logo

ณัฏฐ์ โดย Nutt Krait

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปลาคาร์พ,ปลาแฟนซีคาร์พ(Goi, Koi)



 Kohaku: 
ปลาที่มีลายแดงบนพื้นขาว กล่าวกันว่าคนเลี้ยงปลาคาร์พมักเริ่มต้นด้วยโคฮากุและลงท้ายที่โคฮากุ โคฮากุ ไทโชซันโชกุ และโชว่าซันโชกุ เป็นสายพันธุ์ที่คนนิยมที่สุด เรียกกันว่า Gosanke (Big 3)

Taisho Sanshoku: 
ปลาที่มีแต้มดำบนลายโคฮากุ เพราะเกิดในยุคไทโชของญี่ปุ่น จึงเรียกว่าไทโชซันโชกุ เรียกสั้นๆว่าไทโชซังเก้ หรือซังเก้

Showa Sanshoku: 
ปลาที่มีลายเป็นเส้นดำบนลายโคฮากุ เกิดในยุคโชว่าจึงเรียกว่าโชว่าซันโชกุ หรือโชว่า

Tancho: 
ตันโจ ปลาที่มีสีแดงเฉพาะเป็นดวงกลมตรงหัวของปลา ลายที่เหลือเป็นไปตามสายพันธุ์เช่น Tancho Kohaku, Doitsu Tancho Kohaku, Tancho Showa, Tancho Goshiki เป็นต้น

Utsuri mono: 
อุทซูริ ปลาที่มีลายเส้นสีดำบนสีพื้นสีเดียว เช่น Shiro Utsuri (ขาว) Hi Utsuri (แดง) Ki Utsuri (เหลือง)

Bekko: 
ซันเก้ที่ไม่มีแดง 

Asagi: 
ทั้งตัวมีสีฟ้าหรือสีคราม รอยต่อระหว่างเกล็ดลายเหมือนตาข่าย เป็นปลาดั้งเดิมของนิชิกิกอย

Shusui: 
อาซากิด๊อยทส์ Doitsu

Koromo: 
โคฮากุที่มีตาข่ายสีฟ้าบนส่วนที่เป็นลายสีแดง

Goshiki: 
แปลตรงตัวว่า 5 สี มีตาข่ายสีฟ้าบนลายโคฮากุ บางตัวมีตาข่ายเฉพาะส่วนที่เป็นสีขาว สีแดงและสีฟ้าที่เหลื่อมกันทำให้เกิดเป็นสีม่วงส่วนมากตรงบริเวณหัว เกล็ดไม่มันวาว ซึ่งทำให้ต่างจาก Kujyaku

Hikari Muji: 
ปลาสีเดียวที่มีเกล็ดมันวาวเช่น Ogon, Platinum

Hikari Moyo: 
คือกลุ่มของสายพันธุ์ที่มีลวดลายบนสีพื้นมันวาว ทั้งนี้ยกเว้นลายดำของกลุ่มอุทซูริเช่น Hariwake-ลายสีทองบนสีพื้นแพล็ทตินั่ม,Kikusui-ฮาริวาเก้ด๊อยทส์ สีแดงจะเข้มกว่าฮาริวาเก้, Yamato Nishiki-ซันเก้ที่มีเกล็ดมันวาว, Heisei Nishiki-ซันเก้ด๊อยทส์ที่มีเกล็ดมันวาว, Kujyaku-โงชิกิที่มีเกล็ดมันวาว

Hikari Utsuri:
มีลายดำของอุทซูริบนสีพื้นมันวาวเช่น Kin Showa, Gin Shiro Utsuri, Kin Ki Utsuri

Matsuba: 
ปลาที่มีสีดำกลางเกล็ด หากผิวมันจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มฮิคาริ หากผิวไม่มัน อยู่ในกลุ่มคาวาริ

Kin Ginrin:
ปลาที่มีเกล็ดแวววาวระยิบระยับเหมือนโรยด้วยกากเพชร

Doitsu:
ปลาไม่มีเกล็ด ต้นกำเนิดมาจากเยอรมัน

Kawari mono:
ปลานอกเหนือจากที่กล่าวมา ถ้าส่งเข้าประกวดจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มคาวาริโมโนเช่น Chagoi (ปลาสีน้ำตาลหรือเขียวปนน้ำตาล), Ochiba shigure (ปลาที่มีลายสีน้ำตาลหรือเขียวปนน้ำตาล), KumonryuBeni Kumonryu เป็นต้น.

