logo

ณัฏฐ์ โดย Nutt Krait

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Titanic 100 Year [British Liner Titanic]

British Liner Titanic อัปปางในปี 1912 อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) หรือ เอสเอส ไททานิก (SS Titanic) คือชื่อเรือเดินสมุทรของบริษัทไวท์ สตาร์ ไลน์ (White Star Line) เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1909 สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1911 ที่เบลฟาสท์, ไอร์แลนด์ (Belfast, Ireland) พร้อมๆ กับเรือคู่แฝดที่ชื่อว่า อาร์เอ็มเอส โอลิมพิก (RMS Olympic) ซึ่งเบากว่าไททานิกถึง 1000 ตัน ลักษณะเฉพาะของเรือ ไททานิกเป็นเรือที่เปิดศักราชใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเรือเดินสมุทร เนื่องจากเป็นเรือลำแรกๆ ของโลกที่สร้างโดยโลหะและรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2433 คน ยาว 269.0622 เมตร กว้าง 28.194 เมตร หนัก 46328 ตันอิมพีเรียล(47071434.4681 กิโลกรัม) แบ่งเป็น 9 ชั้น เรียงจากชั้นบนลงชั้นล่างได้ดังนี้ 9.ดาดฟ้า สงวนไว้ให้ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง มีปล่องไฟ 4 ตัว สูงตัวละ 19 เมตร เครื่องยนต์ 3 ตัว หมุนใบจักร 3 ใบ รวม 50000 แรงม้า เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 24 น็อต(44.448 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ห้องเครื่องทั้ง 16 ห้องมีกำแพงสูงถึงชั้น F และมีประตูกลซึ่งจะปิดลงมาทุกบานทั่วลำเรือเมื่อพบเหตุผิดปกติที่ห้องเครื่องใดห้องเครื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าหากไม่เกิดรอยรั่วในหลายห้องเครื่องจนเกินไป ตามหลักการลอยตัวแล้ว เรือจะไม่จม ถึงแม้จะเป็นจุดอ่อนที่สุดของเรือซึ่งก็คือหัวเรือ ก็ยังรับรอยแตกได้ถึง 4 ห้องเครื่องติดกันโดยไม่จม แต่ว่าเรือสำรองช่วยชีวิตหรือเรือบดนั้นเพียงพอสำหรับผู้โดยสารเพียง 1178 คนเท่านั้น การเดินทางครั้งแรก เริ่มการเดินทางที่ เซาแธมทัน, อิงแลนด์ (Southampton, England) ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ควบคุมโดยกัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ (Edward J. Smith) เพื่อเดินทางไปยังนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางครั้งนั้น มีผู้เดินทางรวมทั้งหมด 2217 คน แบ่งเป็นผู้โดยสารชั้น 1, ผู้โดยสารชั้น 2, ผู้โดยสารชั้น 3 และลูกเรือ วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ ของนิวฟันด์แลนด์ เวลา 23.39 น. เวรยามที่เสากระโดงแจ้งว่าได้พบภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าเรือ ลูกเรือจึงได้เลี้ยวลำเรือเพื่อหลบเลี่ยง แต่เนื่องจากใบจักรและหางเสือที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเรือ ทำให้ผู้บังคับเรือซึ่งยังไม่ชินกับการบังคับเรือใหญ่ขนาดนี้ทำให้กะขนาดการเลี้ยวผิด และชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ที่ 41 องศา 46 ลิปดาเหนือ 50 องศา 14 ลิปดาตะวันตก เมื่อ23.40 น. เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่อึดเท่าจุดอื่นๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว แต่หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือได้เพียง 4 ห้อง วิศวกรผู้สร้างเรือบอกว่า น้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อท่วมมิดชั้นF เริ่มไหลขึ้นชั้นE น้ำจึงเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องๆ และจมในที่สุด ลูกเรือก็คิดว่าเรือคงจะจมเร็วมาก จึงปล่อยเรือบดออกทั้งๆที่ยังใส่คนไม่เต็มลำ เวลา 02.20 น. ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ผู้โดยสารและลูกเรือ 2217 ชีวิต รอดชีวิตเพียง 704 ชีวิต เสียชีวิตทั้งหมด 1513 ราย เวลาประมาณ 04.20 น. เรือโดยสารขนาดใหญ่ชื่อ "อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย" (RMS Carpathia) ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือบดทั้งหมด และพาสู่นิวยอร์ก ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1912 จากนั้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 ซากเรือไททานิคได้ถูกค้นพบอีกครั้ง สาเหตุการสร้างเรือไททานิค วันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1906 สายการเดินเรือ ไวต์ สตาร์ ได้ปล่อยเรือ Adriatic เป็นเรือลำสุดท้ายของโครงการต่อเรือลำใหญ่ 4 ลำ ที่ถูกดำเนินการต่อเรือทั้งหมดที่อู่ต่อเรือ Harland & Wolff of Belfast เรือทั้งสี่มีขนาดกว่า 20000 ตัน เน้นการออกแบบภายในเรือที่สะดวกสบาย โดยเรือลำแรกของโครงการดังกล่าว คือเรือ Celtic ปล่อยลงน้ำครั้งแรกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1901 ตามมาด้วยเรือ Dedric ที่มีขนาดใหญ่กว่า และตามด้วยเรือ Baltic ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น 23884 ตัน สายการเดินเรือไวต์สตาร์นั้น เชื่อเสมอว่าคนทั่วไปสามารถโดยสารกับเรือได้นาน ถ้าเรือนั้นมี ความเพรียบพร้อมในการบริการที่ดีเยี่ยม สะดวกสบายราวกันอยู่บ้าน และความเร็วเรือที่ได้ต้องใช้เชื้อเพลิงซึ่งเป็นถ่านหินจำนวนมาก ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม (ไวต์สตาร์เป็นพวกนักอนุรักษ์) ดังนั้นเรือทั้งสี่ลำนี้จึงมีความเร็วบริการประมาณ 16.5 น็อต(30.558 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งความเร็วระดับนี้น้อยเกินกว่าจะสู้เรือของสายการเรืออื่น ๆ ได้ สายการเดินเรือคูนาร์ด ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญได้มีเรือลำยักษ์ 2 ลำ คือเรือ Lustania ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ John Brown และออกบริการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1907 และเรือ Mauretania ที่ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ Tyneside ในออกบริการในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน หรือหนึ่งปีถัดมาของการปล่อยเรือ Adriatic ลงน้ำ ทั้งคู่มีขนาดกว่า 30000 ตัน แล่นด้วยความบริการ 23.99 นอต(44.42948 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) มากกว่าเรือ Adriatic ประมาณ 7 นอต(12.964 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เป็นเรือแฝดรุ่นใหม่ที่ล้ำหน้ากว่าเรือ 4 ลำของไวต์สตาร์ ทำให้เรือสายการเดินเรือไวต์ถูกแย่งตำแหน่งเรือขนาดใหญ่ที่สุดในโลกไปครอง และยังรับตำแหน่งเรือเดินสมุทรที่เร็วที่สุดในโลกอีกด้วย ทำให้ไวต์สตาร์ หาหนทางในการ แย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดให้ได้มากที่สุด ในปีที่เรือแฝดคูนาร์ดออกบริการนั่นเอง บุคคลสำคัญของสายการเดินเรือไวต์สตาร์ได้ร่วมจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำที่บ้าน downshire Belgrave Square ในกรุงลอนดอน เพื่อร่วมกันคิดรูปแบบเรือลำที่ดีกว่าเรือแฝดคู่นั้น และนั่นก็เป็นสาเหตุในการต่อเรือไททานิก โครงการต่อเรือของไวต์สตาร์เป็นการต่อเรือขนาดใหญ่ 3 ใบเถา เน้นรูปแบบการบริการของสายการเดินเรือที่หรูหราเป็นหลักความเร็วเป็นรอง เรือลำแรกชื่อ Olympic (อันที่จริงจะตั้งเป็นลำสุดท้ายแต่เปลี่ยนเป็นลำแรก) ลำที่ 2 Titanic และสุดท้าย Gigantic(หลังโศกนาฏกรรมไททานิกได้เปลี่ยนชื่อเป็น Britannic แทน คงเป็นเพราะกลัวเรื่องชื่อที่มีความหมายคล้ายและออกเสียงคล้าย Titanic) ในการออกแบบขั้นต้นเรือทั้ง 3 ลำมีโครงสร้างออกแบบคล้ายคลึง (แบบเดียวกัน) จะต้องมีขนาดใหญ่กว่าเรือแฝดของคูนาร์ด ขับเคลื่อนด้วย 2 ใบจักร 2 เครื่องยนต์กระบอกสูบ แต่ต่อมาเพิ่มเครื่องยนต์เทอร์ไบน์อีกกลายเป็น 3 ใบจักร เนื่องจากเรือรุ่น 4 ลำก่อนมีเพียง 2 เครื่องยนต์สามารถทำความเร็วได้แค่ 16.5 นอตเท่านั้น ในขนาดที่เรือคู่แข่งมี 4 เครื่องยนต์ ให้เรือทั้งสามมีเสากระโดงเรือ 2 หรือ 3 แห่ง ปล่องไฟ 3 ปล่อง แต่ต่อมาเพิ่มเป็น 4 ให้เท่ากับจำนวนปล่องบนเรือ Mauretania และ Lusitania เพิ่มให้เรือดูสมดุล (หลอกว่ามีกำลังขับเคลื่อนสูง) และไว้ใช้ระบายอากาศภายในเรือ





ไม่มีความคิดเห็น: