วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ความแตกต่างระหว่าง เหรียญแท้และเหรียญปลอม......พร้อมเคล็ดลับ ดีๆ
พระเหรียญ ประเภทเหรียญพระพุทธ และ เหรียญพระคณาจารย์รุ่นเก่าๆ
พระเหรียญ เหรียญพระเกจิ เหรียญแท้และเหรียญปลอม ดูอย่างไร พระเครื่อง พระเหรียญ ประเภทเหรียญพระพุทธ และ เหรียญพระคณาจารย์ เหรียญพระเกจิรุ่นเก่าๆ มีค่านิยมสูงมาก ทำปลอมใกล้เคียงยิ่งขึ้น ความคมชัดของตัวหนังสือ เส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ด้านข้างขอบเหรียญ เป็นจุดสำคัญ
การศึกษาเรื่องราวของพระเครื่อง ประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์ เหรียญพระเกจิ รุ่นเก่าๆ นั้น มีค่านิยมสูงมาก การทำปลอม จึงพัฒนาวิธีการทำให้ใกล้เคียงกับของเหรียญแท้ยิ่งขึ้น โดยวิธีการที่ง่าย และเป็นที่นิยมที่สุด คือ การนำเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ ซึ่งจะทำให้ได้เหรียญปลอมที่มีจุดตำหนิทั้งด้านหน้าและด้านหลังใกล้เคียงกับ ของจริงมาก
อย่างไรก็ตาม ความคมชัดของตัวหนังสือ เส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ตลอดจนด้านข้างของเหรียญ ก็ยังเป็นจุดสำคัญ ที่สามารถใช้ในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเหรียญแท้และเหรียญปลอมได้อย่าง ชัดเจนที่สุด
ในอดีตผู้สนใจศึกษาพระเหรียญ พระเครื่องประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์ เหรียญพระเกจิ หลายคนเลือกที่จะใช้วิธีการจดจำรายละเอียดที่สำคัญของตำหนิเหรียญทั้งหมด ซึ่งในพระเหรียญ 1 เหรียญอาจจะมีจุดตำหนิให้จดจำมากถึง 10 จุด นั่นหมายความว่า หากเราต้องเรียนรู้เหรียญ 100 เหรียญ เราจะต้องจดจำตำหนิทั้งหมดถึง 1000 จุด เลยทีเดียว
ดังนั้นแทนที่จะใช้วิธีการจดจำตำหนิทั้งหมด ผมกลับมีเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาเหรียญแต่ละเหรียญ ด้วยวิธีการที่ง่ายกว่านั้น นั่นก็คือ
พระเหรียญ การศึกษาธรรมชาติของเหรียญ โดยอาศัยหลักพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่
1.ความคมชัดของตัวหนังสือ หรืออักขระยันต์
2.พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก
3.การเจาะรูหูเหรียญ ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติ และ
4.วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย
ทั้ง 4 ประการนี้ ถือเป็นจุดที่ใช้ในการพิจารณาเหรียญว่าแท้หรือปลอม ได้ชัดเจนยิ่งกว่าการจดจำตำหนิ
ที่สำคัญยังสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาพระเหรียญ ได้ทุกเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญในยุคสมัยใดก็ตาม เพราะถึงแม้ว่ากรรมวิธีการทำปลอมในปัจจุบันจะสามารถทำได้ใกล้เคียงกับของ จริงแค่ไหน แต่ธรรมชาติของการผลิตเหรียญแต่ละยุค พระเหรียญ เหรียญพระเกจิ ย่อมมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
เหรียญพระเกจิ เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่นแรก พ.ศ.2507 ตัวตัดขอบ ตัวเดียวกัน รอยตัดขอบเหรียญ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพระเหรียญ การซื้อ-ขายเหรียญในปัจจุบัน ผู้ชำนาญการจะใช้วิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญเป็นบทสรุปว่า แท้หรือไม่
เพราะ...ขอบด้านข้างของเหรียญพระ เป็นสิ่งเดียวที่ยังไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือน
เนื่องจากร่องรอยที่ด้านข้างของเหรียญนั้น คือ ร่องรอยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากขั้นตอนการผลิตในแต่ละยุคสมัย
อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหรียญพระเครื่องต่างๆ ตามข้อสังเกต 4 ข้อข้างต้นนั้น จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปเช่าหาเหรียญมาศึกษา
อีกทั้งเหรียญพระเครื่องที่เป็นที่นิยมของวงการ ล้วนแล้วแต่เป็นพระเหรียญ ที่มีราคาแพง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านแทบทั้งสิ้น
ปัญหาจุดนี้ ผมจึงเสนอแนะแนวทางที่ประหยัดกว่า และน่าสนใจ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาแต่มีทุนน้อย นั่นก็คือ ให้ใช้วิธีไปเช่าเหรียญเก่าที่วงการไม่นิยม และมีราคาไม่แพงแทน เพื่อนำมาศึกษาธรรมชาติของเหรียญที่เกิดจากวิวัฒนาการในการปั๊ม และการตัดขอบเหรียญ ของ เหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์
เพราะเหรียญพระเครื่องที่ออกมาในยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน ย่อมจะมีขั้นตอนการผลิตที่คล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ทำความเข้าใจ ผมจึงจำแนกเหรียญพระเครื่องต่างๆ ตามกรรมวิธีการปั๊มตัดข้างเหรียญ โดยแบ่งออกเป็นออก 3 ยุคสำคัญ คือ
ยุคที่ 1.ประมาณ พ.ศ.2440-2485
ยุคที่ 2.ประมาณ พ.ศ.2486-2499 และ
ยุคที่ 3.ประมาณ พ.ศ.2500-ปัจจุบัน
1. ช่วงปี พ.ศ.2440-2485 เป็นช่วงที่นิยมสร้างพระเหรียญ เหรียญลักษณะรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา ซึ่งรูปทรงเหรียญทั้ง 4 ชนิดนี้ สามารถแยกตามกรรมวิธีการสร้างได้เป็น 2 ชนิด คือ เหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย และเหรียญชนิดปั๊มข้างกระบอก
โดยเหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย ก็คือ การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้ตามลักษณะรูปทรง ที่ต้องการ จากนั้นจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ
ส่วนการปั๊มข้างกระบอก ก็คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้ตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และการปั๊มเหรียญนั้นๆ ดังนั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงมีความเรียบเนียน เนื่องจากการกดปั๊มโดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ
อย่างไรก็ตาม บางเหรียญอาจมีเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างเหรียญ ซึ่งเกิดจากการแต่งขอบให้สวยงามก็ได้
2. เหรียญชนิดปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดยุคเก่า) เป็นยุคที่เริ่มพัฒนากรรมวิธีการจัดสร้างเหรียญ ด้วยการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น มาใช้แทนกรรมวิธีแบบเก่า ที่ใช้การเข้ากระบอก และต้องเลื่อยขอบออก เพื่อตกแต่งในขั้นตอนสุดท้าย ด้านข้างของเหรียญจะมีลักษณะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก
3. หรียญปั๊มตัดยุค พ.ศ.2500-ปัจจุบัน ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาตัวตัดข้างเหรียญที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกในการตัดขอบเหรียญในจำนวนมากๆ ตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีผู้จัดทำหนังสือชี้ตำหนิด้านหน้า-ด้านหลังของเหรียญออกมาแล้วมากมาย หลายต่อหลายเล่ม แต่การเจาะลึกถึงรายละเอียดวิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ และเป็นบทสรุปความจริง-ปลอมของเหรียญแบบนี้นั้น แทบจะไม่เคยปรากฏในหนังสือเล่มใดเลย
วิธีดูพระเครื่องประเภทเหรียญ บทความพระเครื่อง เกี่ยวกับวิธีการดู พระเครื่องประเภทเหรียญ พระเครื่องประเภทเหรียญปัจจุบันนี้ เล่นยากมากเลยมี วิธีดูพระเครื่องประเภทเหรียญ มาฝากกัน
วิธีการดูพระเครื่อง วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์ขอเอาใจคนชอบพระเครื่องประเภทเหรียญ โดยมีวิธีการดูพระเครื่องประเภทเหรียญมาบอก...
ที่มา... Daily News Online
พระเครื่องประเภทเหรียญปัจจุบันนี้ เล่นยากมาก เพราะทำเก๊ได้เหมือนของแท้เหลือเกิน โดยเฉพาะเก๊คอมพิวเตอร์
วิธีดูพระเครื่องประเภทเหรียญ
เมื่อพบเหรียญใด ๆ ให้ดูด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมหรือไม่ ถ้าบวมหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์เอง เช่น เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนรฯ
เมื่อเหรียญไม่บวมก็ให้ดูตำหนิเทียบกับหนังสือพระเครื่องทั่ว ๆ ไปได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้าเหรียญผิดพิมพ์หรือไม่มีตำหนิ ก็คือ เก๊แน่นอน จากแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2 กรณีคือ
1.แท้
2.เก๊คอมพิวเตอร์
การแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้องดูตำหนิแล้ว ให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจากเหรียญแท้เสมอ หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่
ถ้าใครจะเลือกพระเครื่องประเภทเหรียญ ก็ลองนำขั้นตอนที่แนะนำไปพิจารณาในการเลือกจะได้ไม่โดนพระเครื่องเหรียญของเก๊หลอก.
"ขอบเหรียญ" ความลับของ "เหรียญแท้"บอย ท่าพระจันทร์ เซียนพระวัย ๒๘
ในบรรดา “เซียนพระ” ผู้ประสบความสำเร็จบนเส้นทางอาชีพสายนี้ อรรถวัติ ศิริสิทธิธงไชย หรือ “บอย ท่าพระจันทร์” นับได้ว่าเป็นผู้มี อายุน้อยที่สุด ณ วันนี้ด้วยวัยเพียง ๒๘ ปี “บอย”
สามารถซื้อขายพระราคาหลักแสนหลักล้านด้วยสายตาตัวเอง จนสร้างฐานะความเป็นอยู่อย่างมั่นคง และน่าภาคภูมิใจยิ่ง
บอย ท่าพระจันทร์ เล่าว่า เมื่อสมัยที่เรียนอยู่ชั้น ม.๒ (ปี ๒๕๓๗) ที่โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ท่าพระ มีเพื่อนคนหนึ่งชอบอ่านหนังสือพระ มาชวนให้เล่นพระ (เอาพระไปซื้อขายกัน) จึงไปค้นหาพระที่บ้าน แต่ไม่มี เพราะตอนย้ายบ้านไม่ได้เอามาด้วย จึงไปขออาก๋ง ซึ่งมีพระเก็บมากมาย รื้อดูแล้วไม่มีพระเหมือนกับที่ได้เห็นจากหนังสือของเพื่อนเลย
เมื่อเริ่มสนใจพระ จึงได้หาหนังสือมาอ่าน โดยเฉพาะเล่มที่ลงเรื่องเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ ยิงฟันไม่เข้า แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ชอบมาก
บอยเล่าว่า “วันหนึ่งได้พระมาจากอาก๋งองค์หนึ่ง เป็นพระสมเด็จ พิมพ์เส้นด้าย บางขุนพรหม ดูจากหนังสือพระเขาลงราคาไว้ ๑ ล้านบาท จึงเอาไปขายที่สนามท่าพระจันทร์ มีเซียนคนหนึ่งถามว่า ขายไหม ๕ หมื่นบาท คำถามนี้ทำให้ผมตื่นเต้นมาก คิดว่าพระองค์นี้ต้องแท้แน่ เขาถึงได้ขอซื้อ จึงตอบไปว่าไม่ขาย เพราะรู้อยู่แล้วในหนังสือลงไว้ตั้ง ๑ ล้านบาท เซียนคนนั้นเห็นผมปฏิเสธ จึงพูดต่อว่าเอาไปเลย ๑ แสนขายไหม ผมก็ยืนยันเหมือนเดิมไม่ขาย คราวนี้เซียนพระบอกอีกว่า งั้นไปเอาไป ๕ แสนขายไหม มาถึงตรงนี้ ผมชักลังเลใจเงินตั้ง ๕ แสนบาท ผมยังไม่เคยจับต้องมาก่อน แลกกับพระสมเด็จ ๑ องค์ ถ้าขายพระองค์นี้ไป ผมก็ได้เงินตั้ง ๕ แสนบาท ช่างมากมายจริงๆ ก็เลยตอบตกลงเขาไปว่าผมขายให้ก็ได้ ๕ แสนบาท เขาเลยพูดออกมาดังๆ ว่า ไอ้น้อง...นี่มันพระเก๊ เก๊กระจอก กูหลอกมึงเล่นๆ ต่างหาก คำพูดของเซียนคนนั้น ทำเอาผมแทบจะลืมหายใจ จะหมดแรงฟุบอยู่ตรงนั้นให้ได้ อึ้งไปหมด พลางคิดว่า เข้าสนามพระวันแรกก็เจอดีซะแล้ว เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดเมื่อ ๑๐ ปีก่อน จนทุกวันนี้ ผมยังจำเซียนพระคนนั้นได้ แต่เขาอาจจะจำผมไม่ได้”
บอยกลับบ้านด้วยความผิดหวัง และเจ็บใจเซียนพระคนนั้นมาก จึงคิดว่าหากจะมุ่งมั่นเดินทางสายนี้ จะต้องหาหนังสือพระมาอ่านให้มากกว่านี้ และต้องศึกษาหาความรู้อย่างจริงจัง โดยเหตุที่บ้านอยู่ใกล้กับวัดประดู่ฉิมพลี จึงไปหาพระหลวงปู่โต๊ะที่วัด เช่ามา ๓๐๐ บาท เป็นพระรุ่นออกใหม่ หลังจากหลวงปู่โต๊ะมรณภาพไปแล้ว (หลวงปู่โต๊ะมรณภาพ ๕ มีนาคม ๒๕๒๔)
จากนั้นจึงเอาพระหลวงปู่โต๊ะที่เช่ามาจากวัด ไปวางขายที่สนามท่าพระจันทร์ แต่ขายไม่ได้ เพราะเป็นพระใหม่ เขาไม่เล่นกัน
จึงคิดอีกว่า หากจะขายพระให้ได้ จะต้องหาพระรุ่นเก่าของหลวงปู่โต๊ะ โดยหาหนังสือตำราพระต่างๆ มาศึกษา เน้นเฉพาะพระหลวงปู่โต๊ะ รุ่นที่สร้างในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น
วันหนึ่ง เข้าสนามพระท่าพระจันทร์อีก ไปพบเห็นเหรียญหลวงปู่โต๊ะ รุ่นปี ๒๕๑๗ ที่ร้านของ เฮง ท่าพระจันทร์ ราคา ๑,๕๐๐ บาท จึงซื้อมา พร้อมกับขอให้รับประกันให้ด้วยว่าต้องแท้แน่ เฮียเฮงบอกว่า ไม่มีปัญหา รับประกันว่าเป็นของแท้ เบื่อเมื่อไรเอามาขายคืนได้เลย
หลังจากนั้น ได้เอาเหรียญนี้ไปขายคนแถวบ้านในราคา ๑,๘๐๐ บาท ได้กำไร ๓๐๐ บาท รู้สึกดีใจมาก ที่พระขายได้ และได้กำไรอีกด้วย นับเป็นครั้งแรกที่สามารถหาเงินได้ด้วยตัวเอง จึงมีกำลังใจขึ้นมาก
จากการเข้าสนามพระบ่อยๆ ทำให้เซียนพระคนหนึ่งจำหน้าได้ และเห็นว่าบอยสนใจเรื่องพระจริงๆ จึงชวนให้มาอยู่ด้วยกัน โดยให้ทำหน้าที่ เช็ดตู้พระ แล้วจะสอนวิธีดูพระให้ บอยรีบตอบตกลงทันที
ช่วงนั้น บอยเลยหนีเรียนมาทำงานเช็ดตู้พระเฝ้าตู้พระที่ท่าพระจันทร์เป็นประจำ ด้วยหวังว่า จะได้เรียนรู้ดูพระจากของจริง โดยได้รับค่าจ้างวันละ ๑๐๐ บาท
อย่างไรก็ตาม เจ้าของตู้พระไม่ยอมให้บอยสัมผัสจับต้ององค์พระเลย โดยบอกว่า อย่าหยิบขึ้นมาดู เดี๋ยวจะทำพระตกหล่นเสียหายได้ บอยจึงต่อรองว่า งั้นไม่ขอรับค่าจ้างก็ได้ ขอเปลี่ยนเป็นหยิบองค์พระขึ้นมาส่องดูบ้างจะได้ไหม เขาก็ยังปฏิเสธลูกเดียว
เมื่อเขาไม่ยอมให้ส่องพระ บอยจึงขอเปลี่ยนหน้าที่เป็น คนเรียกพระ หมายถึงคนที่ทำหน้าที่สอบถามลูกค้าเวลาเดินผ่านหน้าตู้พระว่า...พี่มีพระให้ดูไหม...
้าหากลูกค้ามีพระให้ดู หรือจะขาย ก็เอาพระให้เจ้าของตู้เขาดู ถ้าเป็นพระแท้ เขาก็จะซื้อแล้ว คนเรียกพระ ก็จะได้เงินตอบแทน มากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่เขาจะให้
คนเรียกพระ ที่ว่านี้ก็คือ ผีสนาม ที่คนในวงการพระเรียกขานกันนั่นเอง
ผีสนาม ที่ทำหน้าที่เก่งๆ มีโอกาสได้ดูพระแท้บ่อยๆ รวมทั้งดูได้ว่า พระปลอม เป็นแบบไหน หลายคนได้กลายเป็น เซียนพระชื่อดัง ไปแล้วก็มี
บอยทำหน้าที่ ผีสนาม อยู่พักหนึ่ง ก็บอกลาเจ้าของตู้พระ ขอทำงานอิสระ โดยเดินหาพระในสนามด้วยตัวเอง อาศัยที่ได้เปิดดูตำราพระมากมายหลายเล่ม โดยเน้น พระหลวงปู่โต๊ะ รุ่นเก่า รวมทั้งได้เห็นพระองค์จริงในตู้พระของคนอื่น จนสามารถจดจำพิมพ์ทรงองค์พระได้แม่นพอสมควร
วันหนึ่ง มีคนเอาพระ พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว มาขายให้บอยในราคา ๑,๗๐๐ บาท โดยบอกว่าเป็น พระหลวงพ่อโชติ วัดตะโน บอยจึงรับซื้อไว้ด้วยความดีใจ เพราะพระองค์นี้ บอยมั่นใจว่าจะต้องเป็น พระหลวงปู่โต๊ะ พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว แช่น้ำมนต์อย่างแน่นอน อันเป็นสุดยอดของ พระหลวงปู่โต๊ะ ๑๓ พิมพ์ยุคแรก โดยใช้แม่พิมพ์อันเดียวกันกับ พระหลวงพ่อโชติ วัดตะโน แต่ต่างกันที่เนื้อหามวลสารเท่านั้น เรื่องนี้หากใครอ่านตำราพระหลวงปู่โต๊ะจะรู้ดี
พระองค์นี้บอยขายต่อได้ในราคา ๒๗,๐๐๐ บาท โดยขายให้กับเซียนพระในท่าพระจันทร์นั่นแหละ ได้กำไรกว่า ๒ หมื่น
ณ จุดนี้บอยบอกว่า รู้สึกภูมิใจมาก ที่ดู พระหลวงปู่โต๊ะ ได้แล้วอย่างไม่ผิดพลาด หากเป็นการทำข้อสอบภาคปฏิบัติ ก็ต้องถือว่า สอบผ่าน คะแนนร้อยเต็มร้อย
กำลังใจที่คิดว่า จะเอาดีทางซื้อขายพระก็มีมากขึ้นด้วย บอยจึงหนีเรียนบ่อยขึ้น แต่อาศัยที่เป็นคนหัวดี จำแม่น การทำข้อสอบในห้องเรียนจึงไม่มีปัญหา เอาแค่สอบผ่านก็พอใจแล้ว พอเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ แล้วก็ไปเรียนต่อชั้น ปวช.ที่พณิชยการราชดำเนิน จบแล้วเข้าเรียนต่อระดับ ปวส.
ขณะที่เรียนก็ไปซื้อขายพระเหมือนเดิม จนเรียนจบ ปวส. จากนั้นจึงไปเรียนต่อที่ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ โดยเรียนอยู่ ๒ ปี จบปริญญาตรี สาขาการตลาด
ช่วงที่เรียน ม.ธุรกิจฯ นั้นเรียนภาคค่ำ ส่วนตอนกลางวันไปอยู่สนามพระท่าพระจันทร์ ซื้อขายพระไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะพระหลวงปู่โต๊ะ ไม่มีพลาด ดูได้ทุกพิมพ์ ได้มาขายไป กำไรทุกองค์
การซื้อขายพระในช่วงแรกๆ บอยฝากตู้พระรุ่นพี่ที่สนามท่าพระจันทร์ ต่อมาจึงได้เซ้งตู้มาเป็นของตนเอง
เมื่อปี ๒๕๓๘ สนามท่าพระจันทร์ น้ำท่วมหนัก เซียนพระท่าพระจันทร์จึงต้องไปซื้อขายกันที่สนามพระพญาไม้ เชิงสะพานพุทธ ฝั่งธนบุรี บอยก็ไปกับเขาด้วย
ช่วงนั้นทำให้บอยได้พบกับเซียนพระผู้ใหญ่ใจดี คือ วิรัตน์ ท่าพระจันทร์ ผู้ชำนาญเรื่องเหรียญพระเกจิอาจารย์ต่างๆ รวมทั้งพระอีกหลากหลายประเภท โดยเฉพาะสายหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
พี่วิรัตน์แนะนำบอยว่า การเล่นพระหลวงปู่โต๊ะอย่างเดียว จะทำให้หนทางแคบ หากินลำบาก โอกาสจะได้ของฟลุคก็ยาก ต้องซื้อขายพระอย่างอื่นด้วย ถึงจะก้าวหน้า มีเงินใช้ไม่ขาดมือ โดยแนะนำให้ศึกษาเหรียญพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า
บอยจึงตั้งหน้าตั้งตาศึกษาเหรียญรุ่นเก่าทุกอย่าง จากตำราที่มีอยู่ในวงการพระทุกเล่ม รวมทั้งคำแนะนำจากเซียนพระรุ่นพี่ โดยเฉพาะ พี่วิรัตน์ ได้ให้อะไรมากเป็นพิเศษ
จากการศึกษาเหรียญรุ่นเก่าอย่างจริงจัง ทำให้เห็นความแตกต่างของ ขอบเหรียญ ที่มีการ ตัดขอบ ไม่เหมือนกัน ในแต่ละยุคแต่ละสมัย จนแยกได้ว่า เหรียญเก่ายุคแรก ตัดขอบด้วยวิธีที่เรียกว่า ข้างกระบอก ต่อมาเป็นยุคตัดขอบด้วยการ เลื่อย ทีละเหรียญ แล้วมาถึงยุคปัจจุบัน เป็นการตัดขอบด้วย เครื่องปั๊มตัดขอบเหรียญ
การสังเกตขอบเหรียญทำให้รู้ได้ว่า ตัดขอบด้วยวิธีไหน โดยรอยตัดขอบของเหรียญแต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกัน ส่วนเหรียญยุคใหม่ รุ่นเดียวกันพิมพ์เดียวกัน ที่ตัดขอบด้วยเครื่องปั๊ม ส่วนใหญ่รอยตัดขอบจะเหมือนกัน
เรื่องเหล่านี้ยังไม่เคยมีหนังสือหรือตำราพระเล่มไหนลงพิมพ์เผยแพร่มาก่อนเลย บอยจึงคิดว่า สักวันหนึ่งเมื่อมีกำลังพร้อมในทุกด้าน จะต้องนำความรู้เรื่อง ขอบเหรียญ เหล่านี้ออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนให้ได้
แล้วในที่สุด บอยก็สามารถทำได้ โดยการจัดพิมพ์หนังสือ เหรียญยอดนิยม อมตะแดนสยาม เล่มแรกออกวางตลาดเมื่อปี ๒๕๕๐ ปรากฏว่า ขายดีมาก มีผู้สั่งซื้อหมดในระยะเวลาไม่กี่วัน
ขณะนี้บอยกำลังจัดทำหนังสือ เหรียญยอดนิยม เล่ม ๒ อยู่อย่างขะมักเขม้น โดยเปิดให้สั่งจองในราคาเล่มละ ๑,๘๐๐ บาท จากราคาปก ๒,๕๐๐ บาท (สอบถามได้ที่โทร.๐๘-๑๘๖๐-๘๖๖๓, ๐๘-๕๙๔๔-๔๔๒๓ )
ทุกวันนี้ บอยได้เปิดร้านพระของตัวเองขึ้นที่ ชมรมพระเครื่องมรดกไทย ชั้น ๓ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ถึง ๒ ร้านด้วยกัน โดยเฉพาะร้านใหม่ ซึ่งเปิดดำเนินงานเมื่อเร็วๆ นี้ใหญ่โตโอ่อ่าหรูหรามาก มีพระทุกประเภทเปิดให้เช่าบูชาในราคากันเอง และที่สำคัญคือ รับประกันว่าเป็นพระแท้ทุกองค์
ถามบอยว่า ทุกวันนี้ภูมิใจอะไรมากที่สุด บอยตอบว่า “สมัยที่ผมยังเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยม บ้านผมยากจนมาก แม่ทำงานเย็บเสื้อโหล กว่าจะได้เงินสักร้อยบาท ต้องทำงานหนักตลอดทั้งวัน ส่วนผมต้องช่วยแม่ร้อยสายเสื้อใน ๑๐๐ สายได้เงิน ๑ บาท ผมสงสารแม่มาก จึงบอกว่า ถ้าอายุครบ ๑๖ ปี
แม่ไม่ต้องให้เงินผมอีกนะ ผมจะหาเงินใช้เอง พออายุครบ ๑๖ ปี ผมก็ไม่ขอเงินจากแม่อีกเลย โดยแม่ก็ไม่รู้มาก่อนว่า ผมหนีเรียนไปซื้อขายพระ หาเงินเองได้แล้ว จนถึงทุกวันนี้ ผมตั้งตัวสร้างฐานะได้แล้ว จึงไม่ยอมให้แม่ทำงานหนักอีกต่อไป โดยผมจะให้เงินแม่ใช้จ่ายเดือนละ ๓ หมื่นบาทเป็นประจำ ทุกเดือน นับเป็นสิ่งที่ผมภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต”
นี่คือ...ก้าวย่างบนเส้นทางเดินของ บอย ท่าพระจันทร์ หนุ่มหล่อวัย ๒๘ ปี เซียนพระอายุน้อยที่สุดของวงการพระเครื่องเมืองไทย ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต ด้วยความสามารถของตัวเองอย่างแท้จริง
วิธีการดูพระเครื่องประเภทเหรียญ
หลาย ๆ คนบอกว่าพระเครื่องประเภทเหรียญปัจจุบันนี้ เล่นยากมาก เพราะทำเก๊ได้เหมือนของแท้เหลือเกิน โดยเฉพาะเก๊คอมพิวเตอร์ แต่ในความคิดของผม ผมว่าเหรียญทุกชนิดจะดูง่ายขึ้น ถ้าเรามีหลักการในการดูดังนี้
เมื่อพบเหรียญใด ๆ ให้ดูด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมหรือไม่ ถ้าบวมหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์เอง เช่น เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนร ฯ
เมื่อเหรียญไม่บวมก็ให้ดูตำหนิเทียบกับหนังสือพระเครื่องทั่ว ๆ ไปได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้าเหรียญผิดพิมพ์หรือไม่มีตำหนิ ก็คือ เก๊แน่นอน จากแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2 กรณีคือ
1.แท้
2.เก๊คอมพิวเตอร์
การแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้องดูตำหนิแล้ว ให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจากเหรียญแท้เสมอ หลัง
จากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่
จากเวปไซ์จีพระ
จุดพิจารณาร่วมในการดูเหรียญ
อายุของโลหะต้องมีความเก่าตามอายุการสร้างของเหรียญ เช่น เหรียญ พ.ศ. 2460 ทองแดงไม่เก่าก็คือ เก๊นั่นเอง
กระไหล่หรือรมดำ ต้องเก่าตามอายุเหรียญ
เหรียญสึก ควรสึกเฉพาะส่วนที่นูนของเหรียญเท่านั้น ส่วนลึกสุดของเหรียญต้องคมชัด และดูได้ว่าเป็นเหรียญปั๊ม
การดูรอยตัดปั๊มขอบเหรียญ ถ้าไม่มีหรือเป็นรอยตะไบถือว่าไม่ใช่เหรียญปั๊ม ยกเว้นเหรียญปั้มบังคับปลอก(บังคับขอบเหรียญ) เช่นเหรียญ ลพ.เดิม ปี 2482 ขอบจะเรียบครับ หรือเหรียญที่ตะไบขอบเช่นเหรียญ ลพ.คง วัดบางกระพ้อม บล็อกขอบตะไบ ครับ แต่เหรียญพิเศษแบบนี้จะมีไม่มากครับ แต่ถ้ามีรอยตัดปั๊มอาจเก๊คอมพิวเตอร์ก็ได้
เหรียญห่วงเชื่อม รอยเชื่อมเงินต้องมีความเก่า
ไม่ควรเช่าเหรียญที่เลี่ยมพลาสติกไว้เพราะดูลำบากอาจหลอกตาได้ ยกเว้น เหรียญดูง่าย
เพิ่มเติมจากคมชัดลึก
: การศึกษาเรื่องราวของพระเครื่อง ประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์รุ่นเก่าๆ นั้น มีค่านิยมสูงมาก การทำปลอม จึงพัฒนาวิธีการทำให้ใกล้เคียงกับของแท้ยิ่งขึ้น โดยวิธีการที่ง่าย และเป็นที่นิยมที่สุด คือ การนำเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ ซึ่งจะทำให้ได้เหรียญปลอมที่มีจุดตำหนิทั้งด้านหน้าและด้านหลังใกล้เคียงกับ ของจริงมาก
อย่างไรก็ตาม ความคมชัดของตัวหนังสือ เส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ตลอดจนด้านข้างของเหรียญ ก็ยังเป็นจุดสำคัญ ที่สามารถใช้ในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเหรียญแท้และเหรียญปลอมได้อย่าง ชัดเจนที่สุด
ในอดีตผู้สนใจศึกษาพระเครื่องประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์ หลายคนเลือกที่จะใช้วิธีการจดจำรายละเอียดที่สำคัญของตำหนิเหรียญทั้งหมด ซึ่งในพระเหรียญ ๑ เหรียญอาจจะมีจุดตำหนิให้จดจำมากถึง ๑๐ จุด นั่นหมายความว่า หากเราต้องเรียนรู้เหรียญ ๑๐๐ เหรียญ เราจะต้องจดจำตำหนิทั้งหมดถึง ๑,๐๐๐ จุด เลยทีเดียว
ดังนั้น แทนที่จะใช้วิธีการจดจำตำหนิทั้งหมด ผมกลับมีเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาเหรียญแต่ละเหรียญ ด้วยวิธีการที่ง่ายกว่านั้น
นั่นก็คือ การศึกษาธรรมชาติของเหรียญ โดยอาศัยหลักพื้นฐาน ๔ ประการ ได้แก่
๑.ความคมชัดของตัวหนังสือ หรืออักขระยันต์ ๒.พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก ๓.การเจาะรูหูเหรียญ ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติ และ ๔.วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย
ทั้ง ๔ ประการนี้ ถือเป็นจุดที่ใช้ในการพิจารณาเหรียญว่าแท้หรือปลอม ได้ชัดเจนยิ่งกว่าการจดจำตำหนิ
ที่สำคัญ ยังสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาได้ทุกเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญในยุคสมัยใดก็ตาม เพราะถึงแม้ว่ากรรมวิธีการทำปลอมในปัจจุบันจะสามารถทำได้ใกล้เคียงกับของ จริงแค่ไหน แต่ธรรมชาติของการผลิตเหรียญแต่ละยุค ย่อมมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การซื้อ-ขายเหรียญในปัจจุบัน ผู้ชำนาญการจะใช้วิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญเป็นบทสรุปว่า แท้หรือไม่
เพราะ...ขอบด้านข้างของเหรียญเป็นสิ่งเดียวที่ยังไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือน
เนื่องจากร่องรอยที่ด้านข้างของเหรียญนั้น คือ ร่องรอยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากขั้นตอนการผลิตในแต่ละยุคสมัย
อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหรียญต่างๆ ตามข้อสังเกต ๔ ข้อข้างต้นนั้น จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปเช่าหาเหรียญมาศึกษา
อีกทั้งเหรียญที่เป็นที่นิยมของวงการ ล้วนแล้วแต่เป็นเหรียญที่มีราคาแพง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านแทบทั้งสิ้น
ปัญหาจุดนี้ ผมจึงเสนอแนะแนวทางที่ประหยัดกว่า และน่าสนใจ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาแต่มีทุนน้อย นั่นก็คือ ให้ใช้วิธีไปเช่าเหรียญเก่าที่วงการไม่นิยม และมีราคาไม่แพงแทน เพื่อนำมาศึกษาธรรมชาติของเหรียญที่เกิดจากวิวัฒนาการในการปั๊ม และการตัดขอบเหรียญ
เพราะเหรียญที่ออกมาในยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน ย่อมจะมีขั้นตอนการผลิตที่คล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ทำความเข้าใจ ผมจึงจำแนกเหรียญต่างๆ ตามกรรมวิธีการปั๊มตัดข้างเหรียญ โดยแบ่งออกเป็นออก ๓ ยุคสำคัญ คือ
ยุคที่ ๑.ประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ ยุคที่ ๒.ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๙๙ และยุคที่ ๓.ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน
๑. ช่วงปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ เป็นช่วงที่นิยมสร้างเหรียญลักษณะรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา ซึ่งรูปทรงเหรียญทั้ง ๔ ชนิดนี้ สามารถแยกตามกรรมวิธีการสร้างได้เป็น ๒ ชนิด คือ เหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย และเหรียญชนิดปั๊มข้างกระบอก
โดยเหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย ก็คือ การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้ตามลักษณะรูปทรง ที่ต้องการ จากนั้นจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ
ส่วน การปั๊มข้างกระบอก ก็คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้ตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และการปั๊มเหรียญนั้นๆ ดังนั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงมีความเรียบเนียน เนื่องจากการกดปั๊มโดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ
อย่างไรก็ตาม บางเหรียญอาจมีเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างเหรียญ ซึ่งเกิดจากการแต่งขอบให้สวยงามก็ได้
๒. เหรียญชนิดปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดยุคเก่า) เป็นยุคที่เริ่มพัฒนากรรมวิธีการจัดสร้างเหรียญ ด้วยการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น มาใช้แทนกรรมวิธีแบบเก่า ที่ใช้การเข้ากระบอก และต้องเลื่อยขอบออก เพื่อตกแต่งในขั้นตอนสุดท้าย ด้านข้างของเหรียญจะมีลักษณะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก
๓. หรียญปั๊มตัดยุค พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาตัวตัดข้างเหรียญที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกในการตัดขอบเหรียญในจำนวนมากๆ ตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีผู้จัดทำหนังสือชี้ตำหนิด้านหน้า-ด้านหลังของเหรียญออกมาแล้วมากมาย หลายต่อหลายเล่ม แต่การเจาะลึกถึงรายละเอียดวิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ และเป็นบทสรุปความจริง-ปลอมของเหรียญแบบนี้นั้น แทบจะไม่เคยปรากฏในหนังสือเล่มใดเลย
ดังนั้น ในหนังสือ “เหรียญยอดนิยมอมตะแดนสยาม เล่ม ๒” ผมจึงรวบรวมภาพด้านหน้า ด้านหลัง และขอบข้างเหรียญ ตลอดจนข้อมูลเชิงลึกเอาไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาพระเครื่องประเภทเหรียญโดยเฉพาะ
หากใครต้องการจะเจาะลึกเรื่องราวของเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์แล้ว จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาพระเหรียญอย่างแน่นอน
หรือเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.boytarprajun.com
พระเครื่อง พระเกจิ เหรียญทุกชนิด.....พระแท้พระปลอม ดูอย่างไร ? ตอนที่-1
พระจะแท้หรือปลอมขึ้นอยู่ที่องค์พระเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าเดิมเป็นพระของใคร ได้จากที่ไหน เคยผ่านสงครามอะไรใครแขวนแล้วโดนยิงไม่เข้า ฟันไม่ออกมามั่ง นั่นไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการสะสมพระเครื่องแบบอาศัยเหตุและผลเป็นข้อสรุป แล้วแนวทางที่ถูกมันเป็นอย่างไร ? ครับตามผมมาเดี๋ยวท่านจะเข้าใจเอง....
ต่อไปเป็นแนวทางและพื้นฐานที่ถูกต้องในการที่จะศึกษาและสะสมพระเครื่องครับ ถ้าท่านใช้เหตุและผลมากกว่าใช้หู หรือใช้ความน่าเชื่อถือต่อบุคคลที่ท่านจะเช่าพระเครื่องต่อจากเขา เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ หากจะถามกันตรงๆ ว่าการศึกษาเรื่องเหรียญ การดูเหรียญให้ขาด มีหลักสำคัญอะไรบ้าง แนวทางเป็นอย่างนี้ครับ
รู้จักผู้สร้าง รู้จักวัดที่สร้าง รู้ประวัติการสร้าง.......
ศึกษาเรื่องแบบและแม่พิมพ์ของพระที่จะสะสม........
ศึกษาเรื่องธรรมชาติ การแปรเปลี่ยนตามอายุของโลหะที่สร้างเหรียญ......
ศึกษาเรื่องตำหนิ จุดตาย เส้นขนแมว เนื้อปลิ้น เนื้อเกิน การตัดขอบ........
ข้อสุดท้าย....สำคัญนะครับต้องเคยเห็นของแท้ และเห็นบ่อยๆ ในเน็ตฯมีเยอะแยะตามศูนย์พระชื่อดังต่างๆ.....
แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ไม่ค่อยมีใครใส่ใจกับการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพระเหรียญเลยจะจำแต่ตำหนิพิมพ์อย่างเดียว เมื่อได้พระมาก็จะส่องกันตะพึดตะพือ แล้วก็มาเปิดตำราดูตำหนิพระเครื่อง พระเหรียญกันอย่างเดียว การกระทำอย่างนี้จะเป็นเครื่องขวางกั้นภูมิปัญญาและความรู้ไม่ทำให้ดูพระเป็นได้จริงๆสักที อย่างมากก็จะรู้ว่าพระรุ่นนี้ชื่ออะไร ใครสร้าง ออกที่ไหน เท่านั้นเองที่เหลือก็อาศัยวัดดวงหรือให้คนอื่นดูให้ถึงจะแน่ใจว่าใช่พระแท้หรือเปล่า สุดท้ายดูกันสิบตาก็ว่าไม่เหมือนกันสักคน
การศึกษาพระเครื่องทุกชนิดควรศึกษาและจดจำเรื่องแบบพิมพ์มาก่อนเป็นอันดับแรก ยิ่งรู้ถึงที่ไปที่มาว่ามีการทำแม่พิมพ์อย่างไร วิธีไหน เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ให้มากเข้าไว้ นั่นจะทำให้เรามีความรู้ในการดูพระเครื่อง พระเหรียญยิ่งขึ้น สามารถแยกออกระหว่างของแท้และของปลอมได้อย่างชำนาญยิ่งขึ้น
แม่พิมพ์ของพระเครื่อง พระเหรียญ
พระทุกชนิดย่อมสร้างจากแม่พิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพระชนิดใดก็ตาม ทั้งเนื้อชิน ดิน ผง พระเหรียญ ยกเว้นแต่พระเครื่องที่ลอยองค์เท่านั้น
เวลาที่ท่านเอาพระเครื่องของท่านไปให้เซียนพระดูว่าแท้หรือไม่ประการใด ในตอนแรกเขาจะดูด้วยตาเปล่าก่อนหากดูดีแล้วจึงจะหยิบกล้องมาส่องดู หรือไม่ก็หยิบพลิกไปพลิกมาแล้วก็ส่งคีนให้พร้อมกับพูดว่า “ผิดพิมพ์ครับ”
แม่พิมพ์ของพระเหรียญนั้นสามรถแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคที่ 1.ประมาณ 2440-2499 พระเก่า
ยุคที่ 2.ประมาณ 2500-ปัจจุบัน พระใหม่
ในยุคโบราณนั้นสามารถแยกวิธีการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ เหรียญชนิดปั้มข้างเลื่อยและเหรียญข้างกระบอก วิธีการสร้างนั้นเขานำเอาแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังใส่เครื่องปั้ม แล้วกระแทกอย่างแรงบนแผ่นโลหะที่รีดจนบางแล้ว ถ้าเป็นชนิดข้างเลื่อยนั้นจะนำแผ่นโลหะที่ใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั้มให้ได้ตามรูป แล้วจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบรูปทรงของเหรียญนั้นๆ การสร้างพระเหรียญในยุคประมาณ ปีพ.ศ.24....กว่าๆโลหะที่นำมาปั๊มส่วนมากมักจะเป็นโลหะประเภททองแดงเป็นหลัก ยกเว้นเป็นพิธีการสร้างของเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย ที่มียศถาบรรดาศักดิ์อาจจะมีเนื้อทองคำและเนื้อเงินเพิ่มเข้ามาด้วย
แม่พิมพ์ของพระเหรียญในสมัยก่อนนั้นจะนำเอารางรถไฟเก่าๆมาทำเพราะมีความคงทนแข็งแรงมาก แบบของเหรียญก็จะออกแบบเตรียมไว้ทั้งหน้า-หลัง โดยเขียนเอาไว้บนกระดาษสา แล้วค่อยเขียนแบบตามที่ปรากฏบนแผ่นกระดาษสาลงบนเหล็กรางรถไฟ แล้วจึงนำเหล็กนั้นมาเผาไฟให้แดงทั้งแท่ง รอจนเหล็กเริ่มเย็น ตอนนี้เองเนื้อเหล็กจะแข็งแต่ไม่ถึงกับแข็งมาก จึงนำเอาเครื่องมือมาแกะตามรูปที่เขียนเอาไว้บนเหล็กก่อนที่จะเผาไฟการแกะด้วยมือนั้นความลึกจะไม่ได้มากเหมือนกับการแกะด้วยเครื่อง จึงทำให้เกิดเป็นมิติแบบนูนต่ำออกมา ไม่นูนสูงเหมือนเหรียญรุ่นใหม่ บางครั้งอาจจะแกะพลาดบ้างเป็นริ้วรอยเส้นบางๆที่เราเรียกว่า “เส้นขนแมว” นั่นเอง
เหรียญยุคโบราณนั้นตอนที่ช่างแกะมักจะไม่ได้แกะหูเหรียญเอาไว้เลย(สงสัยจะลืมหรือตั้งใจก็ไม่ทราบได้) จึงต้องนำมาเชื่อมติดเอาไว้ทีหลังโดยใช้ตะกั่วหรือเงินมาเชื่อมติดเอาไว้ขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาสร้างพระนั้นเป็นหลัก ต่อมาค่อยมีการพัฒนาขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2484 ขึ้นมา ค่อยเริ่มมีการแกะให้มีหูในตัวอยู่ในแม่พิมพ์เลย ไม่ต้องมาเชื่อมติดทีหลัง เหรียญลักษณะนี้มักจะมีเนื้อปลิ้นมาทางด้านหลังบริเวณหูเหรียญ ในวงการเรียกว่า “ตาไก่” เหรียญยุคนี้ต้องนำมาเข้าเครื่องตัด หรือนำมาเลื่อยฉลุอีกทีหนึ่ง เพราะเมื่อปั๊มออกมาแล้วจะไม่ออกมาเป็นเหรียญแบบสำเร็จเลย เมื่อปั๊มแล้วจะมีเนื้อเกินติดมาด้วยเรียกว่าปีกเหรียญ ต้องนำมาตัดอีกทีจึงจะออกมาเป็นเหรียญอย่างที่เห็น.......
วิธีดูพื้นเหรียญปั้ม
" รู้ไว้มีชัยไปกว่าครึ่ง ”
“ผิว” เป็นส่วนชั้นนอกสุด ที่สามารถมองเห็นได้ก่อนส่วนอื่น พระเครื่องบางอย่างไม่สามารถมองเห็นเนื้อภายในได้
เมื่อสมัยก่อน การพิจารณาว่าเหรียญแท้หรือเทียมนั้น จะใช้หลักการดูตำหนิ หรือจดจำเค้าใบหน้าของหลวงพ่อ ปัจจุบันขบวนการปลอมเหรียญได้ทำตำหนิในหนังสือ จึงเหมือนเป็นการชี้โพรงให้กระรอก เข้าไปอีก
ก่อนที่จะมาเป็นเหรียญดังทั้งหลายนั้น วิธีการทำมีอยู่ว่า จะต้องเอาแผ่นโลหะเข้าเตาไฟเผาเพื่อให้อ่อนตัว จากนั้นก็เอาเข้าเครื่องปั๊ม ซึ่งเครื่องก็จะกระแทกอย่างแรง เพื่อตัดขอบเหรียญให้ขาดออกจากกัน การที่โลหะถูกความร้อนจนอ่อนตัว แล้วถูกกระแทกอัดซ้ำอย่างหนักจะทำให้เนื้อโลหะเกิดการอัดแน่น
ผิวของเหรียญที่ปั๊มออกมาจึงต้องมีลักษณะตึง เรียบ แน่น ไม่บวมหรือมีเนื้อเกินขรุขระ หากเหรียญมีผิวขรุขระไม่เรียบ มีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเอาบล็อกเก่ามาปั๊มใหม่ ซึ่งบล็อกของเหรียญจะทำด้วยเหล็กกล้า เหนียวและแข็ง แต่ถึงจะเหนียวและแข็งขนาดไหน ก็ไม่ทนทานต่อการเกิดสนิม กัดกินได้ เนื่องจากถูกความชื้น หรือละอองในอากาศ
ครั้นเอาบล็อกที่เป็นสนิมมาทำความสะอาด แล้วปั๊มเหรียญใหม่ ผิวของเหรียญ ย่อมขรุขระตามไปด้วย มีเนื้อเกินเป็นจุดๆหรือเป็นบางแห่ง ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า “ เหรียญขี้ลาภ ” ซึ่งเหรียญประเภทนี้วงการไม่ค่อยให้ความนิยม ปล่อยยากเพราะถือว่าปั๊มขึ้นมาทีหลัง
ผิวเหรียญอีกแบบหนึ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ คือพื้นผิวของเหรียญลาดเอียงเป็นหลุมเป็นบ่อ เหรียญแบบนี้มักเป็นเหรียญหล่อถอดพิมพ์ โดยเอาเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ แล้วหลอมตะกั่วเทลงไป สังเกตได้ง่ายว่าผิวจะไม่ตีงเรียบและแน่น จึงมักจะนำไปชุบทองแดง รมผิว หรือกะไหล่ทอง เพื่อปกปิดไม้ให้รู้ว่าหล่อมาจากเนื้อตะกั่ว ที่สำคัญมักเหลี่ยมพลาสติกจับขอบไว้ด้วย จึงต้องพึงระวังให้ดี
เหรียญปั๊มของเก่าแท้จะมีลักษณะแห้งซีด ไม่แวววาว สดใส มีคราบสนิทความเก่าจับตามพื้นผิวเป็นจุด เหรียญที่สร้างโดยการปั๊มเนื้อจะดูแน่น ตึงเรียบ ไม่มีรูพรุนของฟองอากาศ ยกเว้นรอยสนิทกัดกิน ส่วนเหรียญที่สร้างโดยการหล่อ หรือฉีดเนื้อโลหะเข้าแม่พิมพ์อย่างเหรียญคอมพิวเตอร์ เนื้อเหรียญจะดูไม่แน่นตึง มีรูพรุนของฟองอากาศหรือ “ตามด” เป็นจุดๆ และเป็นบางแห่ง
หลักเกณฑ์พิจารณาพื้นผิวของเหรียญปั๊มขอสรุปง่ายๆ ดังนี้ครับ
1. พื้นเหรียญต้องตึง เรียบแน่น ไม่ขรุขระเป็นขี้กลาก หรือมีเนื้อเกินเป็นก้อนๆ และต้องไม่บวม
2. เหรียญที่มีความเก่า เนื้อเหรียญจะมีความเก่า โดยโลหะจะมีลักษณะแห้ง ซีด ไม่แวววาว
3. เหรียญเก่าที่ถูกสนิทกัดกินพื้นผิวจนผุกกร่อน รอยรูพรุนจะมีเกือบทั่วเหรียญและเป็นการผุกร่อนจากภายนอก กินลึกเข้าไปในเนื้อเหรียญ
4. รอยรูพรุนตามพื้นผิวเหรียญ ถ้ามีรูพรุนเป็นจุดๆ บางแห่งและมีจำนวนน้อยนั้น จะเกิดจากการหดตัวของเนื้อโลหะ ไม่ได้เกิดจาก การกัดกินของสนิทภายนอก
หลักการพิจารณาทั้งหมดนี้ อาจช่วยหนักให้เป็นเบา ได้เช่าของแท้ เพราะการดูแค่พื้นผิวของเหรียญไม่ต้องดูส่วนอื่นๆ สามารถบอกได้ทันทีว่า แท้หรือเทียม
เป็นความรู้มากเลยทีเดียวครับ คุณเหลือน้องๆๆที่เข้ามาเล่นใหม่ๆอ่านแล้วก็คงจะห่างไกลของเก๊ไปได้ระดับหนึ่งนะครับ
ผม อยากจะเสริมนิดหนึ่งก็คือ บางเหรียญที่เขาทำมาเป็นห่วงในตัวการห้อยแขวนมักทำให้เกิดการสึกหรอ การดูลักษณะการสึกก็สำคัญครับ กล่าวคือ
1.การสึกของห่วงมักเกิดขึ้นภายในห่วงด้านในบนมากกว่าด้านอื่น
2.การสึกของเหรียญมักเกิดขึ้นกับด้านล่างของเหรียญมากกว่าด้านอื่นเล็กน้อยเพราะโดนความหนาของห่วงชะลอไว้
3.การสึกของห่วงและผิวเหรียญต้องไปด้วยกันได้หมายถึงพอพอกัน
4.เหรียญที่อ้างว่าถูกล้างมาถ้าไม่จำเป็นผมจะไม่ค่อยจับเพราะปัจจุบันดูยากมาก
5.ดูว่าเป็นเหรียญปั๊มยุคไหนแล้วสังเกตุการตัดขอบให้ดีอันนี้เป็นข้อยุติของเหรียญเก๊ระดับ 5 ดาวปาดคอ
การดูขอบเหรียญ
ที่จริงเหรียญ เป็นสายที่ไม่ถนัด แต่ก็มีความเข้าใจเรื่องขอบเหรียญ โดยใช้เป็นแนวทางการพิจารณาเหรียญตลอดมา
การดูขอบเหรียญเป็นวิธีดูตามหลักของเซียนพระรุ่นใหม่ ๆ รวมถึงเวียนพระรุ่นเก่าบางท่านนิยมกัน เพราะเป็นการดูตามหลักข้อเท็จจริง ตั้งแต่หนังสือคุณบอย ท่าพระจันทร์ออก ทำให้มีคนเข้าใจเรื่องขอบเหรียญมากยิ่งขึ้น ผมเคยนำพระเลี่ยมทองไปขายคุณบอยเขาองค์หนึ่งเก่งขนาดนั้นเขายังขอแกะดูขอบเหรียญเพื่อความชัวร์ ถ้าดูแล้วไม่ซื้อเขาก็ยินดีจ่ายค่าเสียหายให้หลายพันครับ
ในทางกลับกัน เซียนพระบางท่านที่เก่งและแม่นในพระสายนั้น ๆ บางคนก็ไม่เข้าใจเรื่องขอบเหรียญก็มีครับ เช่นผมเคยคุยกับสายตรงที่เก่งมาก ๆ เรื่อง อ.ดู่ แต่เขาไม่รู้เรื่องขอบเหรียญเลยแม้แต่น้อย อาศัยความเชี่ยวชาญที่เห็นของมามากจำลายมือจำตำหนิได้ แต่เชื่อเถอะครับไม่มีอะไรชัวร์เท่าขอบเหรียญปั๊มตัด ยิ่งเหรียญยุคใหม่ ๆ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ เป็นต้นมาแทบจะเป็นตัวชี้ขาดที่ชัดเจนมากที่สุด
เหรียญตีปลอกหรือขอบกระบอก เป็นเทคนิคสมัยก่อน ตัดโลหะให้ใกล้เคียงกับบล๊อคแล้วปั๊ม ขอบจึงเรียบ บางเหรียญก็จะมีขอบคม ๆ ปลิ้นมาด้านหลัง เช่นเหรียญมงคลบพิตรปี ๒๔๖๐ เหรียญยอดนิยมอย่างเหรียญขอเบ็ด ก็มีตำหนิธรรมชาติจากการปั๊มตีปลอก คือผิวเหรียญยุบตรงไหนนูนตรงไหน หน้าหลังถ้าเข้าใจก็จะหลงทางยากครับ
เหรียญเลื่อย ก็ปั๊มออกมาเป็นองค์ ๆ แล้วใช้เลื่อยตัดให้พอดีขอบ อย่างเหรียญวัดพนัญเชิงปี ๒๔๖๐ ทีนี้เมื่อเรารู้ว่าเหรียญนี้ขอบเป็นเหรียญเลื่อย เมื่อเจอเหรียญนี้ขอบปั๊มตัด ก็ไม่ต้องไปไล่ตำหนิให้เสียเวลาเพราะเก๊แน่นอน เคยมีเหรียญเสี้ยนตองเข้ามาในสนามเซียนพระรุ่นเก่า ๆ หลายคนดูกันแล้วดูกันอีกไม่กล้าซื้อบางคนต่อราคาต่ำไว้ก่อนเพราะไม่มั่นใจ ผมเห็นเลยโทรไปถามเพื่อนที่เล่นสายนี้ เขาถามกลับมาว่าขอบเลื่อยหรือขอบปั๊ม ผมบอกขอบปั๊มตัด เพื่อนบอกเลยว่าคืนเขาไป เพราะเหรียญเสี้ยนตองเป็นเหรียญปั๊ม
เรื่องขอบเหรียญจึงเป็นเบสิคที่นักเล่นพระรุ่นใหม่จำเป็นต้องรู้ไว้ครับ
เหรียญปั๊มตัดขอบ หากจำรอยตัดได้ไม่ว่าจะด้านใดด้านหนึ่ง ก็หมดสิทธิ์โดนของเก๊แน่นอนครับ เพราะสมัยนี้เก๊ตำหนิได้ครบแต่ยังเก๊ขอบไม่ได้ ตัวอย่างเหรียญที่มีรอยปั๊มตัดขอบชัดเจนมากจนจำเป็นตำหนิได้ ก็คือเหรียญเปิดโลก อ.ดู่วัดสะแก จำขอบตัดด้านล่างก็พอครับ เก๊ยังไงก็ถอดไม่ได้
ขอบตัดเป็นตัวยุติปัญหาเก๊แท้ สวดพระกันได้อีกต่างหาก แม้แต่ต่างประเทศในคดีสำคัญ ๆ ยังยึดถือเอารอยตัดของมีคม เป็นหลักฐานสำคัญในการชี้เป็นชี้ตายให้แก่คดีฆาตกรรมมาแล้ว เพราะรอยตัดของมีดแต่ละเล่มจะทิ้งร่อยรอยไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกันกับขอบปั๊มเหรียญจะทิ้งร่องรอยเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเช่นกันครับ
ทำไมเซียนพระบางคนที่ไม่ถนัดในเหรียญนั้น ๆ มักจะส่องขอบแล้วพอสันนิษฐานได้ว่าเหรียญนั้นเก๊หรือแท้ ก่อนไปไล่ตำหนิอื่น ๆ หากเหรียญเก๊ที่ถอดพิมพ์มา เหรียญเก๊สมัยก่อนทุกเหรียญมักจะมีรอยปั๊มตัด ๒ รอยซ้อน ๆกันตรงขอบเหรียญ คือรอยตัดของเหรียญแท้ที่ถอดมา กับรอยตัดของใหม่ หากเหรียญที่มีรอยปั๊มตัดตรงขอบข้าง ๒ รอยไม่ว่าจะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เหรียญนั้นจะเก๊ทันที
ยกเว้นเหรียญบางรุ่นที่ถอดแบบมาจากรุ่นแรก ๆ ก็เป็นข้อยกเว้นครับ
เหรียญปั๊ม มีการสร้างกันมาตั้งแต่ พศ. ๒๔๔๐ เช่นเหรียญพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศซึ่งค่านิยมสูงมากๆ จากที่พระเครื่องมีราคาสูงมานี่เองทำให้ผู้ทำปลอมมีการพัฒนาแบบชนิดที่เรียกว่า ใกล้เคียงของแท้จริงๆ ยิ่งถ้าพูดถึงตำหนิด้วยแล้วของปลอมปัจจุบันทำได้เหมือนมาก จะต่างก็แต่ความคมชัดของรายละเอียดเช่น ตัวยันต์ ตัวหนังสือ เส้นแตกต่างๆ หรือรอยเจาะหูในเหรียญทีมีหู แต่จุดสำคัญที่สุดที่จะกล่าวถึงในวันนี้คือเรื่อง การพิจารณาขอบข้างของเหรียญครับ
การดูขอบข้างเหรียญเป็นวิธีดูตามหลักของเซียนพระยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นบทสรุปว่า พระองค์นั้นแท้หรือไม่ เพราะขอบข้างเหรียญจะไม่สามารถทำได้เหมือนจริง ผู้ที่จะศึกษาเรื่องเหรียญต้องเข้าใจธรรมชาติของเหรียญที่ทำ เพระเป็นขอบเหรียญจะเกิดจากขั้นตอนการสร้างนั่นเอง
ขอบข้างเหรียญแบ่งเป็นลักษณะรอยขอบ เป็น 3 ลักษณะคือ
1...เหรียญแบบปั๊มข้างเลื่อย......ก็เหมือนกับการปั๊มพระในปัจจุบันแต่จะปั๊มในแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าเหรียญ เมื่อปั๊มเสร็จ ก็จะมาเลื่อยฉลุให้เหรียญได้ตามรูปทรงนั้นๆ ( พอดีกรอบ ) เหรียญลักษณะนี้ จะสร้างในยุค ปีพ.ศ. ๒๔๔๐-๒๔๘๕ ( ข้อมูลจากหนังสือคุณบอย ท่าพระจันทร์ ) เหรียญแบบข้างเลื่อยนี้เราจะเห็นรอยเลื่อยอยู่บริเวณขอบเหรียญ ซึ่งเราก็ต้องศึกษาการเลื่อยของเหรียญด้วยประกอบการพิจารณา หากเราทราบว่าเหรียญรุ่นไหนเป็นแบบข้างเลื่อยแล้ว เมื่อเจอเหรียญรุ่นนั้นเป็นแบบอื่น ก็ไม่จำเป็นต้องไปไล่ติหนิอีกให้เสียเวลา เพราะเป็นพระปลอมแน่นอน
2...เหรียญแบบปั๊มข้างกระบอก...(ตีปลอก ) เป็นเทคนิคสมัยก่อน ตัดโลหะให้เป็นรูปทรงตามเหรียญใกล้เเหรียญเป็นบล๊อคแล้วปั๊ม ขอบจึงเรียบ บางเหรียญก็จะมีขอบคม ๆ ปลิ้นมาด้านหลัง เหรียญชนิดนี้จะสร้างในยุค พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๔๘๕ เช่นเหรียญมงคลบพิตรปี ๒๔๖๐ เหรียญยอดนิยมอย่างเหรียญขอเบ็ดหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติฯ ก็มีตำหนิธรรมชาติจากการปั๊มตีปลอก
3....เหรียญปั๊มข้างตัด เป็นวิวัฒนาการสมัยใหม่ เกิดในยุคหลัง เนื่องจากการสร้างแบบเลื่อยขอบและปั๊มข้างกระบอกเป็นการทำที่ยุ่งยากเสียเวลา เป็นการใช้เครื่องจักรทีทันสมัย แต่การทำเหรียญแบบนี้ยุคแรกๆ ขอบเหรียญจะมีลักษณะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนักแต่อย่างไรก็ดี หากจำรอยตัดได้ไม่ว่าจะด้านใดด้านหนึ่ง ก็หมดสิทธิ์โดนของเก๊แน่นอนครับ เพราะสมัยนี้เก๊ตำหนิได้ครบแต่ยังเก๊ขอบไม่ได้
รอยข้างขอบเหรียญหรือรอยตัดเป็นตัวยุติปัญหาเก๊แท้ อย่างแม่นยำที่นักสะสมพระเครื่องควรทราบและศึกษา เพราะเรื่องรอยข้างเป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ ดั้งเช่นในเรื่อง ของกองพิสูตรหลักฐานอาชฌากรรมจากปากกระบอกปืน ยังทราบว่าหัวลูกปืนมาจากปากกระบอกปืนกระบอกใดหรือ แม้แต่ต่างประเทศในคดีสำคัญ ๆ ยังยึดถือเอารอยตัดของๆมีคม เป็นหลักฐานสำคัญในการชี้เป็นชี้ตายให้แก่คดีฆาตกรรมมาแล้ว เพราะรอยตัดของมีดแต่ละเล่มจะทิ้งร่อยรอยไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกันกับขอบปั๊มเหรียญจะทิ้งร่องรอยเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเช่นกันครับ
ด้วยเหตุนี้ รอยข้างขอบเหรียญ หรือรอยตัด รอยเลื่อย จึงเป็นสิ่งที่นักสะสมควรศึกษา และควรรู้ว่า รุ่นไหนมีการสร้างแบบใด เพราะถ้าเราทราบ การสร้างแบบใดแล้ว หากรอยข้างขอบตัดเหรียญผิดจากเหรียญที่ศึกษามา ก็ไม่จำเป็นต้องดูส่วนอื่นๆ แล้วครับ เพราะเหรียญนั้นเก๊หรือปลอมแน่นอน
ผมขอเพิ่มเติมอีกหน่อยครับ
การดูรอยตัดข้างเหรียญ เป็นการดูขั้นสุดท้ายที่สรุป เก๊ แท้ ในยุคปัจจุบันนี้แล้ว ตามที่ท่านพร ได้กล่าวไว้ข้างต้น
แต่ก็ยังมีข้อยกเว้น อีกประการหนึ่ง ในการดูรอยตัดขอบข้าง
ขอยกเว้นที่ว่าก็คือ รอยตัดไม่สามารถใช้ได้กับ เหรียญกลม ที่ไม่มีหูเหรียญ เพราะอะไร หรือครับ
ในการปั๊มเหรีญทุกประเภท ที่มีหูเหรียญ เหรียญทุกเหรียญจะถูกบังคับเข้าเครื่องตัด ในตำแหน่งที่หูเหรียญต้องอยู่ด้านบนเพียงตำแหน่งเดียว นั่นทำให้รอยตัดขอบเหรียญของทุกเหรียญ เหมือนกัน
ส่วนการปั๊มเหรียญกลม ที่ไม่มีหูเหรียญ เหรียญสามารถเข้าเครื่องตัดได้ทุกตำแหน่ง ที่เราเรียกันว่า บล็อกหมุน ทำให้รอยตัดของแต่ละเหรียญ อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกัน แต่ถ้าพิจารณาให้ดี ก็จะมีรอยตัดตรงกันไม่จุดใดก็จุดหนึ่ง
ยกตัวอย่าง เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค เป็นเหรียญกลมที่ไม่มีหูเหรียญ ดังนั้นรอยตัดของเหรียญแท้ สองเหรียญ ในตำแหน่งเดียวกันไม่เหมือนกันก็ได้ แต่ถ้าพิจารณาให้ถี่ถ้วน จะเห็นว่ามีรอยตัดเหมือนกัน แต่อาจจะอยู่ต่างจุดกัน
นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ บางสำนักไม่กล้าออกบัตรรับรองให้กับเหรียญรุ่นนี้ ซึ่งทั้งๆที่หากจะพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว เหรียญทุกเหรียญสามารถพิจารณาวินิจฉัย เก๊ แท้ ได้ทุกเหรียญ ครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น