GoiKoi:
ปลาคาร์พ

Nishikigoi: 
ปลาที่มีความงามดุจแพรไหม หมายถึงแฟนซีคาร์พ

 

โคฮากุ (Kohaku)
โคฮากุ (Kohaku) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่มีสีขาวและสีแดง มีชื่อเรียกดังนี้ คือ
อิปปง-ฮิ (Ippon Hi) คือปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีลายสีแดงตั้งแต่หัวถึงหาง โดยไม่มีความเว้ามากนัก หรือเรียกว่าโคฮากุหนึ่งตอน
อินะซึมะ (Inazuma) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีลายสีแดง ที่มีรูปร่าง เหมือนสายฟ้า หรือเรียกว่าลายสายฟ้าซึ่งหาได้ยากมาก
นิดัง-ฮิ (Nidan Hi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีลายสีอแดงเป็นสองตอน หรือเรียกว่าโคฮากุสองตอน
ซันดัง-ฮิ (Sandan Hi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีลายสีแดงเป็นสามตอน หรือเรียกว่าโคฮากุสามตอน
ยนดัง-ฮิ (Yondan Hi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีลายสีแดงเป็นสี่ตอน หรือเรียกว่าโคฮากุสี่ตอน
คุจิเบนิ (Kuchibeni) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีสีแดงติดที่ริมปาก คล้ายทาลิปสติก หรือเรียกว่า โดฮากุลิปสติก
มารุเท็น (Maruten) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีสีแดง เป็นวงกลมอยู่ที่หัว และมีลายสีแดงตามลำตัว หรือเรียกว่าโคฮากุมารุเท็น
ดอยท์ซุ-โคฮากุ (Doitsu-Kohaku) คือ โคฮากุที่มีเกล็ดใหญ่ข้างตัว เรียงเป็นแนวทั้งสองข้างหรือไม่มีเกล็ดที่ตัว

ไทโช-ซันโชกุ หรือซันเก้ (Taisho Sanshoku or Sanke)
ไทโช-ซันโชกุ หรือซันเก้ (Taisho Sanshoku or Sanke) คือ ปลาแฟนซีคาร์พ ที่มีสีขาว สีแดง และดำ มีชื่อเรียกดังนี้คือ
นิดัง-ฮิ (Nidan Hi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีลายสีแดงและดำเป็นสองตอน หรือเรียกว่า ไทโช-ซันโชกุสองตอน
ซันดัง-ฮิ (Sandan Hi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีลายสีแดงเป็นสามตอน หรือเรียกว่า ไทโช-ซันโชกุสามตอน
ยนดัง-ฮิ (Yondan Hi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีลายสีแดงเป็นสี่ตอน หรือเรียกว่า ไทโช-ซันโชกุสี่ตอน
คุจิเบนิ (Kuchibeni) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาว ที่มีสีแดงติดที่ริมปาก คล้ายทาลิปสติก หรือเรียกว่า ไทโชซันโชกุ ลิปติก
มารุเท็น (Maruten) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวที่มีสีแดงเป็นวงกลมอยู่ที่หัวและมีลายสีแดงตามลำตัว หรือเรียกว่า ไทโช-ซันโชกุ-มารุเท็น
ดอยท์ซุ-ซันโชกุ (Doitsu-Sanshoku) คือ ไทโช-ซันโชกุที่มีเกล็ดใหญ่ ข้างตัว เรียงเป็นแนว ทั้งสองข้าง หรือไม่มีเกล็ดที่ตัว
 
โชวา-ซันโชกุ (Showa  Sanshoku)
โช วา-ซันโชกุ (Showa Sanshoku) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่มีสีขาว สีแดง และมีสีดำ เป็นลายอยู่ที่ตัวแต่สีดำจะมากกว่า ไทโช-ซันโชกุ ที่หางและครีบอก ต้องมีแถบสีดำ ที่เรียกว่า โมโตกุโร (Motoguro) ส่วนหัว จะต้องมีลายสีดำพาดผ่าน จนถึงปากและลายคำเข้มชัดเจน
ดอยท์ซุ-โชวา (Doitsu-Showa) คือ โชวา-ซันโชกุ ที่มีเกล็ดใหญ่ข้างตัวเรียงเป็นแนวทั้งสองข้างหรือไม่มีเกล็ดที่ตัว
 
ชิโร่-เบคโกะ (Shiro Bekko)
ชิโร่-เบคโกะ (Shiro Bekko) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีแดง ที่มีสีดำเป็นจุด กระจายอยู่ที่ตัว และจุดดำชัดเจน
อะกะ-เบคโกะ (Aka Bekko) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีแดง ที่มีสีดำเป็นจุด กระจายอยู่ที่ตัว และจุดดำชัดเจน
คิ-เบคโกะ (Ki Bekko) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีเหลือง ที่มีสีดำเป็นจุด กระจายอยู่ที่ตัว และจุดดำชัดเจน
ดอยท์ซุ-เบคโกะ (Doitsu-Bekko) คือ เบคโกะที่มีเกล็ดใหญ่ข้างตัว เรียงเป็นแนวทั้งสองข้าง หรือไม่มีเกล็ดที่ตัว
 
อุจึริโมโน (Utsurimono )
อุจึริโมโน (Utsurimono) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่มีลายสีดำมากกว่า เบตโกะ (Bekko) และลายคำเข้มชัดเจน มีชื่อเรียกดังนี้คือ
ชิ โร่-อุจึริ (Shiro-Utsuri) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีขาว ที่มีสีดำเป็นลายอยู่ที่ตัว ที่หางและครีบอกต้องมีแถบสีดำ ที่เรียกว่า โมโตกุโร (Motoguro) ส่วนหัว จะต้องมีลายสีดำพาดผ่านจนถึงปากเหมือน โชวา-ซันโชกุ (Showa Sanshoku)
ฮิ-อุจึริ (Hi-Utsuri) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีแคง ที่มีสีดำเป็นลายอยู่ที่ตัว ที่หางและครีบอกต้องมีแถบสีดำ ที่เรียกว่า โมโตกุโร (Motoguro) ส่วนหัว จะต้องมีลายสีดำพาดผ่านจนถึงปากเหมือน โชวา-ซันโชกุ (Showa Sanshoku)
คิ-อุ จึริ (Ki-Utsuri) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีเหลือง ที่มีสีดำเป็นลายอยู่ที่ตัว ที่หางและครีบอกต้องมีแถบสีดำ ที่เรียกว่า โมโตกุโร (Motoguro) ส่วนหัว จะต้องมีลายสีดำพาดผ่านจนถึงปากเหมือน โชวา-ซันโชกุ (Showa Sanshoku)
 
อาซากิ (Asagi)
อาซากิ (Asagi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่มีสีเทา มีเกล็ดเรียง เหมือนตาข่าย ทั่วตัว ส่วนครีบอก ท้อง และหางมีสีแดง
ฮิ-อาซากิ (Hi-Asagi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่มีตาข่ายสีเทา และพื้นเป็นสีแดงตลอดตัว
 
ชูซุย (Shusui)
ชู ซุย (Shusui) คือ ปลาแฟนซีคาร์ที่เป็นดอยท์ซุ (Doitsu) สีฟ้ามีเกล็ด ที่แนวสันหลังใหญ่เรียงยาวตลอดแนว ส่วนครีบอกหาง และข้างลำตัวมีสีแดง
 
