้ 180 องศา หรือหมุนได้รอบทิศ แล้วแต่เทคนิค
การติดหัวหมุนจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถแขวนพระเพื่อโชว์ได้ทั้งหน้าและหลัง


3.5 ห่วงจี้
เป็นลูกเล่นที่ช่วยเปลี่ยนจากห่วงกลม ๆ ธรรมดา ๆ ให้น่ามองขึ้น
เป็นงานลูกครึ่งระหว่างช่างเพชร(จิวเวอร์รี่)และช่างเลี่ยมพระ
แบบห่วงจี้ที่นิยมก็มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ เช่น
ห่วงจี้พิกุล ห่วงจี้หูกระต่าย ห่วงจี้ดอกลิส
3.6 การลงยา

การลงยาสำหรับกรอบพระและตลับพระนั้น แบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ลงยาร้อน และ ลงยาเย็น

ยาร้อน เป็นก้อนเล็ก ๆ ก่อนใช้ต้องเอามาบดเป็นผง แตะน้ำเล็กน้อย เอาไปป้ายที่จะลงยา
แล้วใช้ไฟเป่า (ด้วยความชำนาญ) สีนั้นจะละลายติดทอง
ยาเย็น คือเซรามิคชนิดหนึ่ง ใช้ป้ายลงไปบริเวณที่จะลงยา แล้วอบด้วย UV ให้แห้ง ก็เป็นอันใช้ได้
แต่ความทนทาน จะสู้ยาร้อนไม่ได้
สำหรับงานเลี่ยมกรอบพระ ที่โต๊ะช่างจะใช้การลงยาร้อนเท่านั้นค่ะ

ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกบริเวณที่จะลงยาได้เป็น 4 แบบด้วยกัน
ลงยา บน-ล่าง

ลงยา เต็มหน้า

ลงยา หน้า-หลัง (เฉพาะงานเลี่ยมตลับ)
ลงยา เต็มใบ (เฉพาะงานเลี่ยมตลับ)



4. ตลับ
ตลับพระ แทบจะเรียกว่าเป็นเครื่องประดับรุ่นแรกที่บรรพบุรุษไทยประดิษฐ์ขึ้นมา
เพื่อบรรจุพระเครื่องและเครื่องรางของขลังต่าง ๆ เลยก็ว่าได้
ตลับใส่พระในสมัยโบราณ ก็จะมีลักษณะเหมือนตลับแท้ ๆ เลยล่ะค่ะ


หากใครนึกไม่ออก ให้ลองนึกถึงตลับสีผึ้งของคุณย่าคุณยายดู
กล่าวคือ เกิดจากการใช้ฝาเล็ก ๆ 2 ฝาที่สบกันได้สนิท มาประกบเป็นตลับ
จากนั้นจึงเริ่มมีการประยุกต์... เช่น
...ประดิษฐ์หลอดเล็ก ๆ และเดือยที่ช่วยยึดฝาทั้ง 2 น้้นไว้ด้วยกัน
...ใช้ห่วงกลม ๆ มาเชื่อมติดกับตัวตลับเพื่อแขวนพกพา
...และเริ่มมีการเจาะฝาตลับหน้าและหลังเพื่อโชว์องค์พระที่บรรจุอยู่ด้านใน





จนวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยของลูกหลานช่างเลี่ยมยุคหลัง ๆ
ตลับพระจึงมีหน้าตารูปร่างดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน




"ตลับพระ" แตกต่างจาก "กรอบพระ" ตรงที่ว่า ผู้ใช้สามารถเปิดปิดตลับได้เอง
เนื่องจากมีการเพิ่มหลอดและเดือยเล็ก ๆ ยึดฝาตลับทั้งสองด้านเอาไว้
การเลี่ยมตลับนี้เหมาะสำหรับหลาย ๆ กรณี เช่น
...พระเครื่อง หรือ พระสมเด็จ บางเนื้อที่จำเป็นต้องปล่อยให้เนื้อพระสัมผัสกับอากาศบ้าง
...พระเครื่องที่เจ้าของหรือผู้ใช้จะต้องส่องดูเนื้อพระบ่อย ๆ
...หรือแม้แต่ด้วยเหตุผลบางประการกรณีที่เจ้าของพระไม่ต้องการให้พระของตน
ต้องเปลี่ยนมือแม้เพียงชั่วคราว

