วัตถุมงคลรุ่นคุณพระ เทพประทานพร นี้ จัดสร้างโดยบุญนิธิปริสุทธญาณ โดยกาจัดตั้งของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ และได้ออกใบอนุญาติพิเศษให้จัดสร้าง วัตถุมงคลรุ่นคุณพระ "เทพพิทักษ์" และรุ่นคุณพระ "เทพประทานพร" เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2535 เพื่อจัดหารายได้เข้าสมทบก่อตั้งเป็นกองทุนบุญนิธิปริสุทธญาณขึ้น เพื่อเป็นทุนใช้ในการทำนุบำรุงพระศาสนาสืบไป
วัตถุมงคลรุ่นคุณพระ "เทพประทานพร" นี้ หลวงพ่อได้มีเมตตานั่งสมาธิเป็นแบบให้เป็นครั้งแรกโดยเฉพาะในการทำวัตถุมงคลรุ่นนี้เท่านั้น โดยทุกพิมพ์ที่จัดสร้างเป็นพิมพ์สมาธิจากแบบจริงทั้งสิ้น และจัดสร้างด้วยความปราณีตงดงามอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อันจะเป็นวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งของหลวงพ่อสืบไป วัตถุมงคลรุ่นนี้จึงควรค่าอย่างยิ่งต่อการมีไว้สักการะบูชา และเข้าร่วมสมทบทุนในกองทุนบุญนิธิปริสุทธญาณของหลวงพ่อ
รายการวัตถุมงคลที่จัดสร้างรุ่นคุณพระ "เทพประทานพร"
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
หลวงพ่อคูณ รุ่น คุณพระ เทพประทานพร 2536 (รายละเอียดและจำนวนการจัดสร้าง)
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
พระของขวัญ รุ่น 1-3 ทั้ง 10 พิมพ์
พระเนื้อผง
พระของขวัญวัดปากน้ำ เป็นพระผงองค์เล็กๆ ที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้น มีทั้งหมด 3 รุ่น ด้วยกัน คือ รุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 พระของขวัญแต่ละรุ่นที่ท่านสร้างขึ้นนี้ท่านมิได้ปลุกเสกด้วยคาถาใดๆ เหมือนคณาจารย์อื่นๆ แต่ท่านกระทำให้สำเร็จขึ้นมาด้วยวิธีทำสมาธิภาวนา ตามหลักวิชาธรรมกายของท่าน พระของขวัญที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้นนี้ จึงคงความศักดิ์สิทธิ์ มีคุณานุภาพเป็นที่ประจักษ์แก่ชนโดยทั่วไป การที่หลวงพ่อท่านได้สร้างพระของขวัญขึ้นนี้ ก็เพื่อจะมอบให้เป็นของขวัญแก่ผู้ที่มาทำบุญเพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างโรงเรียนพระประยัติธรรม
ประวัติพระของขวัญ
พระของขวัญ รุ่น 1
พระของขวัญ รุ่น 1 นี้ สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2493 จำนวน 84,000 องค์ ซึ่งเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ โดยที่หลวงพ่อได้ปรารถว่าต้องการที่จะรวบรวมจตุปัจจัยที่ได้ในการนี้ นำมาเพื่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยได้ริเริ่มพิมพ์ขึ้นเมื่อประมาณกลางเดือน 7 ก่อนเข้าพรรษาหนึ่งเดือน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็ได้เริ่มทำพิธีบรรจุพุทธานุภาพตามหลักวิชาธรรมกายด้วยตัวของท่านเองตลอดพรรษา คือในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 รวมสามเดือน และได้เริ่มแจกในวันแรม 6ค่ำ เดิอน 11 ปีเดียวกัน ในอภิรักขิตสมัยคล้ายวันเกิดของท่าน ณ อุโบสถ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หลวงพ่อได้ทำการแจกเรื่อยมา จนกระทั่งหมดลง เมื่อปี พ.ศ. 2497
แม่พิมพ์ รุ่น 1
พระของขวัญ รุ่น 1 นี้ มีแม่พิมพ์ทั้งหมด 10 แม่พิมพ์ เป็นแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นจากทองเหลือง แม่พิมพ์ทองเหลืองนี้ หลวงภูมินาถสนิท (สืบ ดังคะรัตน์)ให้ช่างแกะนำมาถวายหลวงพ่อ เป็นแม่พิมพ์สี่เหลี่ยม ลักษณะขององค์พระทั้ง 10 พิมพ์ จะเหมือนๆ หรือคล้ายๆ กัน แต่จะแตกต่างกันในด้านรายละเอียดของใบหน้า การทอดแขน การวางมือ และส่วนต่างๆ ขององค์พระ
ด้านหน้า พระรุ่น 1
ด้านหลัง พระรุ่น 1
ขนาดขององค์พระทั้ง 10 พิมพ์ จะมีความกว้างประมาณ 1.4 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. และความหนาประมาณ 4-5 มม. พุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระนั่งสมาธิราบ ปางปฐมเทศนา องค์พระนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม พระหัตถ์เบื้องขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) มีลักษณะจีบนิ้วคือ พระดัชนี (นิ้วชี้) กับพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) จดกันเป็นวงกลม พระหัตถ์เลื้องซ้ายวางเหนือพระเพลา (ตัก) ข้างซุ้มทั้งสองด้านมีเส้นม่านเป็นขึดๆ เรียงตามแนวราบ เป็นลำดับลงมา ฐานเป็นบัวคว่ำ-บัวหลายสองชั้น ด้านหลังองค์พระพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า ธรรมขันธ์
ส่วนผสมพระรุ่น 1
พระของขวัญรุ่นที่ 1 นี้ มีส่วนผสมหลายอย่าง ส่วนใหญ่จะเป็นดอกมะลิแห้งซึ่งบดละเอียดดีแล้ว เส้นเกศาของหลวงพ่อ และผงวิเศษที่หลวงพ่อทำขึ้นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อีกตามส่วน โดยได้นำเอาส่วนผสมต่างๆ มาโขลกตำจนละเอียดเข้ากันดีแล้วจึงได้นำมาพิมพ์ แม้ในรุ่น 2 และรุ่น 3 ก็ใช้กรรมวิธีเดียวกัน
เนื้อพระรุ่น 1
พระของขวัญวัดปากน้ำรุ่น 1 นี้ มีทั้งชนิดที่เคลือบทาเชลแล็ก และทั้งชนิดที่ไม่ได้เคลือบทา ส่วนมากจะไม่ได้เคลือบทาไว้ และพระที่เคลือบทาเชลแล็กในรุ่นนี้ ถึงจะมีบ้างก็ส่วนน้อยเท่านั้น สีเนื้อพระโดยทั่วไปจะเป็นสีขาวบ้าง สีนวลบ้าง สีขาวอมเหลืองบ้าง และที่เป็นสีคล้ายสีน้ำตาลเข้มหรืออ่อนๆ ก็มีเหมือนกัน
เนื้อพระส่วนใหญ่ จะฟูยุ่ย ไม่ค่อยแน่นคงทน แต่พระรุ่น 1 ชนิดที่เนื้อแข็งแน่นก็มีด้วยเช่นกัน
คำอธิบายเพิ่มเติม :
พระของขวัญ รุ่น 1 สร้าง ปี พ.ศ. 2493 จำนวน 84,000 องค์ - รุ่น 2 สร้าง ปี พ.ศ. 2494 จำนวน 84,000 องค์ - ทั้งหมดมีด้วยกัน 10 พิมพ์ - ขนาดองค์พระ กว้าง 1.4 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หนาประมาณ 4-6 มม. - พุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระนั่งสมาธิราบ ปางปฐมเทศนา องค์พระนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม ด้านหลังองค์พระเป็นอักขระขอม อ่านว่า ธรรมขันธ์ - ส่วนผสมมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่จะเป็นดอกมะลิแห้งที่บดละเอียดแล้ว เส้นเกศาของหลวงพ่อ และผงวิเศษที่หลวงพ่อทำขึ้นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อีกตามส่วน โดยได้นำเอาส่วนผสมต่างๆ มาโขลกตำจนละเอียดเข้ากันดีแล้วจึงได้นำมาพิมพ์ แม้ในรุ่น 2 และรุ่น 3 ก็มีกรรมวิธีเดียวกัน - สร้างขึ้นเพื่อมอบให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม - เล้ง วัดปากน้ำ เอื้อเฟื้อภาพ *******************************************- พระของขวัญรุ่น 1 พิมพ์ที่ 1 มีจุดสังเกตดังนี้ - เส้นม่านมีข้างละ 13 เส้น - หูข้างขวาขององค์พระจะยาวกว่าข้างซ้าย - ปากเม้ม นูนหนา กว่าพิมพ์อื่นๆ - มีเส้นคอสองเส้น - สังฆาฏิเป็นแผ่นแบน - มีเส้นพิมพ์แตกตรงปลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย - เท้าซ้ายองค์พระจะสั้น กลืนหายไปไม่เห็นฝ่าเท้า
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 2
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 2
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- เส้นม่านมีข้างละ 12 เส้น - เค้าหน้าใหญ่ คางมน - มีเส้นคอสองเส้น - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่สองเส้น - นิ้วหัวแม่มือขวาเป็นเหลี่ยมหักมุม - ลำแขนซ้ายช่วงปลายจะอูมใหญ่ - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 3