โกโรโมะ (Koromo)
โกโรโมะ (Koromo) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่ไขว้สายพันธ์หลายสายพันธ์ มีชื่อเรียก ดังนี้คือ
ไอ-โกโร โมะ (Ai-koromo) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่ไขว้สายพันธ์หลายสายพันธ์กัน ระหว่าง โคฮากุกับอาซากิ จะได้ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวลายสีแดง เหมือนโคฮากุ แต่ในเกร็ดแดงจะมีสีน้ำเงินปนอยู่
บูโด-โกโรโมะ (Bodo-koromo) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่ไขว้สายพันธ์ หลายสายพันธ์กัน ระหว่าง โคฮากุกับอาซากิ จะได้ปลาแฟนซีคาร์พสีขาวลายสีแดง เหมือนโคฮากุแต่ในเกร็ดแดงจะออกม่วง
ดอยท์-โกโรโมะ (Doitsu-koromo) คือ โคโรโมะทีมีเกล็ดใหญ่ ที่สันหลังยาวตลอด และข้างตัวเรียงเป็นแนวทั้งสองข้างหรือไม่มีเกล็ดที่ตัว

คาวาริโมโน (Kawarimono)
คาวาริโมโน (Kawarimono) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่แยกออกมาจาก สายพันธ์หลักที่มีลักษณะแปลกออกไป กว่าสายพันธ์เดิม มีชื่อเรียกดังนี้ คือ
คาราซึ-กอย (Karasu-goi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีดำทั้งตัว
ฮายิโระ (Hajiro) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีดำแต่ที่ขอบของครีบอก และขอบของ หางเป็นสีขาว
ฮาเงะชิโร่ (Hageshiro) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีดำแต่ที่หัว และขอบของครีบอก เป็นสีขาว
ยดจึชิโร่ (Yotsujiro) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีดำแต่ที่หัวขอบของครีบอก และขอบของหาง เป็นสีขาว
คุม งริว (Kumonryu) คือ ปลาแฟนซีคาร์พทีมีเกล็ดใหญ่ข้างตัวเรียงเป็นแนวทั้งสองข้าง หรือไม่มีเกล็ดที่ตัว ส่วนที่ตัวเป็นสีขาว และมีสีดำเป็นลายที่ตัว
มัตจึบะ-กอย (Matsuba-goi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่มีสีดำ แทรกอยู่ในเกล็ด แต่ละเกล็ดตลอดตัว
คาเงะ-อุจึริ (Kage Utsuri) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อุจึริโมโน แต่สีดำที่เป็นลายจะมีส่วนที่จางๆ ไม่ชัดเจนหมดเหมือนเป็นเงา
คาเงะ-โชวา (Kage Showa) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โชวา-ซันโชกุ แต่สีดำที่เป็นลายจะมีส่วนที่จางๆ ไม่ชัดเจนหมดเหมือนเป็นเงา
โง ชิกิ (Goshiki) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่ผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง อาซากิ กับ อะกะ-เบคโกะ หรือ อาซากิ ผสมพันธุ์กับ ไทโช-ซันโชกุ จึงเป็นปลาที่มีสี 5 สี คือ เทา แดง ดำ ขาว ฟ้า เกล็ดจะเรียงเป็นตาข่ายแบบ อาซากิ มีลายสีแดงแบบ ไทโช-ซันโชกุ
คาโนะโกะ-โคฮากุ (Kanoko Kahaku) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โคฮากุ แต่สายสีแดงที่เกล็ด จะเป็นจุดๆไม่เป็นแถบ เรียงกันแบบลายของโคฮากุ
คิ-กอย (Ki-goi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่มีสีเหลืองอ่อนที่ไม่เป็นเงา ในบางตัว จะมีตาสีแดงเรียกว่า Akame ซึ่งหาได้ยาก
จา-กอย (Cha-goi) คือปลาแฟนซีคาร์พสีส้มแกมน้ำตาลเกร็ดเรียงเป็นตาข่าย
โอ ชิบะ-ชิกุเระ (Ochiba-shigure) คือปลาแฟนซีคาร์พที่มีรูปแบบของ สีเขียว และเทาแต่จะมีลายที่ดัว และมาจากสายของ จา-กอย ซึ่งมาจาก โอกอน อีกที
มิ โดริ-กอย ( Midori-goi) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่ผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ชูซุย เพศเมียกับ ยามาบูกิ-โอกอน เพศผู้ จะได้ปลาแฟนซีคาร์พที่มีสีเขียวสด
 