การเลี่ยมตลับพระก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสม เนื่องจากไม่จำเป็นต้องฝากพระไว้ที่ช่างเลี่ยม
เพียงวาดแบบและขนาดจากองค์พระจริงเอาไว้ ช่างเลี่ยมก็สามารถขึ้นรูปตลับ
ที่สามารถบรรจุพระองค์นั้นได้พอดิบพอดีได้เช่นกัน


5. ตลับพิเศษ (ไข่ปลา ลวดเกลียว พิกุล-สุโขทัย)
เป็นการผนวกการเลี่ยมตลับและการเลี่ยมแบบพิเศษเอาไว้ด้วยกัน
ผู้ใช้จะได้ทั้งความสวยงามไม่ซ้ำแบบใคร จากศิลปะงานเลี่ยมไทยแท้
และความสะดวกในแง่การใช้งานเพราะสามารถเปิดปิดตลับได้ด้วยตนเอง


6. ผ่าหวาย
ผ่าหวายเป็นชื่อเรียกวิธีเลี่ยมพระอีกแบบหนึ่ง
ซึ่งช่างโบราณได้ตั้งชื่อจากลักษณะของกรอบพระที่มีความโค้งยาวไปตลอดเส้น
เหมือนนำเอา "หวาย" (พรรณไม้ชนิดหนึ่งมีลักษณะกลมยาว ลำต้นประกอบด้วยเปลือกเป็นชั้น ๆ )
มาผ่าครึ่งตามแนวยาว จึงเป็นที่ของชื่อเรียกการเลี่ยมชนิดนี้ว่า "ผ่าหวาย"




งานเลี่ยมผ่าหวายเหมาะสำหรับองค์พระที่มีลักษณะ กลม หรือ รี
อย่างไรก็ตามพระที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมเป็นมุมก็สามารถเลี่ยมแบบผ่าหวายได้เช่นกัน
ขึ้นอยู่กับรูปทรงและความพร้อมของเครื่องมือช่าง
การเลี่ยมผ่าหวายนี้ เจ้าของพระจำเป็นต้องทิ้งพระไว้กับช่างเลี่ยมค่ะ เนื่องจากช่างเลี่ยมต้อง
วัดเหลี่ยมมุมและความโค้งจากองค์พระจริงเท่านั้น มิฉะนั้นจะใส่ไม่พอดี
การเลี่ยมแบบผ่าหวายเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานแบบเรียบ ๆ รูปทรงเปรียว ๆ เกลี้ยงและเงา
อย่างไรก็ตามงานผ่าหวายสามารถสั่งเป็นแบบขัดเงาหรือแกะลายก็ได้แล้วแต่ความชื่นชอบของผู้ใช้

ซึ่งสำหรับโต๊ะช่างแล้ว
ผู้ใช้สามารถเลือกแบบ "หัว" ด้านบนของงานเลี่ยมผ่าหวายได้ 3 แบบ ด้วยกัน

6.1 ผ่าหวาย : ธรรมดา


6.2 ผ่าหวาย : หัวจุกครอบ


6.3 ผ่าหวาย : หัวจุกครอบ & ข้าวหลามตัด



7. ครอบแก้ว

งานเลี่ยมครอบแก้ว เป็นงานเลี่ยมที่พัฒนาจากงานผ่าหวายขึ้นไปอีกขั้น
กล่าวคืองานครอบแก้วจะมีเส้นข้างทั้งสองฝั่งคล้ายผ่าหวาย ทว่าที่ฐานของกรอบ
จะมีพื้นที่สำหรับวางองค์พระ และกรอบครอบแก้วสามารถตั้งบนพื้นเรียบได้
เหมาะสำหรับองค์พระรูปหล่อ และการเลี่ยมที่ผู้ใช้ต้องการโชว์องค์พระโดยเฉพาะ
ซึ่งที่ฐานของครอบแก้ว สามารถเลี่ยมได้ 2 แบบ คือ
7.1 การเลี่ยมฐานครอบแก้วแบบพับปิดตาย
7.2 การเลี่ยมแบบมีหลอดสำหรับใส่เดือย กรณีที่ลูกค้าต้องการถอด-ใส่เองได้