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 3
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- เส้นม่าน ซ้ายมือเรา มี 14 เส้น ขวามือ มี 13 เส้น - เส้นไรผมไม่หนาจะเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ - เส้นคอมีสองเส้น - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่สองเส้น - มีเส้นพิมพ์แตกตงปลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 4
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 4
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 13 เส้น - หูทั้งสองข้างกลมยาวใหญ่กว่าพิมพ์อื่น - มีเส้นคอสองเส้นติดพิมพ์ชัดเจน - สังฆาฎิเป็นแผ่นเล็กกว่าพิมพ์อื่น - มือขวาที่ยกขึ้นเป็นง่ามโค้ง - มีเส้นขอบสบงที่เท้าข้างละหนึ่งเส้น - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 5
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 5
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 11 เส้น - ซุ้มจะแบนใหญ่กว่าพิมพ์อื่นๆ - หูซ้ายองค์พระจะยาวชนสังฆาฎิ - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่ - ฝ่ามือซ้ายองค์พระจะยาว - มีเส้นขอบสบงข้างละ 1 เส้น - ฐานเป็นบัวสองชั้น กลีบบัวจะห่างกัน
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 6
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 6
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 11 เส้น - เส้นไรผมโค้งงอน - ปากเผยอยิ้ม - สังฆาฏิเป็นแผ่น - นิ้วมือขวาจะชี้ตั้ง - มีเส้นของสบงข้างละ 1 เส้น - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 7
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 7
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 13 เส้น - ใบหน้าลักษณะเป็นรูปไข่ คางมน - มีเส้นคอ 1 เส้น - สังฆาฏิเป็นแผ่นแบน - มีเส้นพิมพ์แตก ปลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย - เส้นขอบสบงจะหนาเด่น และอยู่ห่างกันชิดมาทางเข่า - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 8
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 8
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- มีเส้นข้างละ 13 เส้น - เค้าหน้ากลมเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ - หูทั้งสองข้างงอนสบัดออก - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่สองเส้น - นิ้วมือขวาจะกางออกยาวกว่าพิมพ์อื่นๆ - หัวเข่าขวาองค์พระเป็นลักษณะกลมนูนใหญ่ - ฐานเป็นบัวสอบชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 9
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 9
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 14 เส้น - เค้าหน้าลักษณะใหญ่ คางมน - หูทั้งสองข้างยาวหนา ปลายสบัดเล็กน้อย - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่สองเส้น - นิ้วหัวแม่มือขวาหักมุมเป็นเหลี่ยม - มีเส้นพิมพ์แตกที่ปลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย ขวา - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 10
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 10
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านซ้ายมือเรามี 13 เส้น ขวามือมี 12 เส้น - หูทั้งสองข้างเป็นแท่งย้อยลงมา - เส้นคอมีสองเส้นใหญ่หนา - สังฆาฎิเป็นแผ่นหนา - มีเส้นขอบสบงที่เท้าข้างละ 1 เส้น - ฐานเป็นบัวสองชั้น
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระเนื้อผงรุ่น 2
ประวัติพระของขวัญ
พระของขวัญวัดปากน้ำ เป็นพระผงองค์เล็กๆ ที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้น มีทั้งหมด 3 รุ่น ด้วยกัน คือ รุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 พระของขวัญแต่ละรุ่นที่ท่านสร้างขึ้นนี้ท่านมิได้ปลุกเสกด้วยคาถาใดๆ เหมือนคณาจารย์อื่นๆ แต่ท่านกระทำให้สำเร็จขึ้นมาด้วยวิธีทำสมาธิภาวนา ตามหลักวิชาธรรมกายของท่าน พระของขวัญที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้นนี้ จึงคงความศักดิ์สิทธิ์ มีคุณานุภาพเป็นที่ประจักษ์แก่ชนโดยทั่วไป การที่หลวงพ่อท่านได้สร้างพระของขวัญขึ้นนี้ ก็เพื่อจะมอบให้เป็นของขวัญแก่ผู้ที่มาทำบุญเพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างโรงเรียนพระประยัติธรรม
พระของขวัญ รุ่น 2
พระของขวัญรุ่น 2 นี้ สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2494 หลังจากที่สร้างพระของขวัญรุ่น 1 ได้เพียงปีเดียว คือ รุ่น 1 สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 รุ่น 2 สร้างขึ้นต่อมาในปี พ.ศ. 2494 จำนวนที่สร้าง 84,000 องค์ สร้างไว้แล้วหลวงพ่อก็ได้ทำพิธีปลุกเสกเรื่อยมาตามหลักวิชาธรรมกายและมาเริ่มแจกในปี พ.ศ. 2497 และได้หมดลงในปี พ.ศ. 2505 คือภายหลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพแล้ว จึงได้หมดลง
ใช้แม่พิมพ์รุ่น 1 ทั้ง 10 พิมพ์ ส่วนผสมก็มีดอกไม้ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกดอกมะลิ เส้นเกศาของหลวงพ่อ ผงวิเศษของหลวงพ่อที่ทำขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งกรรมวิธีและส่วนผสมอย่างเดียวกันกับรุ่น 1 นั้นเอง เนื้อของพระรุ่น 2 นี้ก็ไม่แตกต่างจากรุ่น 1 มีความใกล้เคียงกัน คือเนื้อจะไม่แน่น ฟูยุ่ยพอๆ กัน ดังนั้นในรุ่น 2 นี้ ทางวัดได้เคลือบทาเชลแล็กไว้ทั้งหมด เพื่อรักษาเนื้อพระไว้ให้คงทน ส่วนพิมพ์ต่างๆ ของพระรุ่น 2 ทั้ง 10 พิมพ์นั้นจะไม่นำลงมากล่าวไว้ในที่นี้อีก เพราะใช้แม่พิมพ์เดียวกับพระรุ่น 1 ซึ่งเหมือนกับพระรุ่น 1 ทุกประการ
พระรุ่นตกค้าง
พระรุ่นตกค้าง ก็คือพระรุ่น 1 และรุ่น 2 ที่เรียกว่าตกค้างก็เพราะว่าเหลือ หรือตกค้างอยู่มิได้นำออกมาแจก หลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพแล้วจึงได้นำออกมาแจกในภายหลัง เรื่องก็มีอยู่ว่าพระรุ่นตกค้างนี้เป็นพระที่มีพิมพ์ไม่สมบูรณ์ ไม่สวยงาม พิมพ์จะตื้น หรืออาจบิดเบี้ยวบ้าง ในการแจกพระของขวัญนั้น หลวงพ่อมิได้แจกพระที่ชำรุดเหล่านี้ออกไป ท่านสั่งให้คัดพระเหล่านี้ออกเสียแล้วเก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก มิได้นำไปแจกแก่ประชาชนเพราะเป็นพระที่ไม่สวยงาม ภายหลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพแล้ว จึงได้นำพระจำนวนดังกล่าวออกมาจ่ายแจก คนทั่วไปจึงนิยมเรียกกันต่อมาว่า “รุ่นตกค้าง” และพระรุ่นตกค้างหล่านี้ก็ได้ผ่านการปลุกเสกตามหลักวิชาธรรมกายมาแล้วโดยสมบูรณ์ทุกประการ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระเนื้อผงรุ่น 3
ประวัติพระของขวัญ
พระของขวัญวัดปากน้ำ เป็นพระผงองค์เล็กๆ ที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้น มีทั้งหมด 3 รุ่น ด้วยกัน คือ รุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 พระของขวัญแต่ละรุ่นที่ท่านสร้างขึ้นนี้ท่านมิได้ปลุกเสกด้วยคาถาใดๆ เหมือนคณาจารย์อื่นๆ แต่ท่านกระทำให้สำเร็จขึ้นมาด้วยวิธีทำสมาธิภาวนา ตามหลักวิชาธรรมกายของท่าน พระของขวัญที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้นนี้ จึงคงความศักดิ์สิทธิ์ มีคุณานุภาพเป็นที่ประจักษ์แก่ชนโดยทั่วไป การที่หลวงพ่อท่านได้สร้างพระของขวัญขึ้นนี้ ก็เพื่อจะมอบให้เป็นของขวัญแก่ผู้ที่มาทำบุญเพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างโรงเรียนพระประยัติธรรม
พระของขวัญ รุ่น 3
พระของขวัญรุ่น 3 นี้ หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 มีจำนวน 84,000 องค์ (แปดหมื่นสี่พัน) โดยได้ทำพิธีบรรจุพุทธานุภาพตามหลักวิชาธรรมกาย ด้วยตัวของท่านเองจนกระทั่งตลอดอายุ ภายหลังที่หลวงพ่อได้มรณภาพได้แล้วถึง 3 ปี ทางวัดจึงได้นำพระรุ่น 3 นี้มาออกจำหน่ายจ่ายแจกให้ประชาชนได้เช่าบูชา คือได้เริ่มนำออกแจกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมาจนกระทั่งหมดลงในปี พ.ศ. 2514 เพราะเหตุที่พระของขวัญรุ่น 3 นี้ได้นำออกมาแจกในภายหลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพแล้วนั่นเอง จึงทำให้มีผู้เข้าใจผิดคิดว่าพระรุ่น 3 นี้หลวงพ่อไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้นมาแต่ความจริงนั้นพระของขวัญรุ่น 3 นี้ หลวงพ่อได้สร้างไว้ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่ปี พงศ. 2499 และได้บรรจุพุทธานุภาพตามหลักวิชาธรรมกาย ด้วยตัวของท่านเองตลอดมา
แม่พิมพ์
พระของขวัญรุ่น 3 นี้ในการพิมพ์ระยะแรกนั้นได้ใช้แม่พิมพ์รุ่น 1 ทั้ง 10 พิมพ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังแต่ครั้นพอพิมพ์ไปได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ต้องเปลี่ยนแก้ไขแม่พิมพ์ใหม่ เนื่องจากว่าแม่พิมพ์รุ่น 1 ทั้ง 10 พิมพ์นั้นได้ใช้พิมพ์มามากแล้วถึง 2 รุ่น ด้วยกัน จึงทำให้แม่พิมพ์ดังกล่าวเหล่านี้ตื้นรางเลือนไม่คมชัด ดังนั้นทางวัดโดยมีพระภาวนาโกศลเถร (ธีระ คล้อสุวรรณ) ซึ่งได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อให้เป็นผู้ดำเนินการพิมพ์ในครั้งนั้น ได้นำแม่พิมพ์ดังกล่าวเหล่านี้ไปให้ช่างได้ตบแต่งแก้ไขเซาะพิมพ์ใหม่ เพื่อให้แม่พิมพ์มีความคมชัดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น แม่พิมพ์ที่เซาะแต่งใหม่กับแม่พิมพ์เก่าจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน แม่พิมพ์เก่าที่ใช้พิมพ์ในคราวแรกนั้นมักนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์ตื้น” ส่วนแม่พิมพ์ที่เซาะแต่งขึ้นมาใหม่ มักนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์ลึกหรือพิมพ์นูน” เพราะว่าองค์พระจะนูนเด่นชัดเจน เมื่อกล่าวโดยสรุปแล่วพระของขวัญรุ่น 3 นี้ จึงแยกแม่พิมพ์ออกได้เป็นสองชุดใหญ่ๆ ด้วยด้วยกันคือ
1. แม่พิมพ์ชุดแรก พิมพ์ตื้น (แม่พิมพ์เก่า)
2. แม่พิมพ์ชุดหลัง พิมพ์นูน (แม่พิมพ์แต่งขึ้นใหม่)
แม่พิมพ์ชุดแรก พิมพ์ตื้น
แม่พิมพ์ชุดหลัง พิมพ์นูน
แม่พิมพ์ชุดแรก หรือพิมพ์แรกนี้ใช้แม่พิมพ์รุ่น 1 ทั้ง 10 พิมพ์ ในด้านพิมพ์นั้น จะเหมือนกับพระรุ่น 1 ทุกประการ แต่จะสามารถสังเกตุความแตกต่างกันได้ก็ตรงที่ดูเนื้อและขนาดขององค์พระ ขนาดของพระรุ่น 3 จะเล็กกว่าและตื้นกว่ารุ่น 1
แม่พิมพ์ชุดหลัง หรือพิมพ์หลัง เป็นแม่พิมพ์ที่ได้เซาะแต่งขึ้นใหม่จากตัวแม่พิมพ์เดิม ดังนั้นพิมพ์ทั้งสองชุดนี้รูปร่างลักษณะจึงออกมาต่างกัน พิมพ์ที่เซาะแต่งใหม่นี้องค์พระจะอวบอ้วนสมบูรณ์ นูนเด่นชัดมากซึ่งก็มี 10 พิมพ์เช่นกัน
พุทธลักษณะทั่วไปของพระรุ่น 3 พิมพ์หลังนี้ เป็นพระนั่งสมาธิราบ องค์พระประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม พระหัตถ์ซ้ายขกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ข้างซุ้มทั้งสองด้านมีเส้นม่านเป็นขีดๆ เรียงกันเป็นลำดับลงมา ฐานองค์พระเป็นบัวสองชั้นลักษณะของกลีบบัวจะเป็นเส้นขีดๆ เรียงกัน ด้านหลังองค์พระพิมพ์เป็นอักขระขอมอ่านว่า “ธรรมขันธ์” อักขระด้านหลังนี้ลักษณะของตัวอักขระจะแตกต่างจากรุ่น 1 ขนาดของพระทั้ง 10 พิมพ์นี้จะกว้างประมาณ 1.3 ซม. ยาวประมาณ 1.9 ซม. ความหนาประมาณ 6 มม.
ส่วนผสมและเนื้อ
ส่วนผสมต่างๆ ของพระรุ่น 3 นี้ ก็เป็นอย่างเดียวกันกับรุ่น 1 และรุ่น 2 คือมีดอกมะลิแห้ง กล้วยน้ำว้า เส้นเกศาของหลวงพ่อ น้ำมันตั้งอิ๊ว และอื่นๆ แต่จะสังเกตเห็นได้ว่าเนื้อพระรุ่น 3 นี้ จะแตกต่างจากรุ่น 1 และรุ่น 2 คือ เนื้อพระจะมีความแน่นเหนียวกว่า เพราะได้เพิ่มส่วนผสมต่างๆ ที่เป็นตัวประสานเนื้อไว้มากกว่าเดิม อย่างเช่น น้ำมันตั้งอิ๊ว และกล้วยน้ำว้า เป็นต้น สีของเนื้อพระส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้ คือ
1. สีเหลือง 3. สี่น้ำตาลอ่อน
2. สีขาวนาล 4. สีคล้ำๆ
พระของขวัญรุ่น 3 ที่เป็นพิมพ์แรกนั้น องค์พระจะมีขนาดเล็กว่ารุ่น 1 และรุ่น 2 เล็กน้อย และความหนาบางขององค์พระไม่ว่ารุ่นไหนอาจจะไม่เท่ากันแน่นอนตายตัวทีเดียวนัก ทั้งนี้เป็นเพราะขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการพิมพ์และการหดตัวของเนื้อพระนั่นเอง
พระรุ่น 3 พิมพ์แรก (พิมพ์ตื้น) ทั้ง 10 พิมพ์นั้นจุดสังเกตต่างๆ ของพิมพ์นั้นจะเหมือนกับพระรุ่น 1 ทุกประการ
พระของขวัญ รุ่น 1 นี้ สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2493 จำนวน 84,000 องค์ ซึ่งเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ โดยที่หลวงพ่อได้ปรารถว่าต้องการที่จะรวบรวมจตุปัจจัยที่ได้ในการนี้ นำมาเพื่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยได้ริเริ่มพิมพ์ขึ้นเมื่อประมาณกลางเดือน 7 ก่อนเข้าพรรษาหนึ่งเดือน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็ได้เริ่มทำพิธีบรรจุพุทธานุภาพตามหลักวิชาธรรมกายด้วยตัวของท่านเองตลอดพรรษา คือในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 รวมสามเดือน และได้เริ่มแจกในวันแรม 6ค่ำ เดิอน 11 ปีเดียวกัน ในอภิรักขิตสมัยคล้ายวันเกิดของท่าน ณ อุโบสถ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หลวงพ่อได้ทำการแจกเรื่อยมา จนกระทั่งหมดลง เมื่อปี พ.ศ. 2497
แม่พิมพ์ รุ่น 1
พระของขวัญ รุ่น 1 นี้ มีแม่พิมพ์ทั้งหมด 10 แม่พิมพ์ เป็นแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นจากทองเหลือง แม่พิมพ์ทองเหลืองนี้ หลวงภูมินาถสนิท (สืบ ดังคะรัตน์)ให้ช่างแกะนำมาถวายหลวงพ่อ เป็นแม่พิมพ์สี่เหลี่ยม ลักษณะขององค์พระทั้ง 10 พิมพ์ จะเหมือนๆ หรือคล้ายๆ กัน แต่จะแตกต่างกันในด้านรายละเอียดของใบหน้า การทอดแขน การวางมือ และส่วนต่างๆ ขององค์พระ
ด้านหน้า พระรุ่น 1
ด้านหลัง พระรุ่น 1
ขนาดขององค์พระทั้ง 10 พิมพ์ จะมีความกว้างประมาณ 1.4 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. และความหนาประมาณ 4-5 มม. พุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระนั่งสมาธิราบ ปางปฐมเทศนา องค์พระนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม พระหัตถ์เบื้องขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) มีลักษณะจีบนิ้วคือ พระดัชนี (นิ้วชี้) กับพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) จดกันเป็นวงกลม พระหัตถ์เลื้องซ้ายวางเหนือพระเพลา (ตัก) ข้างซุ้มทั้งสองด้านมีเส้นม่านเป็นขึดๆ เรียงตามแนวราบ เป็นลำดับลงมา ฐานเป็นบัวคว่ำ-บัวหลายสองชั้น ด้านหลังองค์พระพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า ธรรมขันธ์
ส่วนผสมพระรุ่น 1
พระของขวัญรุ่นที่ 1 นี้ มีส่วนผสมหลายอย่าง ส่วนใหญ่จะเป็นดอกมะลิแห้งซึ่งบดละเอียดดีแล้ว เส้นเกศาของหลวงพ่อ และผงวิเศษที่หลวงพ่อทำขึ้นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อีกตามส่วน โดยได้นำเอาส่วนผสมต่างๆ มาโขลกตำจนละเอียดเข้ากันดีแล้วจึงได้นำมาพิมพ์ แม้ในรุ่น 2 และรุ่น 3 ก็ใช้กรรมวิธีเดียวกัน
เนื้อพระรุ่น 1
พระของขวัญวัดปากน้ำรุ่น 1 นี้ มีทั้งชนิดที่เคลือบทาเชลแล็ก และทั้งชนิดที่ไม่ได้เคลือบทา ส่วนมากจะไม่ได้เคลือบทาไว้ และพระที่เคลือบทาเชลแล็กในรุ่นนี้ ถึงจะมีบ้างก็ส่วนน้อยเท่านั้น สีเนื้อพระโดยทั่วไปจะเป็นสีขาวบ้าง สีนวลบ้าง สีขาวอมเหลืองบ้าง และที่เป็นสีคล้ายสีน้ำตาลเข้มหรืออ่อนๆ ก็มีเหมือนกัน
เนื้อพระส่วนใหญ่ จะฟูยุ่ย ไม่ค่อยแน่นคงทน แต่พระรุ่น 1 ชนิดที่เนื้อแข็งแน่นก็มีด้วยเช่นกัน
คำอธิบายเพิ่มเติม :
พระของขวัญ รุ่น 1 สร้าง ปี พ.ศ. 2493 จำนวน 84,000 องค์ - รุ่น 2 สร้าง ปี พ.ศ. 2494 จำนวน 84,000 องค์ - ทั้งหมดมีด้วยกัน 10 พิมพ์ - ขนาดองค์พระ กว้าง 1.4 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หนาประมาณ 4-6 มม. - พุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระนั่งสมาธิราบ ปางปฐมเทศนา องค์พระนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม ด้านหลังองค์พระเป็นอักขระขอม อ่านว่า ธรรมขันธ์ - ส่วนผสมมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่จะเป็นดอกมะลิแห้งที่บดละเอียดแล้ว เส้นเกศาของหลวงพ่อ และผงวิเศษที่หลวงพ่อทำขึ้นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อีกตามส่วน โดยได้นำเอาส่วนผสมต่างๆ มาโขลกตำจนละเอียดเข้ากันดีแล้วจึงได้นำมาพิมพ์ แม้ในรุ่น 2 และรุ่น 3 ก็มีกรรมวิธีเดียวกัน - สร้างขึ้นเพื่อมอบให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม - เล้ง วัดปากน้ำ เอื้อเฟื้อภาพ *******************************************- พระของขวัญรุ่น 1 พิมพ์ที่ 1 มีจุดสังเกตดังนี้ - เส้นม่านมีข้างละ 13 เส้น - หูข้างขวาขององค์พระจะยาวกว่าข้างซ้าย - ปากเม้ม นูนหนา กว่าพิมพ์อื่นๆ - มีเส้นคอสองเส้น - สังฆาฏิเป็นแผ่นแบน - มีเส้นพิมพ์แตกตรงปลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย - เท้าซ้ายองค์พระจะสั้น กลืนหายไปไม่เห็นฝ่าเท้า
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 2
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 2
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- เส้นม่านมีข้างละ 12 เส้น - เค้าหน้าใหญ่ คางมน - มีเส้นคอสองเส้น - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่สองเส้น - นิ้วหัวแม่มือขวาเป็นเหลี่ยมหักมุม - ลำแขนซ้ายช่วงปลายจะอูมใหญ่ - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 3
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 3
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- เส้นม่าน ซ้ายมือเรา มี 14 เส้น ขวามือ มี 13 เส้น - เส้นไรผมไม่หนาจะเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ - เส้นคอมีสองเส้น - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่สองเส้น - มีเส้นพิมพ์แตกตงปลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 4
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 4
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 13 เส้น - หูทั้งสองข้างกลมยาวใหญ่กว่าพิมพ์อื่น - มีเส้นคอสองเส้นติดพิมพ์ชัดเจน - สังฆาฎิเป็นแผ่นเล็กกว่าพิมพ์อื่น - มือขวาที่ยกขึ้นเป็นง่ามโค้ง - มีเส้นขอบสบงที่เท้าข้างละหนึ่งเส้น - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 5
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 5
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 11 เส้น - ซุ้มจะแบนใหญ่กว่าพิมพ์อื่นๆ - หูซ้ายองค์พระจะยาวชนสังฆาฎิ - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่ - ฝ่ามือซ้ายองค์พระจะยาว - มีเส้นขอบสบงข้างละ 1 เส้น - ฐานเป็นบัวสองชั้น กลีบบัวจะห่างกัน
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 6
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 6
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 11 เส้น - เส้นไรผมโค้งงอน - ปากเผยอยิ้ม - สังฆาฏิเป็นแผ่น - นิ้วมือขวาจะชี้ตั้ง - มีเส้นของสบงข้างละ 1 เส้น - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 7
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 7
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 13 เส้น - ใบหน้าลักษณะเป็นรูปไข่ คางมน - มีเส้นคอ 1 เส้น - สังฆาฏิเป็นแผ่นแบน - มีเส้นพิมพ์แตก ปลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย - เส้นขอบสบงจะหนาเด่น และอยู่ห่างกันชิดมาทางเข่า - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 8
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 8
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- มีเส้นข้างละ 13 เส้น - เค้าหน้ากลมเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ - หูทั้งสองข้างงอนสบัดออก - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่สองเส้น - นิ้วมือขวาจะกางออกยาวกว่าพิมพ์อื่นๆ - หัวเข่าขวาองค์พระเป็นลักษณะกลมนูนใหญ่ - ฐานเป็นบัวสอบชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 9
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 9
ราคาที่ให้บูชา :
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านมีข้างละ 14 เส้น - เค้าหน้าลักษณะใหญ่ คางมน - หูทั้งสองข้างยาวหนา ปลายสบัดเล็กน้อย - สังฆาฎิเป็นเส้นคู่สองเส้น - นิ้วหัวแม่มือขวาหักมุมเป็นเหลี่ยม - มีเส้นพิมพ์แตกที่ปลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย ขวา - ฐานเป็นบัวสองชั้น
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 10
ชื่อพระ :
พระของขวัญ รุ่น 1 พิมพ์ที่ 10
คำอธิบายเพิ่มเติม :
- ม่านซ้ายมือเรามี 13 เส้น ขวามือมี 12 เส้น - หูทั้งสองข้างเป็นแท่งย้อยลงมา - เส้นคอมีสองเส้นใหญ่หนา - สังฆาฎิเป็นแผ่นหนา - มีเส้นขอบสบงที่เท้าข้างละ 1 เส้น - ฐานเป็นบัวสองชั้น
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระเนื้อผงรุ่น 2
ประวัติพระของขวัญ
พระของขวัญวัดปากน้ำ เป็นพระผงองค์เล็กๆ ที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้น มีทั้งหมด 3 รุ่น ด้วยกัน คือ รุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 พระของขวัญแต่ละรุ่นที่ท่านสร้างขึ้นนี้ท่านมิได้ปลุกเสกด้วยคาถาใดๆ เหมือนคณาจารย์อื่นๆ แต่ท่านกระทำให้สำเร็จขึ้นมาด้วยวิธีทำสมาธิภาวนา ตามหลักวิชาธรรมกายของท่าน พระของขวัญที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้นนี้ จึงคงความศักดิ์สิทธิ์ มีคุณานุภาพเป็นที่ประจักษ์แก่ชนโดยทั่วไป การที่หลวงพ่อท่านได้สร้างพระของขวัญขึ้นนี้ ก็เพื่อจะมอบให้เป็นของขวัญแก่ผู้ที่มาทำบุญเพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างโรงเรียนพระประยัติธรรม
พระของขวัญ รุ่น 2
พระของขวัญรุ่น 2 นี้ สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2494 หลังจากที่สร้างพระของขวัญรุ่น 1 ได้เพียงปีเดียว คือ รุ่น 1 สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 รุ่น 2 สร้างขึ้นต่อมาในปี พ.ศ. 2494 จำนวนที่สร้าง 84,000 องค์ สร้างไว้แล้วหลวงพ่อก็ได้ทำพิธีปลุกเสกเรื่อยมาตามหลักวิชาธรรมกายและมาเริ่มแจกในปี พ.ศ. 2497 และได้หมดลงในปี พ.ศ. 2505 คือภายหลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพแล้ว จึงได้หมดลง
ใช้แม่พิมพ์รุ่น 1 ทั้ง 10 พิมพ์ ส่วนผสมก็มีดอกไม้ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกดอกมะลิ เส้นเกศาของหลวงพ่อ ผงวิเศษของหลวงพ่อที่ทำขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งกรรมวิธีและส่วนผสมอย่างเดียวกันกับรุ่น 1 นั้นเอง เนื้อของพระรุ่น 2 นี้ก็ไม่แตกต่างจากรุ่น 1 มีความใกล้เคียงกัน คือเนื้อจะไม่แน่น ฟูยุ่ยพอๆ กัน ดังนั้นในรุ่น 2 นี้ ทางวัดได้เคลือบทาเชลแล็กไว้ทั้งหมด เพื่อรักษาเนื้อพระไว้ให้คงทน ส่วนพิมพ์ต่างๆ ของพระรุ่น 2 ทั้ง 10 พิมพ์นั้นจะไม่นำลงมากล่าวไว้ในที่นี้อีก เพราะใช้แม่พิมพ์เดียวกับพระรุ่น 1 ซึ่งเหมือนกับพระรุ่น 1 ทุกประการ
พระรุ่นตกค้าง
พระรุ่นตกค้าง ก็คือพระรุ่น 1 และรุ่น 2 ที่เรียกว่าตกค้างก็เพราะว่าเหลือ หรือตกค้างอยู่มิได้นำออกมาแจก หลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพแล้วจึงได้นำออกมาแจกในภายหลัง เรื่องก็มีอยู่ว่าพระรุ่นตกค้างนี้เป็นพระที่มีพิมพ์ไม่สมบูรณ์ ไม่สวยงาม พิมพ์จะตื้น หรืออาจบิดเบี้ยวบ้าง ในการแจกพระของขวัญนั้น หลวงพ่อมิได้แจกพระที่ชำรุดเหล่านี้ออกไป ท่านสั่งให้คัดพระเหล่านี้ออกเสียแล้วเก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก มิได้นำไปแจกแก่ประชาชนเพราะเป็นพระที่ไม่สวยงาม ภายหลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพแล้ว จึงได้นำพระจำนวนดังกล่าวออกมาจ่ายแจก คนทั่วไปจึงนิยมเรียกกันต่อมาว่า “รุ่นตกค้าง” และพระรุ่นตกค้างหล่านี้ก็ได้ผ่านการปลุกเสกตามหลักวิชาธรรมกายมาแล้วโดยสมบูรณ์ทุกประการ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระเนื้อผงรุ่น 3
ประวัติพระของขวัญ
พระของขวัญวัดปากน้ำ เป็นพระผงองค์เล็กๆ ที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้น มีทั้งหมด 3 รุ่น ด้วยกัน คือ รุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 พระของขวัญแต่ละรุ่นที่ท่านสร้างขึ้นนี้ท่านมิได้ปลุกเสกด้วยคาถาใดๆ เหมือนคณาจารย์อื่นๆ แต่ท่านกระทำให้สำเร็จขึ้นมาด้วยวิธีทำสมาธิภาวนา ตามหลักวิชาธรรมกายของท่าน พระของขวัญที่หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้นนี้ จึงคงความศักดิ์สิทธิ์ มีคุณานุภาพเป็นที่ประจักษ์แก่ชนโดยทั่วไป การที่หลวงพ่อท่านได้สร้างพระของขวัญขึ้นนี้ ก็เพื่อจะมอบให้เป็นของขวัญแก่ผู้ที่มาทำบุญเพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างโรงเรียนพระประยัติธรรม
พระของขวัญ รุ่น 3
พระของขวัญรุ่น 3 นี้ หลวงพ่อพระมงคลเทพมุนีได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 มีจำนวน 84,000 องค์ (แปดหมื่นสี่พัน) โดยได้ทำพิธีบรรจุพุทธานุภาพตามหลักวิชาธรรมกาย ด้วยตัวของท่านเองจนกระทั่งตลอดอายุ ภายหลังที่หลวงพ่อได้มรณภาพได้แล้วถึง 3 ปี ทางวัดจึงได้นำพระรุ่น 3 นี้มาออกจำหน่ายจ่ายแจกให้ประชาชนได้เช่าบูชา คือได้เริ่มนำออกแจกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมาจนกระทั่งหมดลงในปี พ.ศ. 2514 เพราะเหตุที่พระของขวัญรุ่น 3 นี้ได้นำออกมาแจกในภายหลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพแล้วนั่นเอง จึงทำให้มีผู้เข้าใจผิดคิดว่าพระรุ่น 3 นี้หลวงพ่อไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้นมาแต่ความจริงนั้นพระของขวัญรุ่น 3 นี้ หลวงพ่อได้สร้างไว้ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่ปี พงศ. 2499 และได้บรรจุพุทธานุภาพตามหลักวิชาธรรมกาย ด้วยตัวของท่านเองตลอดมา
แม่พิมพ์
พระของขวัญรุ่น 3 นี้ในการพิมพ์ระยะแรกนั้นได้ใช้แม่พิมพ์รุ่น 1 ทั้ง 10 พิมพ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังแต่ครั้นพอพิมพ์ไปได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ต้องเปลี่ยนแก้ไขแม่พิมพ์ใหม่ เนื่องจากว่าแม่พิมพ์รุ่น 1 ทั้ง 10 พิมพ์นั้นได้ใช้พิมพ์มามากแล้วถึง 2 รุ่น ด้วยกัน จึงทำให้แม่พิมพ์ดังกล่าวเหล่านี้ตื้นรางเลือนไม่คมชัด ดังนั้นทางวัดโดยมีพระภาวนาโกศลเถร (ธีระ คล้อสุวรรณ) ซึ่งได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อให้เป็นผู้ดำเนินการพิมพ์ในครั้งนั้น ได้นำแม่พิมพ์ดังกล่าวเหล่านี้ไปให้ช่างได้ตบแต่งแก้ไขเซาะพิมพ์ใหม่ เพื่อให้แม่พิมพ์มีความคมชัดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น แม่พิมพ์ที่เซาะแต่งใหม่กับแม่พิมพ์เก่าจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน แม่พิมพ์เก่าที่ใช้พิมพ์ในคราวแรกนั้นมักนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์ตื้น” ส่วนแม่พิมพ์ที่เซาะแต่งขึ้นมาใหม่ มักนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์ลึกหรือพิมพ์นูน” เพราะว่าองค์พระจะนูนเด่นชัดเจน เมื่อกล่าวโดยสรุปแล่วพระของขวัญรุ่น 3 นี้ จึงแยกแม่พิมพ์ออกได้เป็นสองชุดใหญ่ๆ ด้วยด้วยกันคือ
1. แม่พิมพ์ชุดแรก พิมพ์ตื้น (แม่พิมพ์เก่า)
2. แม่พิมพ์ชุดหลัง พิมพ์นูน (แม่พิมพ์แต่งขึ้นใหม่)
แม่พิมพ์ชุดแรก พิมพ์ตื้น
แม่พิมพ์ชุดหลัง พิมพ์นูน
แม่พิมพ์ชุดแรก หรือพิมพ์แรกนี้ใช้แม่พิมพ์รุ่น 1 ทั้ง 10 พิมพ์ ในด้านพิมพ์นั้น จะเหมือนกับพระรุ่น 1 ทุกประการ แต่จะสามารถสังเกตุความแตกต่างกันได้ก็ตรงที่ดูเนื้อและขนาดขององค์พระ ขนาดของพระรุ่น 3 จะเล็กกว่าและตื้นกว่ารุ่น 1
แม่พิมพ์ชุดหลัง หรือพิมพ์หลัง เป็นแม่พิมพ์ที่ได้เซาะแต่งขึ้นใหม่จากตัวแม่พิมพ์เดิม ดังนั้นพิมพ์ทั้งสองชุดนี้รูปร่างลักษณะจึงออกมาต่างกัน พิมพ์ที่เซาะแต่งใหม่นี้องค์พระจะอวบอ้วนสมบูรณ์ นูนเด่นชัดมากซึ่งก็มี 10 พิมพ์เช่นกัน
พุทธลักษณะทั่วไปของพระรุ่น 3 พิมพ์หลังนี้ เป็นพระนั่งสมาธิราบ องค์พระประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม พระหัตถ์ซ้ายขกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ข้างซุ้มทั้งสองด้านมีเส้นม่านเป็นขีดๆ เรียงกันเป็นลำดับลงมา ฐานองค์พระเป็นบัวสองชั้นลักษณะของกลีบบัวจะเป็นเส้นขีดๆ เรียงกัน ด้านหลังองค์พระพิมพ์เป็นอักขระขอมอ่านว่า “ธรรมขันธ์” อักขระด้านหลังนี้ลักษณะของตัวอักขระจะแตกต่างจากรุ่น 1 ขนาดของพระทั้ง 10 พิมพ์นี้จะกว้างประมาณ 1.3 ซม. ยาวประมาณ 1.9 ซม. ความหนาประมาณ 6 มม.
ส่วนผสมและเนื้อ
ส่วนผสมต่างๆ ของพระรุ่น 3 นี้ ก็เป็นอย่างเดียวกันกับรุ่น 1 และรุ่น 2 คือมีดอกมะลิแห้ง กล้วยน้ำว้า เส้นเกศาของหลวงพ่อ น้ำมันตั้งอิ๊ว และอื่นๆ แต่จะสังเกตเห็นได้ว่าเนื้อพระรุ่น 3 นี้ จะแตกต่างจากรุ่น 1 และรุ่น 2 คือ เนื้อพระจะมีความแน่นเหนียวกว่า เพราะได้เพิ่มส่วนผสมต่างๆ ที่เป็นตัวประสานเนื้อไว้มากกว่าเดิม อย่างเช่น น้ำมันตั้งอิ๊ว และกล้วยน้ำว้า เป็นต้น สีของเนื้อพระส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้ คือ
1. สีเหลือง 3. สี่น้ำตาลอ่อน
2. สีขาวนาล 4. สีคล้ำๆ
พระของขวัญรุ่น 3 ที่เป็นพิมพ์แรกนั้น องค์พระจะมีขนาดเล็กว่ารุ่น 1 และรุ่น 2 เล็กน้อย และความหนาบางขององค์พระไม่ว่ารุ่นไหนอาจจะไม่เท่ากันแน่นอนตายตัวทีเดียวนัก ทั้งนี้เป็นเพราะขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการพิมพ์และการหดตัวของเนื้อพระนั่นเอง
พระรุ่น 3 พิมพ์แรก (พิมพ์ตื้น) ทั้ง 10 พิมพ์นั้นจุดสังเกตต่างๆ ของพิมพ์นั้นจะเหมือนกับพระรุ่น 1 ทุกประการ
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555
เปิดกรุพระ เก่ง การุณ โหสกุล 70 องค์ ราคา 90.5ล้านบาท (ที่ท่านต้องร้อง My GOD !!!!)
เปิดกรุพระ“การุณ โหสกุล”หลวงพ่อดังเพียบ ปั้นราคาองค์เดียว 8 ล้าน
ค้นความจริงปมเงินงอก! เปิดกรุพระเครื่อง“เซียนเก่ง”การุณ โหสกุล 70 องค์ 90.5 ล้าน ฮือฮาหลวงพ่อดังเพียบ สมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรม นางพญา พระรอด พระปิดตาหลวงพ่อแก้วแจ้งสูงสุดองค์เดียว 8 ล้าน
กรณีนายการุณ โหสกุล ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ตอนพ้นจากตำแหน่ง สส. ครบ 1 ปี (ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้ง ปี 2551) เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน เพิ่มขึ้นจากตอนพ้นตำแหน่ง ส.ส. วันที่ 10 พ.ค.2554 จำนวน 108,355943.54 บาท เฉพาะนายการุณเพิ่มขึ้น 109,065,082.26 บาท นางพิมพ์ชนา โหสกุล ภรรยามีเพิ่มขึ้น 3,305,438.72 บาท (ไม่รวมหนี้สิน) ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาคือพระเครื่อง 70 องค์ มูลค่า 90.5 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2555 ได้เดินทางไปตรวจสอบบัญชีฯของนายการุณที่สำนักงาน ป.ป.ช. พบว่า นายการุณได้แสดงรายการพระเครื่องจำนวน 70 องค์ ที่น่าสนใจ อาทิ พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ มีมูลค่าถึง 8,000,000 บาท , พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ มูลค่า 7,000,000 บาท , พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง มูลค่า 6,000,000 บาท และพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม มูลค่า 5,000,000 บาท (ดูตาราง)
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายการุณชี้แจงว่า การยื่นบัญชีทรัพย์สินที่ผ่านมาต่อ ป.ป.ช. ไม่ได้แจ้งมูลค่าพระเครื่อง เพราะมีราคาประเมินค่าไม่ได้ แต่ในการยื่นบัญชีทรัพย์ครั้งล่าสุด (ช่วงพ้นตำแหน่งครบ 1 ปี) ได้จัดระเบียบเรียบเรียงทรัพย์สินใหม่ จึงได้ใส่มูลค่าของพระเครื่องลงไปในบัญชีทรัพย์สิน และยืนยันว่าเป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนหน้านี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายการุณชี้แจงว่า การยื่นบัญชีทรัพย์สินที่ผ่านมาต่อ ป.ป.ช. ไม่ได้แจ้งมูลค่าพระเครื่อง เพราะมีราคาประเมินค่าไม่ได้ แต่ในการยื่นบัญชีทรัพย์ครั้งล่าสุด (ช่วงพ้นตำแหน่งครบ 1 ปี) ได้จัดระเบียบเรียบเรียงทรัพย์สินใหม่ จึงได้ใส่มูลค่าของพระเครื่องลงไปในบัญชีทรัพย์สิน และยืนยันว่าเป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนหน้านี้แล้ว
ตารางแสดงราคา “พระเครื่อง” ของ การุณ โหสกุล ที่แจ้ง ป.ป.ช.
ลำดับที่
|
ชื่อ
|
ราคา
|
1.
| พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ |
8,000,000 บาท
|
2.
| พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ |
7,000,000 บาท
|
3.
| พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง |
6,000,000 บาท
|
4.
| พระรอด พิมพ์ใหญ่ วัดมหาวัน |
6,000,000 บาท
|
5.
| พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม |
5,000,000 บาท
|
6.
| พระกรุซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก |
4,500,000 บาท
|
7.
| พระรอดกรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ |
4,000,000 บาท
|
8.
| เหรียญหลวงปู่ทิม เนื้อทองคำ วัดระหารไร่ ปี 2517 |
4,000,000 บาท
|
9.
| เหรียญหลวงปู่ทวด เนื้อทองคำ รุ่น 3 วัดช้างให้ ปี 2506 |
3,000,000 บาท
|
10.
| พระสมเด็จบางขุนพรม พิมพ์ฐานแซม |
3,000,000 บาท
|
11.
| พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา วัดบางคลาน |
3,000,000 บาท
|
12.
| พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา วัดบางคลาน |
3,000,000 บาท
|
13.
| พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตุม |
3,000,000 บาท
|
14.
| พระสมเด็จบางขุนพรม พิมพ์อกครุฑ |
2,500,000 บาท
|
15.
| เหรียญหลวงพ่อโสธร เนื้อเงิน ปี 2460 |
2,000,000 บาท
|
16.
| เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ปี 2469 |
2,000,000 บาท
|
17.
| เหรียญหลวงพ่อโสธร เนื้อทองแดง ปี 2460 |
2,000,000 บาท
|
18.
| เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม ปี 2488 |
1,800,000 บาท
|
19.
| ตะกรุด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง |
1,500,000 บาท
|
20.
| พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง |
1,500,000 บาท
|
21.
| พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม พิมพ์เล็ก วัดสะพานสูง |
1,500,000 บาท
|
22.
| พระผงยาจินดามณีหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว |
1,500,000 บาท
|
23.
| พระหลวงปู่บุญ รุ่นเจ้าสัวเนื้อทองแดง วัดกลางบางแก้ว |
1,500,000 บาท
|
24.
| รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 2515 |
900,000 บาท
|
25.
| พระรูปหล่อหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ปี 2482 |
800,000 บาท
|
26.
| เขี้ยวเสือแกะหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน |
700,000 บาท
|
27.
| เหรียญช้างสามเศียร ร.5 เนื้อเงิน |
500,000 บาท
|
28.
| พระบูชา สมัยลพบุรี หน้าตัก 7 นิ้ว |
500,000 บาท
|
29.
| พระหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พิมพ์ปะภามนฑล ปี 2460 |
500,000 บาท
|
30.
| พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน พิมพ์พระรอด วัดช้างให้ ปี 2497 |
500,000 บาท
|
31.