โอกอน (Ogon)
โอกอน (Ogon) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่มีสีเหมือนทองและผิวมันทั้งตัว มีชื่อเรียกดังนี้
ยามาบูกิ-โอกอน (Yamabuki Ogon) คือ ปลาแฟนซีคาร์พทีมีสีเหลือง ผิวมันทั้งตัว
ออเร้นจ์-โอกอน (Orange Ogon) คือ ปลาแฟนซีคาร์พทีมีสีส้มผิวมันทั้งตัว
ฮิ-โอกอน (Hi Ogon) คือ ปลาแฟนซีคาร์พทีมีสีแดงผิวมันทั้งตัว
แพลตทินัม-โอกอน (Platinum Ogonw) คือ ปลาแฟนซีคาร์พทีมีสีขาว ผิวมันทั้งตัว
มัตจึบะ-โอกอน (Matsuba Ogon) คือ ปลาแฟนซีคาร์พผิวมันที่มีสีดำ แทรกอยู่ในเกล็ด แต่ละเกล็ดตลอดตัว
ดอยท์ซุ-มัต จึบะ-โอกอน (Doitsu Matsuba Ogon) คือ โอกอนที่มี เกล็ดใหญ ่ที่สันหลังยาวตลอดและข้างตัวเรียงเป็นแนวทั้งสองข้าง และสีดำ แทรกอยู่ในเกล็ดแต่ละเกล็ด
ดอยท์ซุ-โอกอน (Doitsu Ogon) คือ โอกอนทีมีเกล็ดใหญ่ที่สันหลัง ยาวตลอด และข้างตัว เรียงเป็นแนวทั้งสองข้างหรือไม่มีเกล็ดที่ตัว
 
ฮิการิ-โมโยโมโน (Hikari-moyomono)
ฮิการิ-โมโยโมโน (Hikari-moyomono) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสีพื้นเป็นสีมันเงา ที่มีรูปแบบของสี 2 สีหรือมากกว่า มีชื่อเรียกดังนี้คือ
ยามาโตะ-นิชิกิ (Yamato-nishiki) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ไทโช-ซันโชกุ มีสีพื้นเป็นสีมันเงา
คุจากุ- โอกอน (Kujaku Ogon) คือ ปลาแฟนซีคาร์พที่มีสีพื้น เป็นตาข่ายสีเงิน ทีมีลายสี ส้ม หรือ น้ำตาล
ซากุระ-โอกอน (Sakura Ogon)
 
ฮิการิ-อุจึริโมโน (Hikari Utsurimono)
ฮิการิ-อุจึริโมโน (Hikari Utsurimono) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ อุจึริ ที่มีสีพื้นเป็นมันเงา มีชื่อเรียกดังนี้
คิน-โชวา (Kin Showa) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โชวา-ซันโชกุ ที่มีสีพื้นเป็นมันเงา
กิน-ชิโร่ (Gin Shiro) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ชิโร่-อุจึริ ที่มีสีพื้น เป็นมันเงา
คิน-คิ-อุจึริ (Kin Ki Utsuri) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ คิ-อุจึริ หรือ ฮิ-อุจึริ ที่มีสีพื้นเป็นมันเงา
 
คินกินริน (Kinginrin)
คินกินริน (Kinginrin) คือปลาแฟนซีคาร์พที่มีเกล็ดเป็นประกายทั้งตัว มีชื่อดังนี้
คินกินริน-โคฮากุ (Kinginrin Kohaku) คือปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โคฮากุ ที่มีเกล็ดเป็นประกายทั้งตัว
คินกินริน-ซันโชกุ (Kinginrin Sanshoku) คือปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ไทโช-ซันโชกุที่มีเกล็ดเป็นประกายทั้งตัว
คินกินริน-โชวา (Kinginrin Showa) คือปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โชวา-ซันโชกุ ที่มีเกล็ดเป็นประกายทั้งตัว
คินกินริน-อุจึริ (Kinginrin Utsuri) คือปลาแฟนซีคาร์พ สายพันธุ์ ชิโร่-อุจึริ คิ-อุขึริ ฮิ อุจึริ ที่มีเกล็ดเป็นประกายทั้งตัว
คินกินริน-เบคโกะ (Kinginrin Bekko) คือปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ชิโร่-เบคโกะ ที่มีเกล็ดเป็นประกายทั้งตัว
คินกินริน-ฮิการิโมโน (Kinginrin Hikarimono) คือปลาแฟนซีคาร์พ สายพันธุ์ ฮิการิโมโน ที่มีเกล็ดเป็นประกายทั้งตัว
 
ตันโจ (Tancho)
ตันโจ (Tancho) คือคาร์พมีทีสีแดงเป็นวงกลมอยู่ที่หัว มีชื่อเรียกดังนี้
ตันโจ-โคฮากุ (Tancho Kohaku) คือปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โคฮากุ ที่มีสีแดงเป็นวงกลมอยู่ที่หัว แต่ที่ตัวไม่มีลาย
ตันโจ-ซันโชกุ (Tancho Sanshoku) คือปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ชิโร่-เบคโกะ ที่มีสีแดงเป็นวงกลมอยู่ที่หัว
ตันโจ-โชวา ( Tancho Showa) คือปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โชวา-ซันโชกุ หรือ ชิโร่-อุจึริ ที่มีสีแดงเป็นวงกลมอยู่ที่หัว
ตันโจ-กินริน (Tancho Ginrin) คือปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ คินกินริน ที่มีสีแดงเป็นวงกลมอยู่ที่หัว
ตันโจ-โงชิกิ (Tancho Goshiki) คือปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โงชิกิ ที่มีสีแดงเป็นวงกลมอยู่ที่หัว
คุโร-ตันโจ (Kuro Tancho) คือปลาแฟนซีคาร์พมีทีสีดำเป็นวงกลมอยู่ที่หัว
 
บัตเตอร์ฟายล์-กอย (Butterfly Koi)
บัตเตอร์ฟายล์-กอย (Butterfly Koi) คือปลาแฟนซีคาร์พที่มีครีบ และหางยาวคล้ายผีเลื้อขณะว่ายน้ำ มีชื่อเรียกดังนี้ คือ
บัตเตอร์ฟายล์-โคฮากุ (Butterfly Kohaku) คือปลาแฟนซีคาร์สายพันธุ์ โคฮากุ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเลื้อ
บัตเตอร์ฟายล์-ไทโช-ซันโชกุ (Butterfly-Taisho-Sanshoku) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ไทโช-ซันโชกุ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเลื้อ
 
บัตเตอร์ฟายล์-โชวา-ซันโชกุ (Butterfly- Showa-Sanshoku) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โชวา-ซันโชกุ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเลื้อ
บัตเตอร์ฟายล์-ชิโร่-เบคโกะ (Butterfly Shiro Bekko) คือ ปลาแฟนซีคาร์พ สายพันธุ์ ชิโร่-เบคโกะ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเลื้อ
บัตเตอร์ฟายล์-ชิโร่-อุจึริ (Butterfly Shiro Utsuri) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ชิโร่-อุจึริ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเสื้อ
บัตเตอร์ฟายล์-ฮิการิโมโน (Butterfly Hikari-moyomono) คือ ปลาแฟนซีคาร์พ
สายพันธุ์ ฮิการิ-โมโยโมโน ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเสื้อ สายพันธุ์ ฮิการิ-โมโยโมโน ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเสื้อ