8. ยืดฐาน
เป็นงานเลี่ยมที่หน้าออกลูกครึ่ง ระหว่างงานเลี่ยมยกซุ้มและครอบแก้วค่ะ
มีลักษณะกรอบที่เหมือนกรอบยกซุ้มทว่าที่ฐานของกรอบพระทั้งด้านหน้า
ยืดออกมาจากตัวกรอบ (เป็นที่มาของคำว่า "ยืดฐาน") นิยมแต่งขอบฐานเป็นรูปคล้ายดอกบัว
บางแห่งจึงเรียกการเลี่ยมแบบยืดฐานนี้ว่า "ฐานบัว"
ส่วนด้านหลังกรอบพับปิดตาย เหมือนกรอบมาตรฐาน
เหมาะสำหรับพระรูปหล่อที่มีรูปทรงพื้นที่ฐานยืดออกมามากกว่าปกติ
เช่นรูปหล่อพระที่นั่งขัดสมาธิบางพิมพ์




9. ตะกรุด
งานเลี่ยมตะกรุดมีรูปแบบหลัก ๆ อยู่ 2-3 แบบ
ขึ้นอยู่กับทิศทางการแขวน และจำนวนท่อนค่ะ

ตะกรุดห่วงเดี่ยว สำหรับการแขวนแนวตั้ง
ตะกรุดห่วงคู่ สำหรับการแขวนแนวนอน



ตะกรุด หัวท้าย ประกอบด้วยหัวจุก 2 ชิ้น
ตะกรุด 3 ท่อน ประกอบด้วยหัวจุก 2 ชิ้น และท่อนกลาง 1 ชิ้นซึ่งมีห่วงสำหรับแขวนเครื่องรางอื่น ๆ ได้อีก

ลูกเล่นพิเศษของงานเลี่ยมตะกรุดก็สามารถทำได้คล้ายการยุกซุ้มกรอบพระ
นั่นคือผู้ใช้สามาารถเลือกติดหัวสิงห์ ดอกพิกุล ดอกบัว ฯลฯ ไว้ที่หัวจุกตะกรุดได้ด้วย




10. งานเลี่ยมพิเศษ (กระเช้า สาแหรก ฯลฯ)

ทั้งนี้ เครื่องรางอื่นที่มีรูปร่างเฉพาะตัว เช่น แม่พิมพา งาแกะสลัก กุมาร ลูกกรอก ปลัดขิก ฯลฯ
ผู้ใช้ก็สามารถสั่งเลี่ยมหรือให้ช่างออกแบบการเลี่ยมแบบพิเศษได้
เพื่อให้เหมาะกับรูปทรงและการใช้งาน



-------------------------------------------------------------------------------

นอกจากรูปแบบของกรอบพระที่แตกต่างกันแล้ว
สิ่งที่ควรทราบก่อนการเลี่ยมพระก็คือเรื่องของการ "อัดกันน้ำ"

อัดกันน้ำ 3 ชั้น



คือการอัดพลาสติกกันน้ำที่องค์พระโดยใช้พลาสติกหลัก ๆ 3 ชิ้นด้วยกัน
คือพลาสติกแกนกลางที่ใช้ล็อกองค์พระ และอีกสองชิ้นที่อยู่ด้านหน้าและหลังพระ
นำทั้งพลาสติกสามชิ้นมาวางเรียงกัน 3 แล้วสมานติดด้วยน้ำยา
จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก "อัดกันน้ำ 3 ชั้น"
ปัจจุบันนี้ ช่างเลี่ยมพระที่เลี่ยมได้มาตรฐานและช่างเลี่ยมทอง
จะใช้เทคนิคการอัดกันน้ำ 3 ชั้นทั้งหมด
เนื่องจากจะได้ทรงที่สวยงาม แข็งแรง และกันน้ำได้ 100%

อัดกันน้ำ 2 ชั้น
คือการอัดพลาสติกที่ใช้พลาสติกหลักเพียง 2 ชิ้น คือหน้าและหลังมาประกบกัน
แล้วหยอดน้ำยาสมานพลาสติก วิธีนี้แม้จะไม่แข็งแรง สวยงาม และอาจกันน้ำสู้แบบ 3 ชั้นไม่ได้
แต่ก็เหมาะหรับผู้ใช้ที่ต้องการให้ขอบพระด้านข้างเพรียวบางมาก ๆ
หรือการเลี่ยมกรอบทองคำที่ผู้ใช้ต้องการประหยัดเนื้อทองก็อาจใช้วิธีอัดกันน้ำ 2 ชั้นเหมือนกัน

