ชามกาไก่
ชามไก่ “ ชามไก่ ” หรือที่คนแต้จิ๋วเรียก “ โกยอั้ว ” และที่ปัจจุบันนิยมเรียก “ ชามตราไก่ ” นั้น มีประวัติ ความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งในประเทศไทยเป็นที่นิยมใช้สำหรับใส่ข้าวต้มรับประทาน โดยเฉพาะในหมู่คนจีนแต้จิ๋ว ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจากรูปไก่สีแดง และลักษณะของชามที่เหมาะกับการใช้ ตะเกียบพุ้ย
ลักษณะของชามไก่ ชามไก่ในยุคแรก เป็นชามทรงแปดเหลี่ยมเกือบกลมปากบาน ข้างชามด้านนอกมีรอยบุบเล็กน้อยรับกับ เหลี่ยมของชาม ขาเป็นเชิง ชุบเคลือบขี้เถ้า วาดลวดลายบนเคลือบด้วยมือ เป็นรูปไก่ ขนคอและลำตัวสีแดง หางและขาสีดำเดินอยู่บนหญ้าสีเขียว มีดอกโบตั๋นสีชมพูออกม่วงใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านซ้าย และมีต้น กล้วย 3 ใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านขวา นอกจากนั้นชามบางใบยังมีนกบินห้อยหัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับไก่ และ มีดอกไม้และใบไม้เล็ก ๆ แต้มอยู่ก้นชามด้านในอีกด้วย
ในยุคแรกชามไก่มี 4 ขนาด คือ ขนาดปากกว้าง 5 นิ้ว ( เสี่ยวเต้า ) 6 นิ้ว ( ตั่วเต้า ) 7 นิ้ว ( ยี่ไห้ ) และ 8 นิ้ว ( เต๋งไห้ )ชามไก่ขนาด 5 – 6 นิ้ว สำหรับใช้ในบ้านและร้านข้าวต้มชั้นผู้ดี ส่วนชามไก่ขนาด 7 – 8 นิ้ว เหมาะสำหรับ เป็นชามให้หมู่กุลีที่ทำงานหนักใช้ เพราะรับประทานจุ วิธีผลิตแบบโบราณ เริ่มจากการผสมดินโดยย่ำด้วยเท้า และนวดด้วยมือ จากนั้นนำดินมาปั้นตบเป็นดินแผ่น แล้วจึงอัดดินลง แม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ หมุนขึ้นรูปชามเป็นวงกลมด้วยมือ ปาดด้วยไก๊ (ไม้ปาดตัดเป็นรูปโค้ง) แล้วนำมาต่อขา ทิ้งชามที่ขึ้นรูปแล้วเสร็จไว้บนกระดานให้แห้งโดยธรรมชาติ นำมาชุบเคลือบที่ทำจากขี้เถ้าแกลบปูนหอย และ ดินขาว จากนั้นบรรจุลงจ้อนำไปเรียงในเตามังกร เผาด้วยฟืนในความร้อนประมาณ 1300 oC ระยะเวลา 18-24 ชั่วโมง เมื่อเผาสุกดีแล้ว จึงนำชามมาเขียนสีบนเคลือบด้วยพู่กันเป็นลายไก่ ดอกไม้และต้นกล้วย แล้วเผาในเตาอบรูปกลม ภายในเป็นถังดินขนาดใหญ่ ด้วยความร้อนประมาณ 700 – 750 oC ด้วยฟืนประมาณ 5 –6 ชั่วโมง รอจนเย็น จึงบรรจุใส่เข่งส่งจำหน่าย ความเป็นมาของชามไก่ ชามไก่มีต้นกำเนิดการผลิตในประเทศจีนกว่าร้อยปีมาแล้ว โดยชนชาวจีนแคะ ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง และชาวจีนแต้จิ๋ว ที่ตำบลปังโคย ซึ่งมีเขตติดต่อกันทางใต้ ชามไก่นอกจากใช้ในประเทศจีนแล้ว ยังส่งจำหน่ายแก่ชาวจีนโพ้นทะเลด้วยดังนั้นส่วนหนึ่งจึงส่งมาจำหน่ายยังประเทศไทย ซึ่งมีชาวจีนโดยเฉพาะชาว แต้จิ๋วอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประวัติชามไก่ลำปาง / 2 เนื่องจากในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ยังไม่มีผู้ผลิตชามไก่ในประเทศไทย และมีความต้องการ จากตลาดมาก พ่อค้าชาวจีนซึ่งอยู่แถวถนนทรงวาด ตลาดเก่าในกรุงเทพฯ จึงสั่งนำเข้าชามไก่มาจากประเทศจีน ซึ่งในขณะนั้นมีราคาถูกมาก ต่อมาเกิดสงครามจีนญี่ปุ่นขึ้น ทำให้ชามไก่ขาดตลาด ของที่นำเข้าไม่พอขาย และ ราคาสูงขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ถึง2500 มีช่างชาวจีนย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทย ได้มีการก่อเตามังกร และทำ เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งรวมถึงชามไก่ด้วย เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมดินเผา สี่แยก ราชเทวี ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ โรงงานบุญอยู่พาณิชย์ และ โรงงานศิลามิตร จังหวัดเชียงใหม่ และโรงงานของ นายทวี ผลเจริญที่วงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี ซึ่งชามไก่ในช่วงนั้นมีไม่มากนัก เนื่องจากยังขาดดินคุณภาพดี ช่างชาวจีนเหล่านี้ส่วนหนึ่งจึงได้ยา้ ยขึ้นมาตั้งโรงงานที่จังหวัดลำปาง หลังจากได้มีการพบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม ชามไก่ในจังหวัดลำปาง ชามไก่ เริ่มมีการผลิตขึ้นในจังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยชาวจีนเมืองไท้ปู ( ในฮกเกี้ยน ) 4 คน คือ นายซิมหยู (โรงงานธนบดีสกุลในปัจจุบัน) นายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ (โรงงานไทยมิตรในปัจจุบัน) นายซิวกิม แซ่กว๊อก (โรงงานกฎชาญเจริญในปัจจุบัน) และนายซือเมน แซ่เทน (โรงงานเจริญเมืองในปัจจุบัน) ได้ร่วมกันก่อตั้งโรงงาน เครื่องปั้นดินเผาแห่งแรกของจังหวัดลำปางชื่อ “โรงงานร่วมสามัคคี” ที่หมู่บ้านป่าขาม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ผลิตชามไก่ขนาด 6” และ 7” และถ้วยยี่ไฮ้ สามปีต่อมาหุ้นส่วนต่าง ๆ ก็ได้แยกตัวออกไปเปิดโรงงานผลิตถ้วยชาม ของตนเอง ระหว่างปีพ.ศ. 2502 – 2505 กลุ่มชาวจีน ได้ทยอยกันมาตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่จังหวัดลำปางมากขึ้น ทำให้เป็นแหล่งผลิตชามไก่มากกว่าแหล่งอื่น ๆ ในประเทศ จึงเป็นช่วงที่มีการผลิตชามไก่กันมากที่สุด และได้ราคาดี เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าชามไก่จากประเทศจีนได้ ซึ่งในสมัยนั้น ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว ที่คุณภาพดี ได้ราคาถึงใบละ1.50 บาท วิธีการผลิตชามไก่ในลำปาง วิธีการผลิตชามไก่ในลำปางเมื่อเริ่มแรกนั้น อาศัยวัสดุอุปกรณ์ท้องถิ่นมาใช้ในการขึ้นรูป โดยหาล้อจักรยาน มาเป็นแป้นหมุน มีแผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือจับ (จิ๊กเกอร์มือ) ขว้างดินที่หมักเปียก (ดินขาวลำปาง) ลงบนพิมพ์ ซึ่งหมุนบนล้อจักรยาน แล้วใช้จิ๊กเกอร์ไม้กวาดแต่งเติมดินให้ได้รูปทรงถ้วยกลมทีละใบ แล้วนำมาต่อขา โดยที่ชามไกใ่ นยุคแรก ๆ จะค่อนข้างหนา สำหรับการเคลือบ ใช้เคลือบขี้เถ้าแกลบ ตำบดในครกขนาดใหญ่ โดยใช้แรงคนเหยียบหลายวันจนละเอียด แล้วนำมาร่อนตะแกรง ก่อนจะนำมาแช่น้ำในบ่อให้ตกตะกอน นำเอาส่วนที่ไม่ตกตะกอนมาใช้ แล้วนำถ้วยชาม มาจุ่มเคลือบทั้งใบ ประวัติชามไก่ลำปาง / 3 วิธีการเผานั้น ใช้เตามังกรโบราณแบบกอปี นำฟืนไม้ไผ่แห้งเป็นเชื้อเพลิง เตามีลักษณะยาวประมาณ 15-20 เมตร ทำช่องใส่ฟืนเป็นระยะ ๆภายในก่อเป็นขั้นบันไดตามความยาวของเตา โดยนำถ้วยชามที่เคลือบเสร็จ มาบรรจุ ในจ๊อทนไฟ นำมาเรียงในเตาและเผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1250 – 1300 oCนาน 24 ชั่วโมง ถ้วยชามที่เผาจึงสุกตัว พอดี ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยประสบการณ์พิเศษ โดยการสังเกตุสีของเปลวไฟ และการชักตัวอย่าง เนื่องจากใน สมัยนั้นไม่มีเครื่องมือวัดอุณหภูมิในเตาเผา การวาดลายไก่บนชามเคลือบ ได้มีการฝึกคนงานในท้องถิ่นตวัดพู่กันจีน โดยให้คนวาด 2 – 3 คน วาดเป็น ส่วน ๆ ต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบ แต่ละคนจะจับพู่กันทีละ 2 –3 ด้ามในเวลาเดียวกัน จากนั้นนำมาเผาในเตา กลมอุณหภูมิประมาณ 750 oC ชามไก่ที่ผลิตได้ในรุ่นแรก ๆ มีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สาเหตุหนึ่งเพราะความยุ่งยากและ ความล่าช้าของขั้นตอนกรรมวิธีการผลิต การเปลี่ยนแปลงของชามไก่ ชามไก่เริ่มมีการเปลี่ยนรูปแบบ เมื่อโรงงานต่างๆ หันมาลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้สามารถขายได้ ในราคาต่ำลง โดยเริ่มใช้เครื่องปั้น หรือ เครื่องจิ๊กเกอร์เข้ามาช่วยในการผลิต ชามไก่จึงมีลักษณะกลมไม่เป็นเหลี่ยม และต่อมาได้มีการทำแม่พิมพ์ให้มีขาชามในตัว เพื่อจะได้ไม่ต้องต่อขาชามภายหลัง ขาชามไก่รุ่นหลังจึงไม่เป็นเชิง จะตรงลงมาในแนวดิ่ง ชามไก่เริ่มเปลี่ยนไปอย่างมาก เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงงาน ขนาดใหญ่ สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตาในปี พ.