| พระกริ่งหลวงพ่อทิม เนื้อทองคำ วัดระหารไร่ ปี 2518 |
500,000 บาท
|
32.
| หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง ปี 2460 |
500,000 บาท
|
33.
| เหรียญกรมหลวงชุมพร เนื้อเงิน |
500,000 บาท
|
34.
| พระรูปหล่อหลวงพ่อเดิม วัดหนองหลวง ปี 2470 |
500,000 บาท
|
35.
| พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่นิยม วัดช้างให้ ปี 2505 |
400,000 บาท
|
36.
| พระกริ่งหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ปี 2454 |
400,000 บาท
|
37.
| เหรียญหลวงปู่ช่วง วัดวังแพรกใต้ ปี 2488 |
300,000 บาท
|
38.
| พระรูปหล่อหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ปี 2485 |
300,000 บาท
|
39.
| พระรูปหล่อหลวงพ่อพรม วัดช่องแค รุ่นกันระฆัง ปี 2516 |
300,000 บาท
|
40.
| พระสมเด็จบางขุนพรม พิมพ์ปรกโพธิ ปี 2509 |
300,000 บาท
|
41.
| พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ วัดช้างให้ ปี 2509 |
300,000 บาท
|
42.
| พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงปลา วัดบางนมโค |
300,000 บาท
|
43.
| พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองเหลือง วัดช้างให้ ปี 2505 |
250,000 บาท
|
44.
| พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงครุฑใหญ่ |
250,000 บาท
|
45.
| พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม พิมพ์ใหญ่นิยม วัดสะพานสูง |
250,000 บาท
|
46.
| เหรียญไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศ ปี 2495 |
250,000 บาท
|
47.
| พระกริ่ง คลองตะเคียน |
250,000 บาท
|
48.
| พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ วัดช้างให้ ปี 2505 |
250,000 บาท
|
49.
| แพะเขาความแกะ หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก |
250,000 บาท
|
50.
| พระปิดตา เนื้อเกษร หลวงปู่โต๊ะ วัดปรดู่ฉิมพลี |
200,000 บาท
|
51.
| พระหลวงปู่ทวด พิมพ์เล็ก วัดช้างให้ ปี 2505 |
200,000 บาท
|
52.
| เหรียญหลวงปู่ไข่ เนื้อทองคำ วัดบพิตพิมุข ปี 2514 |
200,000 บาท
|
53.
| พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศ ปี 2495 |
200,000 บาท
|
54.
| หลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ หลังหนังสือ วัดช้างให้ ปี 2505 |
200,000 บาท
|
55.
| เหรียญหลวงพ่อสำริต วัดเขาสมอคร |
180,000 บาท
|
56.
| พระหลวงปู่ทวด พิมพ์เล็ก วัดช้างให้ ปี 2505 |
180,000 บาท
|
57.
| เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปี 2502 |
150,000 บาท
|
58.
| พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงไก่ วัดบางนมโค |
150,000 บาท
|
59.
| เหรียญหลวงพ่อเงิน พิมพ์จอบใหญ่ วัดบางคลาน ปี 2515 |
150,000 บาท
|
60.
| พระกริ่งเนื้อทองคำ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ |
150,000 บาท
|
61.
| เหรียญหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ รุ่นเจริญพร ปี 2517 |
120,000 บาท
|
62.
| พระหลวงปู่ทวด หลังตัวหนังสือ พิมพ์เล็ก วัดช้างให้ |
100,000 บาท
|
63.
| พระหลวงพ่อโสธร รุ่นวงแหวน ปี 2497 |
100,000 บาท
|
64.
| พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่น ช วัดบางคลาน |
80,000 บาท
|
65.
| พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ ป๊มซ้ำ วัดช้างให้ ปี 2505 |
80,000 บาท
|
66.
| พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงไก่ วัดบางนมโค |
70,000 บาท
|
67.
| พระหลวงปู่ทวด เนื้อขาว วัดปราสาท ปี 2509 |
50,000 บาท
|
68.
| หลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงครุฑ วัดบางนมโค |
50,000 บาท
|
69.
| พระกรุวัดชายทุ่ง เนื้อตะกั่ว |
40,000 บาท
|
70.
| เหรียญหลวงพ่อเงิน ปี 2515 วัดบางคลาน |
25,000 บาท
|
วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555
หลวงพ่อเงิน 2515
พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
วงการพระเครื่องในทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่า พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ที่สร้างในสมัยหลวงพ่อเงินยังมีชีวิตอยู่ มีสนนราคาเช่าหาที่แพงที่สุด ในบรรดาพระรูปหล่อของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีตด้วยกัน รวมทั้งเหรียญหล่อโบราณ พิมพ์จอบเล็ก และพิมพ์จอบใหญ่ ซึ่งตลาดพระมีของหมุนเวียนเปลี่ยนมือกันไม่บ่อยนัก เพราะมีจำนวนสร้างไม่มาก แต่มีการเช่าหาที่แพงเป็นหลักแสนหลักล้านขึ้นไป
ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใส พระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ในระดับชาวบ้านทั่วๆ ไป ที่มิใช่เศรษฐีผู้มีเงินเหลือกินเหลือใช้ จึงมองหา พระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ที่สร้างในยุคหลังต่อมา หลังจากที่ท่านได้มรณภาพในปี 2462 ซึ่งมีการจัดสร้างกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นวัดที่ท่านเคยพำนักจำพรรษามาก่อน หรือวัดอื่นๆ ในละแวก จ.พิจิตร หากจะสร้างวัตถุมงคลให้ชาวบ้านทำบุญบูชา ก็สร้าง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร เท่านั้น ถึงจะมีผู้สนใจเช่าหา อันจะส่งผลให้วัดที่สร้างได้ปัจจัยทำบุญตามความประสงค์ต่อไป
ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใส พระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ในระดับชาวบ้านทั่วๆ ไป ที่มิใช่เศรษฐีผู้มีเงินเหลือกินเหลือใช้ จึงมองหา พระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ที่สร้างในยุคหลังต่อมา หลังจากที่ท่านได้มรณภาพในปี 2462 ซึ่งมีการจัดสร้างกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นวัดที่ท่านเคยพำนักจำพรรษามาก่อน หรือวัดอื่นๆ ในละแวก จ.พิจิตร หากจะสร้างวัตถุมงคลให้ชาวบ้านทำบุญบูชา ก็สร้าง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร เท่านั้น ถึงจะมีผู้สนใจเช่าหา อันจะส่งผลให้วัดที่สร้างได้ปัจจัยทำบุญตามความประสงค์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการสร้างพระหลวงพ่อเงิน ในสมัยต่อมามากมายหลายรุ่น แต่พระดีดีที่ได้รับความศรัทธานิยมจากชาวบ้าน เพราะมีประสบการณ์มากมาย และโด่งดังสุดๆ ก็คือ พระหลวงพ่อเงิน ที่สร้างในปี 2515 หรือที่วงการพระเรียกกันสั้นๆ ว่า "พ่อเงินปี 15"
การจัดสร้างพระหลวงพ่อเงินในครั้งนั้น ถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนักในเมืองไทย ที่ต้องจารึกไว้ในความทรงจำจนทุกวันนี้
ทั้งนี้เพราะการจัดสร้าง พระเครื่อง หลวงพ่อเงิน รุ่น ปี 2515 นั้น มีจุดเด่นดีอยู่หลายประการ อาทิ เจตนาการสร้างดี เนื้อหามวลสารดี รูปแบบสวยงาม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิธีการดี ถูกต้องตามตำรับตำราโบราณทุกอย่าง จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านโดยทั่วไป
เหรียญปั๊มพิมพ์จอบใหญ่ เรียกกันว่า
เหรียญจอบใหญ่หลวงพ่อเงินบางคลาน
กล่าวสำหรับ ขั้นตอนการจัดสร้าง พระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 2515 มีความยุ่งยากพอสมควร โดยมีถึง 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1. ชนวนโลหะ ถือว่าสุดยอด คือ แผ่นทองเหลืองแผ่นทองแดงที่พระคณาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศ ได้รวมพลังอธิษฐานจิต ลงจารอักขระเลขยันต์ต่างๆ และปลุกเสกมาจากวัดของแต่ละท่าน เป็นอย่างดีมาก่อนนำมามอบให้คณะกรรมการผู้จัดสร้าง หลังจากนั้นจึงได้นำมาหล่อหลอมเป็นแผ่นโลหะ ก่อนนำมาเข้าพิธีในครั้งที่ 2