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปลาทอง


ปลาทอง

ปลาทอง
ประวัติของปลาทอง
ปลาทองมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคน ได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูน่าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการ แปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่น แต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรง ไขมันส่วนเกินก็ไม่มี หุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายนิวาสสถานมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้ว ก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติ สืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายแหล่ต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE
อาหารปลาทอง
อาหารธรรมชาติ ถึงแม้ปลาทองจะเป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร (Omnivorous) แต่ในธรรมชาติชอบกินอาหารพวกลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemia) หนอนแดง และ ไส้เดือนน้ำ อาหารมีชีวิตเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารสูงทำให้ปลาโตเร็วมีความสมบูรณ์ทางเพศดี เหมาะสมต่อการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง โดยให้วันละ 2-3 ครั้ง อาหารธรรมชาติจะให้ในสภาพ ที่มีชีวิตหรือตายแล้วก็ได้ หากเป็นอาหารที่ตายแล้วต้องให้ปริมาณที่พอเหมาะ ถ้ามีอาหารเหลือต้อง รีบดูดทิ้งทันที เนื่องจากอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียและเกิดโรคได้ ปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมและราชบุรีได้เพาะเลี้ยงปลาทองโดยใช้หนอนแมลงวันหรือ หนอนขี้หมูขาว ซึ่งเกิดในบริเวณเล้าหมู เรียกว่า หนอนขี้หม ู นำมาเลี้ยงปลาใช้เป็นอาหารปลาทอง ขนาดอายุ 1-2 เดือนขึ้นไป แต่ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาควรระวังอย่าให้กินหนอนขี้หมูมาก เพราะ จะทำให้ปลาอ้วนเกินไปซึ่งมีผลทำให้ปริมาณไข่ที่ออกน้อย
สายพันธุ์และแหล่งกำเหนิดของปลาทอง
  • ชื่อไทย ทองหัวสิงห์
  • ชื่ออังกฤษ Lion head gold fish
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Carasius auratuss
  • แหล่งกำเนิด ประเทศจีน


   ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทองชนิดที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา ปลาชชนิดนี้มีรูปทรงสง่างาม มีอยู่ 2สายพันธุ์คือ สิงค์จีนและสิงห์ญี่ปุ่น สิงห์จะมีลักษณะ หัวใหญ่ส่วนใหญ่จะมีวุ้นหนา ลำตัวยาว สิงห์ญี่ปุ่นส่วนหัวจะเล็กกว่าส่วนใหญ่ไม่มีวุ้น ลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้นดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ ลึกไม่เกิน นิ้ว จะทำให้ปลามีรูปร่างสวยงาม
  • ชื่อไทย ริวกิ้น
  • ชื่ออังกฤษ Veiltail
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Carrasius auratus
  • แหล่งกำเนิด ประเทศจีน

  
     ปลาทองริ้วกิ้นเป็นปลาทองที่นิยมของผู้เลี้ยงปลา เนื่องจากมีรูปทรงสวยงาม ลำตัวป้อมสั้น ท้องใหญ่ หางยาวเป็นพวง ส่วนหัวสูง ลำตัวเป็นสีส้ม หรือส้มแดงปนขาว เวลาว่ายน้ำจะเป็นถ่วงท่าที่ดูสง่างาม ปลาชนิดนี้มีทั้งที่สั่งมาจากประเทศญี่ปุ่นและเพาะพันธ์ ขึ้นเองในประเทศ ปลาจากญี่ปุ่นจะมีรูปร่างและสีดีกว่าของไทยแต่มีราคาสูงกว่าของไทยมาก ตู้ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องมีน้ำใสสะอาด ไม่ควรให้น้ำเย็นเกินไป ปลาริ้วกิ้นชอบกินลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ
  • ชื่อไทย ชูบุงกิง
  • ชื่ออังกฤษ Speckled gold fish
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus

ปลาทองชุงบุงกิง หรือตลาดค้าปลาสวยงาม เรียกว่า ชูบานกิ้น เป็นปลาทองที่มี ลักษณะเด่นที่มีครีบหางเดี่ยวแยกเป็น แฉก ลำตัวเรียวยาว ลำตัวส่วนมากมีสีส้ม ส้มแดง แดงขาว อาจมีสีดำประบ้าง ปลาทองชนิดนี้เลี้ยงง่าย เป็นปลาที่มีความทนทานมาก ว่ายน้ำ ได้ปราดเปรียว กินอาหารเก่ง กินได่แทบทุกประเภท ปลาทองชุงบุงกิงเทื่อเลี้ยงอยู่ในบ่อ ดูเผิน ๆ จะคล้ายกับปลาคาร์ปมาก บางตัวมีสีสดสวยกว่าปลาคาร์ป ปลาชนิดนี้จึงเป็น ที่นิยมเลี้ยงกันมากชนิดหนึ่ง
  • ชื่อไทย ทองเล่ห์
  • ชื่ออังกฤษ Telescope black moor
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
  • แหล่งกำเนิด ประเทศจีน

     
    ปลาทองเลห์ เป็นปลาที่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวสีดำสนิทแม้กระทั่งครีบ ทุกครีบ ปลาชนิดนี้นับว่าเป็นที่นิยมเลี้ยงกันพอสมควร เป็นปลาทองที่มีตาโตโปน ออกมา ครีบหางบานใหญ่ บางชนิดมีชื่อเรียกว่า เล่ห๋ตุ๊กตา หรือเล่ห์หางผีเสื้อ เนื่องจากครีบหางแผ่กว้างสวยงามคล้ายผีเสื้อ จัดว่าเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้สง่างาม น่ารัก เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายชอบอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล หนอนแดงและอาหารสำเร็จรูป สามารถเลี้ยงปนกับปลาทองชนิดอื่นได้ 
  • ชื่อไทย ทองตาลูกโป่ง
  • ชื่ออังกฤษ Buble eye gold fish
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
  • แหล่งกำเนิด ประเทสจีน

     
    ปลาทองตาลูกโป่งเป็นปลาที่มีลักษณะเด่นเป็นที่สังเกตได้ง่ายตรงที่มีตาใหญ่ คล้ายลูกโป่ง ทำให้ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดี ปลาชนิดนี้มีลำตัวยาว ปกติจะไม่มีครีบหลัง การที่มีตาขนาดใหญ่ทำให้ว่ายน้ำได้เชื่องช้า คนส่วนใหญ่ชอบซื้อปลาที่มีขนาดตาใหญ่ ข้างเสมอกัน การเลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นปลาที่เปราะบาง มีจุดอ่อนที่ตา ไม่ควรเลี้ยงกับปลาที่ดุร้ายอื่นๆ กินลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ 
  • ชื่อไทย ทองเกล็ดแก้ว
  • ชื่ออังกฤษ Peal Scale Gold Fish
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius aruatus 
  • แหล่งกำเนิด ประเทศจีน

      
   ปลาทองเกล็ดแก้วมีลักษณะเด่นอยู่ที่ลำตัวป้อมสั้น ส่วนมากจะกลม เกล้ดจะ หนานูนขึ้นแตกต่างกับปลาทองพันธ์อื่น ๆ ปลาที่มีลักษณะดีเกล็ดควรจะเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวอาจมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ ปลาทองเกล็ดแก้วเป็นปลาทองที่ต้องการการดุแลเอาใจใส่ เป็นพิเศษ เป็นปลาที่ค่อนข้างจะบอบบาง กินอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ด ไม่ควรเลี้ยงปนกับปลาชนิดอื่น


  • ชื่อไทย ทองออแรนดา
  • ชื่ออังกฤษ Oranda
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
  • แหล่งกำเนิด ประเทศจีน
    
    ปลาทองออแรนดาเป็นปลาทองที่มีช่วงลำตัวยาว ครีบทุกครีบยาว โดยเฉพาะ ครีบหางจะยาวเป็นพวงสวยงาม บริเวณหัวอาจจะมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ เป็นปลาที่สามารถ เจริญเติบโตมีขนาดใหญ่กว่าปลาทองชนิดอื่นปลาชนิดนี้เลี้ยงง่ายเป็นที่รู้จักทั่วไป กิน อาหารจำพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ดสลับกันไป เลี้ยงรวมกับปลาทองชนิดอื่นได้