ศ. 2505 และสามารถเผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ ซึ่งรวมถึง การเผาถ้วยชามที่วาดสีใต้เคลือบในครั้งเดียวกันโดยไม่ต้องอบสีในภายหลัง ลักษณะของชามไก่ที่ผลิตขึ้นในช่วงนี้ ลายไก่วาดด้วยสีเขียว หางน้ำเงิน ดอกไม้สีชมพู ลายวาดลดความละเอียดลง ราคาขายก็ถูกลง สามารถทำตลาดได้ดี เนื่องจากราคาถูกและลวดลายไม่ถลอกได้ง่าย จากนั้นราคาชามไก่ก็ถูกลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันมาผลิตถ้วยชามรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะถ้วยชามแบบญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยขึ้น จังหวัดลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียวที่ยังผลิตชามไก่มาอย่าง ต่อเนื่อง แต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยาก อีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพง ส่วนใหญ่จึงใช้สีวาดใต้เคลือบ เผาครั้งเดียว ที่อุณหภูมิประมาณ 1260 oC การวาดลายไก่มีการเปลี่ยนมาใช้สีชมพู หางสีน้ำเงิน แซมใบไม้สีเขียวเข้ม และราคาขาย ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว ในปี พ.ศ. 2516 มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เท่านั้น ทั้งยังมีการผลิตน้อยลงเรื่อย ๆ และการผลิต ด้วยสีบนเคลือบแบบดั้งเดิมเริ่มหายไปจากตลาด ชามไก่ในยุคปัจจุบัน เมื่อชามไก่ในยุคหลัง ๆ ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก และกลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสม และกว้าน ซื้อชามไก่ในรุ่นแรก ๆ ซึ่งมีสีสันสวยงามจนทำให้ชามไก่รุ่นแรก ๆ หายไปจากตลาด จนเริ่มมีบางโรงงาน หันกลับมาผลิตชามไก่ให้คล้ายกับรุ่นแรก ๆ โดยขายในราคาที่สูงขึ้น ประวัติชามไก่ลำปาง / 4สมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง เห็นความสำคัญของชามไก่ ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาในยุคแรกของจังหวัด ลำปาง และยังคงมีผลิตอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย เห็นสมควรที่จะรักษาไว้ จึงได้สร้างประติมากรรมรูปชามไก่ ขนาดกว้าง 3.5 เมตร ไว้ที่แยกทางเข้าจังหวัดลำปาง ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2542 ให้ผู้ผ่านไปมา ได้รับรู้และเห็นความสำคัญของชามไก่ ที่มีต่อจังหวัดลำปาง และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันกลับมาใช้ ชามไก่มากยิ่งขึ้น ในช่วง ปี พ.ศ. 2544 มีโรงงานในจังหวัดลำปาง หันกลับมาผลิตชามไก่กันมากขึ้น ทั้งแบบวาดใต้เคลือบ และวาดบนเคลือบแบบเก่า ตามความต้องการของตลาด ทั้งเผาด้วยเตามังกรโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงและเผาด้วย เตาแก๊ส ชามไก่ที่ผลิตขึ้น มีมากกว่า 10 ขนาด ตั้งแต่ 1 นิ้วไปจนถึง 8 นิ้ว และพัฒนารูปแบบไปหลากหลาย ตั้งแต่ จาน ชาม ถ้วยน้ำ ช้อน และของที่ระลึกต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัด และบางส่วน ยังสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้อีกด้วย ชามไก่ ถือเป็นต้นกำเนิดของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจังหวัดลำปางมีการผลิต เซรามิกหลากหลายประเภท ตั้งแต่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของประดับของชำร่วย กระเบื้อง สุขภัณฑ์ ลูกถ้วยไฟฟ้า ตลอดจนลูกกรงเซรามิก และแม้ว่าปัจจุบันชามไก่จะไม่ใช่สินค้าที่มีมูลค่าหลักของเซรามิกจังหวัดลำปาง แต่ชามไก่ มีความหมายเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง และจะอยู่ในความทรงจำของกลุ่มผู้ผลิตเซรามิก จังหวัดลำปาง และของคนไทยตลอดไป ๏ คงจะทราบประวัติชามกาไก่กันพอสมควรแล้วนะครับ บทความต่อไปผมจะนำเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับ จังหวัดลำปาง หรือจะเป็นเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับเซรามิก คุณรู้ไหมว่าเซรามิกอยู่รอบตัวเราโดยที่เราไม่ได้สังเกตกันบ้างเลย ไม่ว่าจะบนโต๊ะอาหาร หรือว่าบนเสาไฟฟ้า หือจะในห้องน้ำที่เราเข้าไปปลดทุกข์กันทุกวัน
ลักษณะของชามไก่ ชามไก่ในยุคแรก เป็นชามทรงแปดเหลี่ยมเกือบกลมปากบาน ข้างชามด้านนอกมีรอยบุบเล็กน้อยรับกับ เหลี่ยมของชาม ขาเป็นเชิง ชุบเคลือบขี้เถ้า วาดลวดลายบนเคลือบด้วยมือ เป็นรูปไก่ ขนคอและลำตัวสีแดง หางและขาสีดำเดินอยู่บนหญ้าสีเขียว มีดอกโบตั๋นสีชมพูออกม่วงใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านซ้าย และมีต้น กล้วย 3 ใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านขวา นอกจากนั้นชามบางใบยังมีนกบินห้อยหัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับไก่ และ มีดอกไม้และใบไม้เล็ก ๆ แต้มอยู่ก้นชามด้านในอีกด้วย
ในยุคแรกชามไก่มี 4 ขนาด คือ ขนาดปากกว้าง 5 นิ้ว ( เสี่ยวเต้า ) 6 นิ้ว ( ตั่วเต้า ) 7 นิ้ว ( ยี่ไห้ ) และ 8 นิ้ว ( เต๋งไห้ )ชามไก่ขนาด 5 – 6 นิ้ว สำหรับใช้ในบ้านและร้านข้าวต้มชั้นผู้ดี ส่วนชามไก่ขนาด 7 – 8 นิ้ว เหมาะสำหรับ เป็นชามให้หมู่กุลีที่ทำงานหนักใช้ เพราะรับประทานจุ วิธีผลิตแบบโบราณ เริ่มจากการผสมดินโดยย่ำด้วยเท้า และนวดด้วยมือ จากนั้นนำดินมาปั้นตบเป็นดินแผ่น แล้วจึงอัดดินลง แม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ หมุนขึ้นรูปชามเป็นวงกลมด้วยมือ ปาดด้วยไก๊ (ไม้ปาดตัดเป็นรูปโค้ง) แล้วนำมาต่อขา ทิ้งชามที่ขึ้นรูปแล้วเสร็จไว้บนกระดานให้แห้งโดยธรรมชาติ นำมาชุบเคลือบที่ทำจากขี้เถ้าแกลบปูนหอย และ ดินขาว จากนั้นบรรจุลงจ้อนำไปเรียงในเตามังกร เผาด้วยฟืนในความร้อนประมาณ 1300 oC ระยะเวลา 18-24 ชั่วโมง เมื่อเผาสุกดีแล้ว จึงนำชามมาเขียนสีบนเคลือบด้วยพู่กันเป็นลายไก่ ดอกไม้และต้นกล้วย แล้วเผาในเตาอบรูปกลม ภายในเป็นถังดินขนาดใหญ่ ด้วยความร้อนประมาณ 700 – 750 oC ด้วยฟืนประมาณ 5 –6 ชั่วโมง รอจนเย็น จึงบรรจุใส่เข่งส่งจำหน่าย ความเป็นมาของชามไก่ ชามไก่มีต้นกำเนิดการผลิตในประเทศจีนกว่าร้อยปีมาแล้ว โดยชนชาวจีนแคะ ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง และชาวจีนแต้จิ๋ว ที่ตำบลปังโคย ซึ่งมีเขตติดต่อกันทางใต้ ชามไก่นอกจากใช้ในประเทศจีนแล้ว ยังส่งจำหน่ายแก่ชาวจีนโพ้นทะเลด้วยดังนั้นส่วนหนึ่งจึงส่งมาจำหน่ายยังประเทศไทย ซึ่งมีชาวจีนโดยเฉพาะชาว แต้จิ๋วอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประวัติชามไก่ลำปาง / 2 เนื่องจากในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ยังไม่มีผู้ผลิตชามไก่ในประเทศไทย และมีความต้องการ จากตลาดมาก พ่อค้าชาวจีนซึ่งอยู่แถวถนนทรงวาด ตลาดเก่าในกรุงเทพฯ จึงสั่งนำเข้าชามไก่มาจากประเทศจีน ซึ่งในขณะนั้นมีราคาถูกมาก ต่อมาเกิดสงครามจีนญี่ปุ่นขึ้น ทำให้ชามไก่ขาดตลาด ของที่นำเข้าไม่พอขาย และ ราคาสูงขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ถึง2500 มีช่างชาวจีนย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทย ได้มีการก่อเตามังกร และทำ เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งรวมถึงชามไก่ด้วย เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมดินเผา สี่แยก ราชเทวี ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ โรงงานบุญอยู่พาณิชย์ และ โรงงานศิลามิตร จังหวัดเชียงใหม่ และโรงงานของ นายทวี ผลเจริญที่วงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี ซึ่งชามไก่ในช่วงนั้นมีไม่มากนัก เนื่องจากยังขาดดินคุณภาพดี ช่างชาวจีนเหล่านี้ส่วนหนึ่งจึงได้ยา้ ยขึ้นมาตั้งโรงงานที่จังหวัดลำปาง หลังจากได้มีการพบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม ชามไก่ในจังหวัดลำปาง ชามไก่ เริ่มมีการผลิตขึ้นในจังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยชาวจีนเมืองไท้ปู ( ในฮกเกี้ยน ) 4 คน คือ นายซิมหยู (โรงงานธนบดีสกุลในปัจจุบัน) นายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ (โรงงานไทยมิตรในปัจจุบัน) นายซิวกิม แซ่กว๊อก (โรงงานกฎชาญเจริญในปัจจุบัน) และนายซือเมน แซ่เทน (โรงงานเจริญเมืองในปัจจุบัน) ได้ร่วมกันก่อตั้งโรงงาน เครื่องปั้นดินเผาแห่งแรกของจังหวัดลำปางชื่อ “โรงงานร่วมสามัคคี” ที่หมู่บ้านป่าขาม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ผลิตชามไก่ขนาด 6” และ 7” และถ้วยยี่ไฮ้ สามปีต่อมาหุ้นส่วนต่าง ๆ ก็ได้แยกตัวออกไปเปิดโรงงานผลิตถ้วยชาม ของตนเอง ระหว่างปีพ.