1. ชนวนโลหะ ถือว่าสุดยอด คือ แผ่นทองเหลืองแผ่นทองแดงที่พระคณาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศ ได้รวมพลังอธิษฐานจิต ลงจารอักขระเลขยันต์ต่างๆ และปลุกเสกมาจากวัดของแต่ละท่าน เป็นอย่างดีมาก่อนนำมามอบให้คณะกรรมการผู้จัดสร้าง หลังจากนั้นจึงได้นำมาหล่อหลอมเป็นแผ่นโลหะ ก่อนนำมาเข้าพิธีในครั้งที่ 2
2.สถานที่ประกอบพิธีปลุกเสก มีความศักดิ์สิทธิ์ และการปลุกเสกก็สุดยอดเข้มขลัง โดยครั้งแรกเป็นการปลุกเสกแผ่นโลหะลงอักขระ ซึ่งได้จากการหลอมแล้ว (จากแผ่นโลหะลงจารที่ได้จากขั้นตอนที่ 1) โดยพระเกจิอาจารย์ 74 รูป จากทั่วประเทศ โดยทำพิธีที่วัดสุทัศนฯ และได้มอบแผ่นโลหะเหล่านั้นให้โรงงาน นำไปจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล พระหลวงพ่อเงินทั้งหมด
3.พิธีปลุกเสก เมื่อโรงงานได้สร้างวัตถุมงคล พระเครื่องหลวงพ่อเงินชนิดต่างๆ (จากขั้นตอนที่ 2) ครบถ้วนแล้ว ได้จัดพิธีปลุกเสกขึ้นที่วัดสุทัศนฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2514 โดยพระคณาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศ 127 รูป ตามตำรับวัดสุทัศนฯ ซึ่งถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และโด่งดังในการสร้างพระเนื้อโลหะมาแต่โบราณกาล รวมทั้งฤกษ์ผานาทีที่ได้กำเนิดขึ้นอย่างถูกต้อง ไม่มีผิดเพี้ยน
3.พิธีปลุกเสก เมื่อโรงงานได้สร้างวัตถุมงคล พระเครื่องหลวงพ่อเงินชนิดต่างๆ (จากขั้นตอนที่ 2) ครบถ้วนแล้ว ได้จัดพิธีปลุกเสกขึ้นที่วัดสุทัศนฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2514 โดยพระคณาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศ 127 รูป ตามตำรับวัดสุทัศนฯ ซึ่งถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และโด่งดังในการสร้างพระเนื้อโลหะมาแต่โบราณกาล รวมทั้งฤกษ์ผานาทีที่ได้กำเนิดขึ้นอย่างถูกต้อง ไม่มีผิดเพี้ยน
4.ปลุกเสกที่วัดหลวงพ่อเงิน เมื่อเสร็จพิธีปลุกเสกจากวัดสุทัศนฯ แล้ว ได้มีการนำพระหลวงพ่อเงินทั้งหมดกลับวัดบ้านเกิดของท่าน คือ วัดบางคลาน เพื่อทำพิธีปลุกเสกครั้งสุดท้าย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2515 โดยได้นิมนต์พระคณาจารย์จากทั่วประเทศ ร่วมบริกรรมปลุกเสก ตามพิธีกรรมแบบโบราณตลอดทั้งคืน เริ่มตั้งแต่ 4 โมงเย็น ไปจนถึง 6 โมงเช้า โดยได้แบ่งพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสกเป็นชุด ชุดละ 16 รูป จำนวน 6 ชุด รวม 96 รูป โดยปลุกเสกชุดละ 2 ชั่วโมง สลับกันไป อย่างไม่มีหยุดพัก มีทั้งนั่งปรก บริกรรมภาวนา สวดพระคาถามหาทิพย์มนต์ พระคาถาพุทธาภิเษก และพระคาถาภาณวาร เป็นต้น
รุ่งเช้า วันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2515 เป็นการฉลองสมโภชเพื่อความเป็นสิริมงคล อันเป็นการเสร็จพิธีอย่างครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด หลังจากนั้น ถึงได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สั่งจองรับวัตถุมงคลพระเครื่องหลวงพ่อเงินได้ทันที
รายการพระหลวงพ่อเงิน ที่จัดสร้างในปี 2515 ประกอบด้วย
1.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน ขนาดบูชา 5 นิ้ว จำนวน สร้าง 1,000 องค์
2.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน ขนาดบูชา 3 นิ้ว จำนวนสร้าง 1,000 องค์
3.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน พิมพ์ลอยองค์ บรรจุกริ่ง เนื้ออัลปาก้า จำนวนสร้าง 5,000 องค์
4. พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน พิมพ์ลอยองค์ บรรจุกริ่ง เนื้อทองเหลือง จำนวนสร้าง 5,000 องค์ (แบ่งพิมพ์ทรง ตามมาตรฐานทั้ง 2 เนื้อ มีด้วยกัน 3 พิมพ์ทรง คือ 1.พิมพ์คอแอล (L) 2.พิมพ์เลขแปด 3.พิมพ์มือมีจุด)
5.เหรียญปั๊ม พิมพ์จอบใหญ่ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จำนวนสร้าง 10,000 เหรียญ
6.เหรียญปั๊ม พิมพ์จอบเล็ก จำนวนสร้าง 10,000 เหรียญ (แบ่งพิมพ์ทรงตามมาตรฐาน มี 2 พิมพ์ คือ 1.พิมพ์แขนขาด 2.พิมพ์แขนเต็ม)
7.เหรียญขวัญถุงหลวงพ่อเงิน เนื้อกะไหล่ทอง จำนวนสร้าง 5,000เหรียญ และ เนื้อกะไหล่เงิน 5,000 เหรียญ
รายการพระหลวงพ่อเงิน ที่จัดสร้างในปี 2515 ประกอบด้วย
1.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน ขนาดบูชา 5 นิ้ว จำนวน สร้าง 1,000 องค์
2.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน ขนาดบูชา 3 นิ้ว จำนวนสร้าง 1,000 องค์
3.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน พิมพ์ลอยองค์ บรรจุกริ่ง เนื้ออัลปาก้า จำนวนสร้าง 5,000 องค์
4. พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน พิมพ์ลอยองค์ บรรจุกริ่ง เนื้อทองเหลือง จำนวนสร้าง 5,000 องค์ (แบ่งพิมพ์ทรง ตามมาตรฐานทั้ง 2 เนื้อ มีด้วยกัน 3 พิมพ์ทรง คือ 1.พิมพ์คอแอล (L) 2.พิมพ์เลขแปด 3.พิมพ์มือมีจุด)
5.เหรียญปั๊ม พิมพ์จอบใหญ่ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จำนวนสร้าง 10,000 เหรียญ
6.เหรียญปั๊ม พิมพ์จอบเล็ก จำนวนสร้าง 10,000 เหรียญ (แบ่งพิมพ์ทรงตามมาตรฐาน มี 2 พิมพ์ คือ 1.พิมพ์แขนขาด 2.พิมพ์แขนเต็ม)
7.เหรียญขวัญถุงหลวงพ่อเงิน เนื้อกะไหล่ทอง จำนวนสร้าง 5,000เหรียญ และ เนื้อกะไหล่เงิน 5,000 เหรียญ
เหรียญจอบเล็ก หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 2515
นอกจากนี้ยังมี พระเนื้อดิน พิมพ์พระเจ้า 5 พระองค์ และพิมพ์นางพญา จำนวนสร้างรวมทั้งหมดประมาณ 84,000 องค์ โดยแบ่งให้เช่าจำนวนหนึ่ง และบรรจุกรุในองค์เจดีย์อีกจำนวนหนึ่ง
แหวน สำหรับผู้ชายและผู้หญิง จำนวนสร้าง 2,000 วง และ เหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อเงิน ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อเปรื่อง และด้านหลังเป็นพระรูปเหมือนเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ จำนวนสร้างรวมกันประมาณ 10,000 เหรียญ
แหวน สำหรับผู้ชายและผู้หญิง จำนวนสร้าง 2,000 วง และ เหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อเงิน ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อเปรื่อง และด้านหลังเป็นพระรูปเหมือนเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ จำนวนสร้างรวมกันประมาณ 10,000 เหรียญ
ทุกวันนี้ พระหลวงพ่อเงิน ปี 2515 ทุกพิมพ์ได้รับความศรัทธาสนใจจากนักสะสมพระสายนี้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากพระหลวงพ่อเงินรุ่นเก่า ที่ทันหลวงพ่อเงินปลุกเสกนั้น มีสนนราคาเช่าหาองค์หนึ่งเป็นแสนเป็นล้านขึ้นไป สุดวิสัยที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปจะไขว่คว้าหามาสักการบูชาได้ ผู้ที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินจริงๆ จึงหันมาเช่าหา พระหลวงพ่อเงิน ปี 2515 มาใช้ทดแทน
นอกจากนี้ ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ พระหลวงพ่อเงิน ปี 2515 มีผู้แสวงหากันมาก คือ อานุภาพความขลังความศักดิ์สิทธิ์ ที่ก่อเกิดประสบการณ์เป็นเลิศในทุกด้าน...อยู่เสมอๆ นั่นเอง ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)