ไม่อัดกันน้ำ



ยกหน้า-ยกหลัง


คือการสั่งเลี่ยมกรอบพระโดยไม่ต้องการให้มีพลาสติกใสเลย เปิดโล่งทั้งหน้าและหลัง
เหมาะสำหรับพระเครื่องเนื้อโลหะ
หากผู้ใช้ต้องการจะรักษาเนื้อพระไม่ให้สึกจากการเสียดสี เทคนิคยกหน้า-ยกหลัง นี้ก็เหมาะ
ก็คือช่างอัดกันน้ำจะเลื่อยแผ่นพลาสติกให้มีรูปร่างเหมือนขอบหน้าและขอบหลังกรอบพระ 2 ชิ้น
ก่อนที่จะวางองค์พระลงไปในกรอบที่เตรียมไว้ก็ใส่ขอบพลาสติกรองหน้าเสียก่อน 1 ชิ้น
พอวางองค์พระลงไปแล้ว ก่อนที่จะพับปิดหลังก็วางขอบพลาสติกรองหลังลงไปอีก 1 ชิ้น
เมื่อพับหลังเสร็จ องค์พระที่มีความนูนความหนาก็จะอยู่ลึกลงไปในกรอบพระได้
ด้วยเพราะมีพลาสติกรองหน้าและหลังป้องกันอยู่ เป็นการป้องกันพระสึกได้อีกวิธี
บางครั้งผู้ใช้จะสั่ง "ยกหน้า-หลังเรียบ" ก็ได้เช่นเดียวกันค่ะ
ช่างอัดกันน้ำก็จะรองขอบพลาสติกเพียงชิ้นเดียวด้านหน้าเท่านั้น
ส่วนด้านหลังก็จะเรียบ ๆ องค์พระจะติดกับกรอบพระไปเลยค่ะ



-----------------------------------------------------------------------------------


Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A


Q : ต้องทิ้งพระไว้ไหม?
A : การเลี่ยมพระให้เนี๊ยบและสมกับองค์พระถ้าจะให้ดีต้องทิ้งพระไว้ที่ช่างค่ะ

แต่ในหลาย ๆ กรณี เจ้าของพระไม่ต้องการให้พระอยู่ห่างตัว จึงมักถามว่า
"เลี่ยมพระนี่... ไม่ต้องทิ้งพระไว้ได้ไหม?"
คำตอบก็คือ... มีทั้ง "ได้" และ "ไม่ได้" อยู่ที่รูปแบบของการเลี่ยมค่ะ
@@ เลี่ยมผ่าหวาย กระเช้า สาแหรก @@

ต้องทิ้งพระไว้เท่านั้นค่ะ การเลี่ยมพิเศษแบบนี้หากไม่ทิ้งพระไว้ให้ช่างเลี่ยมวัด
ก็จะไม่สามารถขึ้นตัวเรือนให้พอดีกับองค์พระได้อย่างแน่นอน


@@ เลี่ยมตลับ @@

สบายมากค่ะ การเลี่ยมตลับนี่เป็นทางออกที่ดีมากสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการทิ้งพระไว้ที่ช่าง
ผู้ใช้สามารถวัดขนาดพระ แล้ววาดลงบนกระดาษ ให้ช่างเลี่ยมขึ้นตลับจากแบบวาดได้เลยค่ะ


@@ เลี่ยมกรอบอัดกันน้ำ @@

การเลี่ยมกรอบพระอัดกันน้ำ เป็นการเลี่ยมที่ต้องเน้นที่ขนาดและทรงขององค์พระมาก ๆ
หากเจ้าของพระสามารถฝากพระไว้ที่ช่างเลี่ยมได้ก็ไม่มีปัญหาค่ะ
แต่หากไม่ต้องการฝากพระไว้ ก็มีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

วิธีแรก ให้ช่างเลี่ยมเปิดพิมพ์บล็อกเอาไว้ วิธีนี้ช่างเลี่ยมจะนำพระองค์จริงมาวัดขนาดพระรวมถึงความหนา
และเปิดแม่พิมพ์ไม้เอาไว้ ผู้สั่งเลี่ยมรอเปิดบล็อกประมาณ 30 นาที เสร็จแล้วสามารถนำพระกลับบ้านได้
ช่างเลี่ยมจะขึ้นกรอบโดยอิงจากแม่พิมพ์นั้น
เมื่อช่างเลี่ยมกรอบพระเสร็จ ผู้สั่งเลี่ยมค่อยก็นำพระมาให้ช่างอัดกันน้ำใส่กรอบอีกครั้ง
ซึ่งระยะเวลาอัดกันน้ำและใส่กรอบก็อยู่ที่ประมาณ 45 นาที ไปจนถึงชั่วโมงกว่า ๆ
แล้วแต่ขนาด รูปทรงพระ และฝีมือช่างค่ะ