ศ. 2502 – 2505 กลุ่มชาวจีน ได้ทยอยกันมาตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่จังหวัดลำปางมากขึ้น ทำให้เป็นแหล่งผลิตชามไก่มากกว่าแหล่งอื่น ๆ ในประเทศ จึงเป็นช่วงที่มีการผลิตชามไก่กันมากที่สุด และได้ราคาดี เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าชามไก่จากประเทศจีนได้ ซึ่งในสมัยนั้น ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว ที่คุณภาพดี ได้ราคาถึงใบละ1.50 บาท วิธีการผลิตชามไก่ในลำปาง วิธีการผลิตชามไก่ในลำปางเมื่อเริ่มแรกนั้น อาศัยวัสดุอุปกรณ์ท้องถิ่นมาใช้ในการขึ้นรูป โดยหาล้อจักรยาน มาเป็นแป้นหมุน มีแผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือจับ (จิ๊กเกอร์มือ) ขว้างดินที่หมักเปียก (ดินขาวลำปาง) ลงบนพิมพ์ ซึ่งหมุนบนล้อจักรยาน แล้วใช้จิ๊กเกอร์ไม้กวาดแต่งเติมดินให้ได้รูปทรงถ้วยกลมทีละใบ แล้วนำมาต่อขา โดยที่ชามไกใ่ นยุคแรก ๆ จะค่อนข้างหนา สำหรับการเคลือบ ใช้เคลือบขี้เถ้าแกลบ ตำบดในครกขนาดใหญ่ โดยใช้แรงคนเหยียบหลายวันจนละเอียด แล้วนำมาร่อนตะแกรง ก่อนจะนำมาแช่น้ำในบ่อให้ตกตะกอน นำเอาส่วนที่ไม่ตกตะกอนมาใช้ แล้วนำถ้วยชาม มาจุ่มเคลือบทั้งใบ ประวัติชามไก่ลำปาง / 3 วิธีการเผานั้น ใช้เตามังกรโบราณแบบกอปี นำฟืนไม้ไผ่แห้งเป็นเชื้อเพลิง เตามีลักษณะยาวประมาณ 15-20 เมตร ทำช่องใส่ฟืนเป็นระยะ ๆภายในก่อเป็นขั้นบันไดตามความยาวของเตา โดยนำถ้วยชามที่เคลือบเสร็จ มาบรรจุ ในจ๊อทนไฟ นำมาเรียงในเตาและเผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1250 – 1300 oCนาน 24 ชั่วโมง ถ้วยชามที่เผาจึงสุกตัว พอดี ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยประสบการณ์พิเศษ โดยการสังเกตุสีของเปลวไฟ และการชักตัวอย่าง เนื่องจากใน สมัยนั้นไม่มีเครื่องมือวัดอุณหภูมิในเตาเผา การวาดลายไก่บนชามเคลือบ ได้มีการฝึกคนงานในท้องถิ่นตวัดพู่กันจีน โดยให้คนวาด 2 – 3 คน วาดเป็น ส่วน ๆ ต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบ แต่ละคนจะจับพู่กันทีละ 2 –3 ด้ามในเวลาเดียวกัน จากนั้นนำมาเผาในเตา กลมอุณหภูมิประมาณ 750 oC ชามไก่ที่ผลิตได้ในรุ่นแรก ๆ มีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สาเหตุหนึ่งเพราะความยุ่งยากและ ความล่าช้าของขั้นตอนกรรมวิธีการผลิต การเปลี่ยนแปลงของชามไก่ ชามไก่เริ่มมีการเปลี่ยนรูปแบบ เมื่อโรงงานต่างๆ หันมาลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้สามารถขายได้ ในราคาต่ำลง โดยเริ่มใช้เครื่องปั้น หรือ เครื่องจิ๊กเกอร์เข้ามาช่วยในการผลิต ชามไก่จึงมีลักษณะกลมไม่เป็นเหลี่ยม และต่อมาได้มีการทำแม่พิมพ์ให้มีขาชามในตัว เพื่อจะได้ไม่ต้องต่อขาชามภายหลัง ขาชามไก่รุ่นหลังจึงไม่เป็นเชิง จะตรงลงมาในแนวดิ่ง ชามไก่เริ่มเปลี่ยนไปอย่างมาก เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงงาน ขนาดใหญ่ สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตาในปี พ.ศ. 2505 และสามารถเผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ ซึ่งรวมถึง การเผาถ้วยชามที่วาดสีใต้เคลือบในครั้งเดียวกันโดยไม่ต้องอบสีในภายหลัง ลักษณะของชามไก่ที่ผลิตขึ้นในช่วงนี้ ลายไก่วาดด้วยสีเขียว หางน้ำเงิน ดอกไม้สีชมพู ลายวาดลดความละเอียดลง ราคาขายก็ถูกลง สามารถทำตลาดได้ดี เนื่องจากราคาถูกและลวดลายไม่ถลอกได้ง่าย จากนั้นราคาชามไก่ก็ถูกลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันมาผลิตถ้วยชามรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะถ้วยชามแบบญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยขึ้น จังหวัดลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียวที่ยังผลิตชามไก่มาอย่าง ต่อเนื่อง แต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยาก อีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพง ส่วนใหญ่จึงใช้สีวาดใต้เคลือบ เผาครั้งเดียว ที่อุณหภูมิประมาณ 1260 oC การวาดลายไก่มีการเปลี่ยนมาใช้สีชมพู หางสีน้ำเงิน แซมใบไม้สีเขียวเข้ม และราคาขาย ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว ในปี พ.