วิธีที่สอง วัดขนาดพระ วาดใส่กระดาษเอาไว้
ซึ่งช่างจะขึ้นกรอบตามแบบที่วาด โดยเผื่อขนาดความกว้างและความหนาไว้เล็กน้อย
หลังจากนั้นเมื่อช่างเลี่ยมกรอบพระเสร็จ ผู้สั่งเลี่ยมก็นำพระมาอัดกันน้ำและใส่กรอบเหมือนวิธีแรก
แต่อาจใช้เวลานานกว่าสักเล็กน้อย เนื่องจากต้องรวมเวลาเปิดพิมพ์เข้าไปด้วยค่ะ
วิธีที่สองนี้ แม้กรอบพระที่ได้ขนาดและรูปทรงอาจไม่พอดิบพอดีเท่าการเปิดบล็อก
แต่ก็สะดวกในหลาย ๆ กรณี เช่น ไม่สามารถพกพระมาได้
หรือการสั่งเลี่ยมกรอบพระ กรณีที่ผู้สั่งเลี่ยมอยู่ไกลหรืออยู่ต่างจังหวัด
ก็สามารถวัดขนาดพระและแฟกซ์ส่งมาก่อนได้ค่ะ

วิธีการวัดขนาดพระ วาดลงกระดาษ :


ให้วาดพระโดยทาบพระลงกระดาษ 3 มุม คือ

1. ด้านหน้า : วาดตามทรงให้ชิดหรือใกล้เคียงองค์พระที่สุด
หากเป็นพระรูปลอย ให้คว่ำหน้าพระลง และวาดตาม จะได้ขนาดที่ใกล้เคียงที่สุด


2. ด้านข้าง : จับพระหันข้าง แล้วลากเส้นให้แนบองค์พระทั้งสองฝั่งหน้า-หลัง
เน้นจุดที่หนา(หรือ)นูนที่สุดขององค์พระ


3. ฐาน : หากเป็นพระมีฐาน ให้วางฐานพระบนกระดาษ และวาดเส้นตามรูปฐานพระ





Q : "ค่าซิ" คืออะไร?
A : สำหรับช่างทองทุกแขนง เมื่อเวลาที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแต่ละชิ้น
ทุก ๆ ขึ้นตอนตั้งแต่ต้นสายยันผลงานออกมา เช่น การหลอมทอง การรีดทอง
การเป่าไฟ เลื่อยลาย ตะไบแต่ง แม้แต่การพับหลังกรอบพระนั้น
ล้วนมีละอองทองที่สูญหายไปเสมอ ๆ

อธิบายอีกอย่างได้ว่า สมมติว่าเรามีทองดิบ 1 บาท ก่อนขึ้นตัวเรือน
เมื่อผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ จนได้เป็นตัวเรือน 1 ชิ้น
เมื่อชั่งน้ำหนักตัวเรือนกับเศษทองที่เหลือรวมกันแล้ว
จะหนักไม่ถึง 1 บาท เท่ากับทองดิบเมื่อตอนตั้งต้นหรอกค่ะ



หากช่างทองคิดราคางานทองเฉพาะน้ำหนักผลผลิตเพียว ๆ แล้วล่ะก็...
"ขาดทุน" แน่นอนไม่มีอื่นเลยค่ะ
แล้วถ้าทำไปขาดทุนไป ช่างทองเลี้ยงชีพตนไม่ได้แน่นอน
ดังนั้นช่างทองตั้งแต่ยุคโบราณมาจนปัจจุบันนี้จึงต้องมี "ค่าซิ"
หรือ "ค่าชดเชยทองสูญ" ที่ขาดหายไปในกระบวนการผลิต นำมาคำนวณเป็นต้นทุนด้วยทุกครั้ง
บางแห่งเรียก "ค่าซิ" บ้างก็ "ค่าขาด" ล้วนสื่อความหมายเดียวกันค่ะ