ศ. 2516 มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เท่านั้น ทั้งยังมีการผลิตน้อยลงเรื่อย ๆ และการผลิต ด้วยสีบนเคลือบแบบดั้งเดิมเริ่มหายไปจากตลาด ชามไก่ในยุคปัจจุบัน เมื่อชามไก่ในยุคหลัง ๆ ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก และกลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสม และกว้าน ซื้อชามไก่ในรุ่นแรก ๆ ซึ่งมีสีสันสวยงามจนทำให้ชามไก่รุ่นแรก ๆ หายไปจากตลาด จนเริ่มมีบางโรงงาน หันกลับมาผลิตชามไก่ให้คล้ายกับรุ่นแรก ๆ โดยขายในราคาที่สูงขึ้น ประวัติชามไก่ลำปาง / 4สมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง เห็นความสำคัญของชามไก่ ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาในยุคแรกของจังหวัด ลำปาง และยังคงมีผลิตอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย เห็นสมควรที่จะรักษาไว้ จึงได้สร้างประติมากรรมรูปชามไก่ ขนาดกว้าง 3.5 เมตร ไว้ที่แยกทางเข้าจังหวัดลำปาง ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2542 ให้ผู้ผ่านไปมา ได้รับรู้และเห็นความสำคัญของชามไก่ ที่มีต่อจังหวัดลำปาง และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันกลับมาใช้ ชามไก่มากยิ่งขึ้น ในช่วง ปี พ.ศ. 2544 มีโรงงานในจังหวัดลำปาง หันกลับมาผลิตชามไก่กันมากขึ้น ทั้งแบบวาดใต้เคลือบ และวาดบนเคลือบแบบเก่า ตามความต้องการของตลาด ทั้งเผาด้วยเตามังกรโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงและเผาด้วย เตาแก๊ส ชามไก่ที่ผลิตขึ้น มีมากกว่า 10 ขนาด ตั้งแต่ 1 นิ้วไปจนถึง 8 นิ้ว และพัฒนารูปแบบไปหลากหลาย ตั้งแต่ จาน ชาม ถ้วยน้ำ ช้อน และของที่ระลึกต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัด และบางส่วน ยังสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้อีกด้วย ชามไก่ ถือเป็นต้นกำเนิดของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจังหวัดลำปางมีการผลิต เซรามิกหลากหลายประเภท ตั้งแต่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของประดับของชำร่วย กระเบื้อง สุขภัณฑ์ ลูกถ้วยไฟฟ้า ตลอดจนลูกกรงเซรามิก และแม้ว่าปัจจุบันชามไก่จะไม่ใช่สินค้าที่มีมูลค่าหลักของเซรามิกจังหวัดลำปาง แต่ชามไก่ มีความหมายเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง และจะอยู่ในความทรงจำของกลุ่มผู้ผลิตเซรามิก จังหวัดลำปาง และของคนไทยตลอดไป ๏ คงจะทราบประวัติชามกาไก่กันพอสมควรแล้วนะครับ บทความต่อไปผมจะนำเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับ จังหวัดลำปาง หรือจะเป็นเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับเซรามิก คุณรู้ไหมว่าเซรามิกอยู่รอบตัวเราโดยที่เราไม่ได้สังเกตกันบ้างเลย ไม่ว่าจะบนโต๊ะอาหาร หรือว่าบนเสาไฟฟ้า หือจะในห้องน้ำที่เราเข้าไปปลดทุกข์กันทุกวัน
ชามกาไก่จากประเทศจีน
เมื่อกล่าวถึงลำปาง ก็ต้องนึกถึงชามกาไก่หรือชามตราไก่เพราะเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางเนื่องจากที่ลำปางนั้นมีโรงงานผลิตเซรามิกส์มากที่สุดในประเทศ สัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางก็คือ ไก่(ไก่ขาว ) ซึ่งตรงกับลวดลายบนชามกาไก่พอดี แต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดของชามกาไก่หาใช่ที่ลำปางไม่ แต่ต้นกำเนิดที่แท้จริงนั้นกลับอยู่ที่ประเทศจีน เล่ากันว่าชามกาไก่มีประวัติความเป็นมานานกว่าร้อยปี ในสมัยก่อนนั้นแต่เดิมชามตราไก่ยังไม่มีลายยังเป็นแค่ชามสีขาวปราศจากการเขียนลวดลายใดๆทั้งสิ้นซึ่งเป็นการปั้นของชาวจีนแคระที่ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลฮกเกี้ยนหรือมณฑลฝูเจี้ยนในปัจจุบัน ต่อมาพวกจีนแต้จิ๋วที่ตำบลปังเคย เขตแต้จิ๋วปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเขตเฉาอัน มณฑลกวางตุ้ง ก็นำชามสีขาวเหล่านั้นมาเขียนลวดลายไก่เพิ่มลงไป จึงกลายมาเป็นชามกาไก่ในที่สุด ชามกาไก่ได้เป็นสินค้าที่ขายกันทั้งในประเทศจีนและยังส่งออกไปขายในต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย ต่อมาเกิดสงครามขึ้นในประเทศจีน(ญี่ปุ่นบุกจีน)จึงทำให้ไ่ม่สามารถนำเข้าชามกาไก่เข้ามาขายในประเทศไทยได้ ทำให้เกิดความต้องการชามกาไก่จำนวนมากจึงทำให้เจ้าของโรงงานเกิดอยากผลิตชามกาไก่ขึ้นในไทย ประจวบกับมีชาวจีนที่หนีสงครามเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากและในบรรดาชาวจีนที่หนีมาก็มีช่างชาวจีนที่เคยทำชามกาไก่ด้วยเลยเป็นที่มาของการทำชามกาไก่ขึ้นในประเทศไทย พอมีการผลิตชามกาไก่ขึ้นในประเทศก็ยังไม่ใช่ที่ลำปางแต่ผลิตขึ้นที่กรุงเทพอยู่แถวๆวงเวียนใหญ่ฝั่งธนบุรีและบริเวณถนนเพชรบุรีเขตกรุงเทพ
ชามกาไก่ยุคแรกที่ผลิตขึ้นในไทย
กำเนิดชามกาไก่ลำปาง นั้นเริ่มมาจากมีคนสังเกตุเห็นหินลับมีดของคนรับจ้างลับมีด ว่ามีดินขาวผสมอยู่ซึ่งก็คือ นายซิมหยู แซ่ฉิม จากนั้นนายซิมหยูจึงได้ชวนเพื่อนๆอีก2-3คนไปหาแหล่งกำเนิดดินขาว โดยมี นายทวี ผลเจริญ เจ้าของโรงงานที่กรุงเทพให้การสนับสนุน จนมาพบแหล่งดินขาวที่บ้านปงค่า อำเภอแจ้หม่ ระหว่างกิโลเมตรที่ 26-27 เส้นถนน ลำปาง - แจ้หม่ เมื่อราวปี 2498-2499 จึงนำมาทดลองปั้นถ้วยชาม ต่อมานายซิมหยูและเพื่อนได้ไปหาแหล่งเงินทุนจากนายซิมหมิน แซ่เลียว ก่อตั้งโรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นมาแห่งแรกของลำปางชื่อว่า "โรงงานร่วมสามัคคี" เมื่อปี 2500 ที่บ้านป่าขาม อำเภอเมืองลำปาง ทำได้ 3-4 ปีก็เกิดปัญหา ทั้งหมดเลยตัดสินใจแยกย้ายกันไปเปิดโรงงานผลิตชามของตนเอง และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิดโรงงานผลิตชามกาไก่ออกมาอีกจนถึงปัจจุบัน
ชามกาไก่รุ่นแรกของลำปาง
กล่าวกันว่าชามกาไก่ที่มีคุณภาพต้องนำเข้ามาจากประเทศจีน ลวดลายก็ต้องเป็นรูปไก่มีหงอนและมีสีเข้มไม่อ่อน และมีลายประกอบด้วย ต้นกล้วย ดอกโบตั๋นและต้นหญ้าสีเขียว ส่วนชามกาไก่ของลำปางนั้นมีหลากหลายลายมากไม่ได้จำกัดแค่ลายไก่กับดอกโบตั๋นเท่านั้น เท่าที่พบมีมากกว่า10ลายเหมาะกับการเก็บสะสมเป็นอย่างมาก
ชามไก่กำเนิดในเมืองจีนเมื่อกว่าร้อยปี ฝีมือชาวจีนแคะ ตำบล กอปี อำเภอไท้ปู มณฑล กวางตุ้ง แต่เดิมชามตราไก่ไม่ปรากฏการเขียนลายเป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ ที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชามตราไก่สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่ายในตลาดทั่วไป
ต่อมาราว ปี พ.ศ. 2480 ชาวจีนที่ทำชามตราไก่ในประเทศจีนได้ย้ายถิ่นมาจากเมืองจีนมาตั้งบ้านเรือนที่ กรุงเทพมหานครและ ลำปาง (ในการย้ายถิ่นมาครั้งนี้ได้นำช่าง ญาติพี่น้อง ชาวจีนที่มีความสามารถทางการปั้นเครื่องปั้นดินเผามาด้วย) พร้อมกันนี้ได้ก่อสร้างโรงงานและเตาเผาชามตราไก่ขึ้น ที่แถววงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี และที่ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร
ในราวปี พ.ศ. 2500 ชาวจีนที่ทำโรงงาน และเตาเผาชามตราไก่ ได้ย้ายขึ้นมาตั้งโรงงานและเตาเผาใน จังหวัดลำปางทั้งนี้เนื่องจากที่จังหวัดลำปางมีดินขาวเหมาะที่จะนำมาทำการผลิตชามตราไก่มากที่สุดหลังจาก พบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม ในปีเดียวกันชามไก่ใน จ.ลำปางเริ่มผลิตขึ้นโดยชาวไท้ปู4 คนคือนายซิมหยูนายเซี่ยะหยุยแซ่อื้อนายซิวกิมแซ่กว็อกและนายซือเมนแซ่เทนร่วมก่อตั้ง " โรงงานร่วมสามัคคี " ที่บ้านป่าขามอำเภอเมืองก่อนแยกตัวเปิดกิจการตนเองในอีก3 ปีถัดมา
ระหว่างปี 2502-2505 ชาวจีนตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่ลำปางมากขึ้น รวมถึงผลิตชามไก่ที่เริ่มด้วยขว้างดินขาวลำปางหมักเปียกลงบนพิมพ์ซึ่งหมุนบนล้อจักรยานแล้วใช้แผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือ (จิ๊กเกอร์มือ) แต่งดินให้ได้รูปทรงถ้วย ต่อขา เคลือบขี้เถ้าแกลบการเผาใช้เตามังกรโบราณแบบกอปีฟืนไม้ส่วนการวาดลายไก่ก็ฝึกคนท้องถิ่นตวัดพู่กันจีนวาดเป็นส่วนๆต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบแต่ละคนจับพู่กัน 2-3 ด้ามในเวลาเดียวกันแล้วแต่ความยุ่งยากของกรรมวิธี ทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมาไม่ทันความต้องการ ชามไก่เริ่มเปลี่ยนรูปแบบเมื่อโรงงานใช้เครื่องปั้นหรือเครื่องจิ๊กเกอร์ชามจึงมีรูปกลมไม่เป็นเหลี่ยมมีขาในตัวที่สุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อยสมุทรสาครสร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตา
ในปี 2505 เผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ชามช่วงนี้ตัวไก่สีเขียวหางน้ำเงิน ดอกไม้ชมพูลดความละเอียดลงแต่ทำตลาดได้ดีเนื่องจากราคาถูกและไม่ถลอกง่ายจวบจนปี 2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันไปผลิตถ้วยชามแบบญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาแทนที่ ลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียว ที่ผลิตชามไก่อย่างต่อเนื่องแต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยากอีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพงลายไก่เปลี่ยนมาใช้สีชมพูหางน้ำเงินแซมใบไม้เขียวเข้มพ.ศ. 2516 ขณะที่ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เพราะเป็นชามในยุคหลังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก กลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสมและกว้านซื้อชามไก่ในรุ่นแรกๆจนทำให้ชามไก่รุ่นนั้นหายไปจากตลาดถึงทุกวันนี้จึงเป็นสินค้าสูงค่าเพราะหา (ของแท้) ยาก
ต่อมาราว ปี พ.ศ. 2480 ชาวจีนที่ทำชามตราไก่ในประเทศจีนได้ย้ายถิ่นมาจากเมืองจีนมาตั้งบ้านเรือนที่ กรุงเทพมหานครและ ลำปาง (ในการย้ายถิ่นมาครั้งนี้ได้นำช่าง ญาติพี่น้อง ชาวจีนที่มีความสามารถทางการปั้นเครื่องปั้นดินเผามาด้วย) พร้อมกันนี้ได้ก่อสร้างโรงงานและเตาเผาชามตราไก่ขึ้น ที่แถววงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี และที่ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร
ในราวปี พ.ศ. 2500 ชาวจีนที่ทำโรงงาน และเตาเผาชามตราไก่ ได้ย้ายขึ้นมาตั้งโรงงานและเตาเผาใน จังหวัดลำปางทั้งนี้เนื่องจากที่จังหวัดลำปางมีดินขาวเหมาะที่จะนำมาทำการผลิตชามตราไก่มากที่สุดหลังจาก พบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม ในปีเดียวกันชามไก่ใน จ.ลำปางเริ่มผลิตขึ้นโดยชาวไท้ปู4 คนคือนายซิมหยูนายเซี่ยะหยุยแซ่อื้อนายซิวกิมแซ่กว็อกและนายซือเมนแซ่เทนร่วมก่อตั้ง " โรงงานร่วมสามัคคี " ที่บ้านป่าขามอำเภอเมืองก่อนแยกตัวเปิดกิจการตนเองในอีก3 ปีถัดมา
ระหว่างปี 2502-2505 ชาวจีนตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่ลำปางมากขึ้น รวมถึงผลิตชามไก่ที่เริ่มด้วยขว้างดินขาวลำปางหมักเปียกลงบนพิมพ์ซึ่งหมุนบนล้อจักรยานแล้วใช้แผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือ (จิ๊กเกอร์มือ) แต่งดินให้ได้รูปทรงถ้วย ต่อขา เคลือบขี้เถ้าแกลบการเผาใช้เตามังกรโบราณแบบกอปีฟืนไม้ส่วนการวาดลายไก่ก็ฝึกคนท้องถิ่นตวัดพู่กันจีนวาดเป็นส่วนๆต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบแต่ละคนจับพู่กัน 2-3 ด้ามในเวลาเดียวกันแล้วแต่ความยุ่งยากของกรรมวิธี ทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมาไม่ทันความต้องการ ชามไก่เริ่มเปลี่ยนรูปแบบเมื่อโรงงานใช้เครื่องปั้นหรือเครื่องจิ๊กเกอร์ชามจึงมีรูปกลมไม่เป็นเหลี่ยมมีขาในตัวที่สุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อยสมุทรสาครสร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตา
ในปี 2505 เผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ชามช่วงนี้ตัวไก่สีเขียวหางน้ำเงิน ดอกไม้ชมพูลดความละเอียดลงแต่ทำตลาดได้ดีเนื่องจากราคาถูกและไม่ถลอกง่ายจวบจนปี 2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันไปผลิตถ้วยชามแบบญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาแทนที่ ลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียว ที่ผลิตชามไก่อย่างต่อเนื่องแต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยากอีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพงลายไก่เปลี่ยนมาใช้สีชมพูหางน้ำเงินแซมใบไม้เขียวเข้มพ.ศ. 2516 ขณะที่ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เพราะเป็นชามในยุคหลังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก กลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสมและกว้านซื้อชามไก่ในรุ่นแรกๆจนทำให้ชามไก่รุ่นนั้นหายไปจากตลาดถึงทุกวันนี้จึงเป็นสินค้าสูงค่าเพราะหา (ของแท้) ยาก